พัฒนาการเด็ก 8B – สี่ถึงหกปี

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

เมื่ออายุสี่ปี บุตรของท่านอาจเริ่มเข้าอนุบาลมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เขาอาจมีพลังงานและแรงขับสูง บางครั้งเขาอาจมีพฤติกรรมชอบออกคำสั่ง ก้าวร้าว และไม่ปฏิบัติตามกฎ แม้ว่าเขาอาจออกนอกลู่นอกทางไปบ้าง แต่แท้จริงแล้วเขากำลังเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งหมดนี้ ให้เวลาเขา เขาจะเติบโตเป็นเด็กที่มั่นใจและให้ความร่วมมือมากขึ้นเมื่ออายุห้าปีหรือประมาณนั้น

เมื่อเข้าสู่ปีที่หก บุตรของท่านจะสามารถ:

เคลื่อนไหว

  • เดินขึ้นลงบันไดและเล่นในสนามเด็กเล่นได้อย่างชำนาญ
  • เตะลูกบอลที่เคลื่อนไหวได้
  • ยืนด้วยขาใดขาหนึ่งได้และคงสมดุลได้ห้าวินาทีหรือมากกว่า
  • กระโดดขาเดียวได้ 2-3 เมตร
  • ขยับตามจังหวะดนตรีได้

ทักษะการใช้มือและนิ้ว

  • ใช้บล็อกของเล่นสร้างหุ่นจำลองที่ยากขึ้น
  • ระบายสีละเอียดมากขึ้น ระบายสีอยู่ในเส้น
  • วาดรูปง่าย ๆ ได้ วาดคนที่มีส่วนของร่างกายมากขึ้น (มักมีศีรษะ ตา จมูก ปาก ลำตัว แขนขาและมือและเท้า)
  • ควบคุมการเขียนตัวเลขและตัวอักษรได้ดี
  • ทำงานศิลปะง่าย ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กรรไกตัด ทากาว และติดสิ่งของลงในตำแหน่งได้

พัฒนาการด้านภาษา

  • พูดประโยคโครงสร้างและไวยากรณ์ของผู้ใหญ่ได้ชัดเจนและคล่องแคล่ว
  • โต้ตอบอย่างเหมาะสมและพูดคุยด้วยในเรื่องที่สนทนาอยู่
  • ตอบชื่อเต็ม อายุ และที่อยู่บ้านได้เมื่อถูกถาม
  • เล่าเหตุการณ์บางเหตุการณ์ซ้ำจากเรื่องที่เพิ่งฟังได้
  • บรรยายเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลได้
  • สนุกกับมุกตลกและการทายปริศนา

พัฒนาการด้านสติปัญญา

ในช่วงนี้ บุตรของท่านจะถามคำถามมากมายและเริ่มใช้เหตุผลในการหาคำตอบว่าสิ่งนั้นทำงานอย่างไรและทำไมถึงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ทักษะการให้เหตุผลของเขายังคงจำกัดและการตัดสินใจยังคงมาจากมุมมองของเขา

คุณลักษณะอื่นที่เห็นได้ชัดในช่วงนี้คือความคิดสร้างสรรค์อันกว้างขวางของเขาที่สร้างขึ้นมาในช่วงที่เล่นกับเพื่อนและผู้ใหญ่

  • โฟกัสด้วยความสนใจที่มากขึ้นและทำให้สิ่งนั้นสำเร็จ
  • ถามหาความหมายของคำใหม่ที่เพิ่งได้ยิน
  • บวกและลบตัวเลขเดียวภายในจำนวน 10 ได้
  • รู้ชื่อสี 10 สีหรือมากกว่านั้น
  • เข้าใจแนวคิดทั่วไปของเวลา เช่น ช่วงเช้า ช่วงบ่าย วันนี้และพรุ่งนี้ วันธรรมดาและวันหยุด ฯลฯ
  • เริ่มมีเหตุผลแต่ไม่สามารถเข้าใจการพิจารณาปัจจัยที่เป็นไปได้บางอย่างในเวลาเดียวกันได้

พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม

  • ควบคุมความรู้สึกได้อย่างปกติและประพฤติตัวตามกฎสังคมได้ เช่น การสนทนาต้องการการพูดคุย แบ่งปันของเล่น ขออนุญาต คืนสิ่งที่ยืมไป ฯลฯ
  • เริ่มคิดและถามเกี่ยวกับความคิดและความรู้สึกผู้อื่นและอาจพยายามปิดบังความคิดความรู้สึกของตนเอง
  • เข้าร่วมเกมกลุ่มที่ต้องเปลี่ยนตาและปฏิบัติตามกฎและร่วมมือกันกับเพื่อนเป็นส่วนมากได้
  • สนุกสนานกับการเล่นกับเพื่อนโดยการเล่นเป็นเป็นผู้อื่น เช่น ผู้ปกครอง ตำรวจ และซุปเปอร์ฮีโร่
  • บอกชื่อของเพื่อนร่วมชั้นได้ส่วนมาก และเลือกเพื่อนที่เขาชอบได้
  • ต้องการเป็นเหมือนเพื่อนของเขา
  • ระมัดระวังลักษณะของตนและความแตกต่างทางกายภาพระหว่างชายและหญิง
  • แยกแยะจินตนาการออกจากชีวิตจริง

ทักษะการดูแลตนเอง

  • สามารถใช้มีดและส้อมได้
  • ล้างหน้าและแปรงฟันได้ด้วยตนเอง

การกระตุ้นพัฒนาการของบุตรของท่าน

พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ที่เหมาะสมนสำคัญต่อความสำเร็จด้านชีวิตของบุตรของท่าน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่สนามเด็กเล่น หรือในสังคมภายหลัง ด้วยเหตุนี้ เขาจะต้องลองสิ่งที่เขาสามารถทำได้ด้วยตนเองและทดลองความคิดของเขาเพื่อเพิ่มความมั่นใจแลทักษะการแก้ปัญหา พยายามเข้าใจและสนับสนุนความต้องการของเขาในความพยายามพึ่งพาตนเอง จัดหาสิ่งต่าง ๆ ให้เขาเรียนรู้ แสดงความรักแก่เขาและสนับสนุนเขา คงอารมณ์ขันไว้แม้ว่าท่านรู้สึกว่าเขากำลังท้าทายอำนาจและทำผิดกฎที่ท่านเคยสอนมาก่อน คงขีดจำกัดที่แน่นหนาและคำแนะนำที่ชัดเจน

สิ่งที่ท่านทำได้
  • ใช้เวลากับบุตรของท่านอย่างต่อเนื่องทุกวัน ฟังเขาเล่าเรื่องที่ทำให้เขาตื่นเต้นหรือวิตกกังวล
  • อ่านหนังสือกับบุตรของท่านทุกวันอย่างต่อเนื่องและพูดคุยในเรื่องนั้น ๆ
  • ใช้โอกาสของทุก ๆ วันหรือเวลาอ่านหนังสือในการพูดคุยเรื่องกฎดังกล่าว ผลที่ตามมา การแก้ปัญหาโดยใช้วิธีที่สันติและใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น
  • สอนให้เขาใช้คำที่อธิบายความรู้สึก ความต้องการและความคิดของเขา
  • ให้โอกาสและคำแนะนำในการตัดสินใจ
  • สนับสนุนให้เขาพึ่งพาตนเองในการดูแลตนเอง
  • ให้โอกาสแก่บุตรของท่านในการเล่นกับเด็กและผู้ใหญ่คนอื่น ๆ
  • สนับสนุนให้เขาเข้าร่วมการเล่นบทบาทสมมติกับเด็กคนอื่น ๆ และเข้าร่วมหากท่านต้องการ
  • จำกัดเวลาการดูหน้าจอจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ของบุตรของท่านไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับเขาในการดูและเล่น และแนะนำเขาในขณะเดียวกัน
  • สนับสนุนให้บุตรของท่านออกกำลังกายและเล่นกีฬาในหลากหลายรูปแบบอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง ซึ่งควรรวมถึงการออกกำลังกายที่กระฉับกระเฉงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เช่น เล่นสไลด์เดอร์ วิ่ง และเล่นฟุตบอลเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงทางร่ายกายและเพื่อเป็นทางออกในการใช้พลังงานและระบายความหงุดหงิดหากจำเป็น
  • พาบุตรของท่านไปสถานที่ที่หลากหลายเพื่อให้เขาได้สำรวจและเรียนรู้ เช่น สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สวนสัตว์ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์
ของเล่นที่ท่านเลือกได้
  • ของเล่นบทบาทสมมติ เช่น ชุดน้ำชา บ้านตุ๊กตา รถและโรงรถ สัตว์ หุ่นยนต์ ตุ๊กตา ฯลฯ
  • ของเล่นสร้างสรรค์ เช่น บล็อกตัวต่อ และดินน้ำมัน ฯลฯ
  • อุปกรณ์ศิลปะและการประดิษฐ์
  • ลูกบอล
  • ปริศนาตัวต่อ
  • เกมกระดานสำหรับการฝึกฝนการเปลี่ยนตาและการปฏิบัติตามกฎ
  • ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ทางการศึกษาและแบบโต้ตอบ
  • VCD เล่าเรื่องราว วิดีโอ และหนังสือที่มีรูปภาพหลากสีสัน

ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงแนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโตในบุตรของท่านเท่านั้น เด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์และจังหวะของพัฒนาการที่หลากหลายนั้นมักเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องวิตกจนเกินไปหากบุตรของท่านใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างเล็กน้อยหรือไม่สามารถมีความสามารถบางอย่างในบางช่วงอายุได้ นั่นอาจเป็นเพียงสัญญาณของความต้องการการดูแลเอาใจใส่มากขึ้นก็ได้

ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล หากบุตรอายุห้าปีของท่าน

  • แสดงพฤติกรรมรุนแรงเกินไป
  • เงียบ ขี้กลัว หรืออารมณ์แปรปรวนง่ายเกินไป
  • เสียสมาธิง่ายและเพิกเฉยเมื่อเทียบกับคนอื่นในห้องเรียน
  • แทบจะไม่สนใจเด็กคนอื่นและไม่เข้าร่วมการเล่นเกม
  • ไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำที่บ้านหรือที่โรงเรียนได้
  • ไม่สามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ง่าย ๆ ได้
  • ไม่สามารถใช้ประโยคแบบผู้ใหญ่ได้
  • พูดไม่ชัด เช่น ออกเสียงผิด พูดติดอ่าง
  • แสดงปัญหาที่ชัดเจนในเรื่องแนวคิดการเรียนรู้
  • ดูงุ่มง่ามในการทำกิจกรรมทางกาย
  • ใช้ดินสอหรือเครื่องมือง่าย ๆ ไม่คล่องแคล่ว
  • เห็นหรือได้ยินไม่ชัด
  • มีปัญหาการเรียนรู้หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่โรงเรียน

หากท่านมีความกังวลหรือคำถามใด ๆ ปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ที่ MCHC หรือแพทย์ครอบครัว/กุมารแพทย์ของท่าน

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล