พัฒนาการเด็ก 5 – แปดถึงสิบสองเดือน

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

ในช่วงไม่กี่เดือนนี้ บุตรของท่านจะ เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ความสามารถในการเคลื่อนไหวจะให้ความรู้สึกถึงพลังและการควบคุมร่างกายด้วยตนเอง ในขณะเดียวกัน ความรู้สึกวิ ตกกังวลคนแปลกหน้ าของเขาจะถึงจุดสูงสุด ท่านอาจเห็นว่าเขาอยากเคลื่อนไหวและสำรวจด้วยตนเอง แต่เขาอาจเครียดเมื่อเขาเดินพ้นสายตาของท่านหรือท่านอยู่ไกลจากเขาเกินไป

ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ การระมัดระวังความปลอดภัยของท่านจำเป็นอย่างมาก ทำให้แน่ใจว่าบ้านของท่านปลอดภัยต่อตัวเด็ก โดยการจัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัยและน่าสนใจ ท่านได้ให้อิสระแก่เขาเพื่อให้เขาสามารถทำการสำรวจได้ด้วยตนเองโดยที่ท่านไม่เข้าไปแทรกแซง

การรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะทำการแนะนำบุตรและให้เขาทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะในการเลี้ยงดู ยิ่งท่านให้โอกาสเขาในการสำรวจ ทดลอง และแก้ไขปัญหา จะยิ่งทำให้เขามีความสามารถ ความมั่นใจ และแรงบันดาลใจในการสำรวจมากขึ้น

ในช่วงสุดท้ายของช่วงเวลานี้ ทารกของท่านจะสามารถ:

เคลื่อนไหว

  • อยู่ในท่านั่งได้โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือ
  • นั่งบนพื้นได้และสามารถหันตัวรอบทิศไปทั้งสองข้างได้โดยไม่ล้ม
  • เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าคลานหรือท่านอนคว่ำได้
  • คลานด้วยท้อง หรือคลานด้วยมือและหัวเข่า หรือใช้ก้นเดินลาก
  • ลดตัวลงจากการยืนเป็นนั่งหรือนั่งยอง ๆขณะจับเฟอร์นิเจอร์
  • ยืนด้วยการพยุงและอาจยืนได้คนเดียวชั่วขณะ
  • ดึงตัวเองเพื่อยืน
  • เดินรอบ ๆ ด้วยการจับเฟอร์นิเจอร์
  • เดินจับมือกับผู้ใหญ่หรืออาจเดินด้วยตัวเองสองสามก้าว

ทักษะการใช้มือและนิ้ว

  • จิ้มด้วยนิ้วกลาง
  • ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้หยิบของชิ้นเล็ก ๆ (เช่น ปากคีบ)
  • หยิบสิ่งของออกมาและเก็บกลับเข้าไปในที่เก็บ
  • ปล่อยสิ่งของอย่างเต็มใจ
  • ตั้งใจทำของเล่นตกซ้ำ ๆ เพื่อให้ผู้ใหญ่หยิบขึ้น

พัฒนาการด้านภาษา

  • ให้ความสนใจในการพูดมากขึ้น
  • เข้าใจคำว่า "ไม่"
  • ตอบสนองต่อคำสั่งตามสถานการณ์ เช่น โบกมือ "บ๊ายบาย" "ให้แม่"
  • ส่ายหัวเพื่อบอกว่า "ไม่"
  • แสดงความต้องการด้วยท่าทาง ชี้ด้วยนิ้วชี้หรือใช้คำ
  • เปล่งเสียงยาว (พยางค์ยาว) หรือคำเข้าใจยาก (การเปล่งเสียงเหมือนการพูด)
  • พยายามเลียนแบบคำ
  • พูด 1 ถึง 2 คำอย่างเป็นธรรมชาติในวิธีที่มีความหมาย เช่น "มา-มา" หรือ "ดา-ดา"

พัฒนาการด้านสติปัญญา

  • สำรวจสิ่งของต่าง ๆ ด้วยหลากหลายวิธี (เขย่า ทุบ ปา และปล่อยหล่น)
  • หาของเล่นที่ถูกซ่อนได้อย่างง่ายดาย
  • เข้าใจการใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง (เช่น หวีสำหรับหวีผม)
  • เริ่มเล่นเกมบทบาทสมมติกับของใช้ในบ้าน (เช่น พูดกับโทรศัพท์)
  • ยังคงมีความสนใจค่อนข้างสั้น

พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

  • อายหรือวิตกกังวลเมื่อพบคนแปลกหน้า แสดงความเครียดเมื่อผู้ปกครองไม่อยู่
  • แสดงความชอบแก่บุคคลและของเล่นเฉพาะ
  • ทดสอบการตอบสนองของผู้ปกครองต่อพฤติกกรรมของตน
  • สนุกกับการเลียนแบบท่าทางผู้อื่นในการเล่น

การดูแลตนเอง

  • ป้อนด้วยนิ้ว (เช่น ป้อนตนเองโดยการใช้นิ้วของตนถืออาหาร)
  • กางแขนและขาเพื่อช่วยในการแต่งตัว

สนับสนุนพัฒนาการเด็กทารก

ให้อิสระแก่บุตรของท่านในการสำรวจในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย พยายามเพิ่มความอดทนต่อระดับความวุ่นวายที่เขากำลังจะสร้าง สังเกตและค้นหาสิ่งที่เขาสนใจจากพฤติกรรมการค้นหาของเขาตอบสนองและชื่นชมเขาเมื่อมีพฤติกรรมดี ใช้เวลากับเขา ในระยะเวลาสั้นแต่บ่อยครั้งก็ดีเท่ากับการใช้เวลานาน การพูดคุยและการเล่นกับเขาตามความสนใจของเขานั้นสำคัญต่อพัฒนาการของเขา

ท่านสามารถทำอะไรได้บ้าง:

  • ให้ทารกของท่านมีการเคลื่อนไหวทางร่างกายในหลาย ๆ ครั้งต่อวันด้วยวิธีที่หลากหลาย
  • สนับสนุนและอนุญาตให้เขาขยับไปมาทั้งโดยการคลานหรือเคลื่อนตัวไปตามเฟอร์นิเจอร์ภายใต้การดูแลของท่าน
  • สนับสนุนให้เขาเดินและพัฒนาการทรงตัวด้วยการผลัก "รถหัดเดิน" ที่มีน้ำหนัก
  • หลีกเลี่ยงการกักทารกของท่านไว้ในรถเข็นเด็ก เก้าอี้สูง หรือเป้อุ้มทารกมากกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง
  • ให้เขาใช้นิ้วมือป้อนอาหารตนเองภายใต้การดูแลของท่าน
  • ใช้ทุกโอกาสในการคุยกับเขา บอกเขาว่าอะไรเกิดขึ้นรอบตัวเขาบ้างโดยเฉพาะเมื่อท่านอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าและป้อนข้าวเขา
  • ใช้ภาษาที่ง่ายและเฉพาะเมื่อท่านคุยด้วย เช่น "แม่/พ่อกำลังล้างมือหนูอยู่นะ"
  • อ่านหนังสือกับเขาและจัดหาโอกาสให้เขามีส่วนร่วม
  • สนับสนุนการสนทนาด้วยการโต้ตอบการพยายามที่จะสื่อสารของเขาทันที
  • เล่น "จ๊ะเอ๋" หรือเกมทางสังคมอื่น ๆ
  • จัดหาโอกาสให้เขามีปฏิสัมพันธ์กับเด็กและผู้ใหญ่คนอื่น ๆ เช่น โดยการพาเขาไปที่สวนสาธารณะ
  • ให้บุตรของท่านหลีกเลี่ยงเวลาหน้าจอด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

ของเล่นที่ท่านเลือกได้

  • ของเล่นที่มีหลากหลายขนาด รูปทรง และสี
  • จัดกระดานกิจกรรมในประเภทต่าง ๆ ที่สนับสนุนการควบคุมด้วยนิ้วมือ
  • กล่องหรือภาชนะว่างเปล่าเพื่อใส่ของเล่นเข้าและนำของเล่นออก
  • ถ้วยพลาสติก ช้อน หวี โทรศัพท์ของเล่น ตุ๊กตาตัวใหญ่ และตุ๊กตาสำหรับการเล่นในจินตนาการ
  • กระดาษแข็ง ผ้า หรือหนังสือไวนิลที่มีภาพขนาดใหญ่เพื่อให้เขาดูและพลิกหน้ากระดาษได้

ใช้รถหัดเดินสำหรับทารก

สถาบันกุมารเวชศาสตร์ของอเมริกาผลักดันไม่ให้ผู้ปกครองใช้รถหัดเดินสำหรับทารก ต่างกับความหมายของชื่อ รถหัดเดินสำหรับทารกเดินไม่ได้ช่วยกระบวนการเรียนรู้การเดิน รถหัดเดินสำหรับทารกเดินช่วยแค่ทำให้กล้ามเนื้อขาล่างแข็งแรงขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพกซึ่งใช้ในการเดินมากที่สุด รถหัดเดินสำหรับทารกจะลดความอยากเดินของเด็ก เนื่องจากเขาสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดาย เขาอาจไปสถานที่ที่อันตรายได้ และยังมีความเสี่ยงที่จะสะดุดล้มเมื่อบุตรของท่านชนสิ่งกีดขวาง

ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงแนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตในบุตรของท่านเท่านั้น ทารกแต่ละคนมีความพิเศษและจังหวะของพัฒนาการที่หลากหลายนั้นมักเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องวิตกกังวลหากทารกของท่านใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างเล็กน้อยหรือไม่สามารถมีความสามารถบางอย่างในบางช่วงอายุ นั่นอาจเป็นเพียงสัญญาณของความต้องการการดูแลเอาใจใส่มากขึ้นก็ได้

ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลหาก

ในช่วงท้ายของเดือนที่ 9 ทารกของท่าน
  • ไม่นั่งโดยลำพัง
ในช่วงท้ายของเดือนที่ 12 ทารกของท่าน
  • ไม่เดินโดยจับเฟอร์นิเจอร์
  • ไม่ใช้ปลายนิ้วหยิบของชิ้นเล็ก เช่น เศษขนมปังและข้าว
  • แทบจะไม่จ้องตาผู้ดูแล
  • ไม่ตอบสนองต่อการเรียกชื่อบ่อยครั้ง
  • ไม่ตอบสนองต่อคำสั่งที่มีท่าทางชี้นำ เช่น โบกมือ "บ๊ายบาย" "ปรบมือ"
  • ไม่ใช้เสียง คำพูด ท่าทาง หรือการชี้เพื่อบอกความต้องการ
  • ได้ยินหรือเห็นไม่ชัด

หากท่านมีความกังวลหรือคำถามใด ๆ ปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ที่ MCHC หรือแพทย์ครอบครัว/กุมารแพทย์ของท่าน

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับสำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล