ทุกเรื่องเกี่ยวกับประจำเดือน

(Content revised 11/2013)
  1. รอบประจำเดือนคืออะไร?
    • รอบประจำเดือน (เมนส์) คือการหลั่งเลือดและผิวหุ้มในมดลูกเนื่องจากวงจรการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายตรี
    • เมื่อเด็กผู้หญิงเกิดมาที่รังไข่ของเธอจะมีไข่ที่ยังไม่เจริญเต็มวัยนับล้านๆ อยู่แล้ว เมื่อถึงวัยสาว ไข่สิบใบในนั้นจะเติบโตจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเดือนละครั้ง โดยทั่วไปแล้วจะมีไข่เพียงใบเดียวที่จะโตเต็มที่และถุกปล่อยเข้าสู่มดลูก (เรียกว่าการตกไข่) ในแต่ละรอบประจำเดือน
    • ในเวลาเดียวกันผนังบุมดลูกจะหน้าขึ้นเพื่อรอบรับการตั้งครรภ์ หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ มันก็จะออกมาทางช่องคลอดพร้อมกับเนื้อเยื่อผนังบุมดลูกการเป็นเลือดประจำเดือน จากนั้นก็จะเริ่มรอบประจำเดือนรอบใหม่
  2. แล้วเด็กผู้จะเริ่มมีประจำเดือนที่อายุเท่าไหร่? และจะหมุดเมื่ออายุเท่าไหร่?
    • เด็กผู้หญิงส่วนมากจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุได้ 11 - 12 ปี สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ จะเข้าช่วงวัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุได้ 45 - 55 ปี เมื่ออายุถึงช่วงนั้น ประจำเดือนจะหมดไปอย่างถาวร (หมดประจำเดือน) และจะพ้นจากช่วงวัยเจริญพันธุ์
  3. ฉันจะต้องมีประจำเดือนทุกเดือนรึเปล่า?
    • ไม่ ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะมีประจำเดือนทุกเดือน รอบประจำเดือนของแต่ละคนอาจต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับสภาวะของเธอ
    • รอบประจำเดือนอาจอยู่นานถึง 21 - 35 วัน ความยาวของและรอบนั้นจะขึ้นอยู่กับวันที่ระหว่างวันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนจึงถึงวันแรกของรอบถัดไป
    • ยกตัวอย่างเช่น:
      วันแรกสุดของประจำเดือนรอบหลังสุด: 1 ตุลาคม
      วันแรกสุดของประจำเดือนรอบปัจจุบัน: 29 ตุลาคม
      ระยะเวลาของรอบประจำเดือน: 28 วัน

      สตรีที่อยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ทุกคนต้องคำนึงถึงความเป็นไปไที่จะตั้งครรภ์ด้วย กรุณาขอขำแนะนำจากผู้ให้บริารด้านสุขภาพหากประจำเดือนของคุณไม่มา

    • รอบประจำเดือนที่ผิดปกติอาจเกิดขึ้นได้กับสตรีผู้เพิ่งเริ่มมีประจำเดือนหรือใกล้ช่วงหมดประจำเดือน
    • สภาวะบางอย่างสามารถเชื่อมโยงกับสภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลซึ่งจะส่ผลต่อรอบประจำเดือนที่ผิดปกติ โดยมี:
      • น้ำหนักมาเกินหรือน้อยเกิน
      • โรคเกี่ยวกับการกินอาหาร (เช่น โรคเบื่ออาหารเพราะจิตใจ)
      • การออกกำลังกายอย่างกระฉับกระเฉง
      • ความเครียด
      • ยาบางตัว (เช่น ยาฉีดคุมกำเนิด)
      • การใช้ยาเสพติด
      • การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่
      • โรคเรื้อรัง, ความผิดปกติทางฮอร์โมน (เช่น โรครังไข่มีถุงน้ำ, โรคไทรอยด์ ฯลฯ)
      • ภาวะที่ส่งผลต่อการตกไข่
    • การหลังเลือดระหว่างรอบประจำเดือนอาจเกิดจากความผิดปกติในเยื่อบุมดลูก, ติ่งเนื้อ, การติดเชื้อที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด หรือเกิดจากมะเร็งปากมดลูก ฯลฯ ซึ่งน่าสับสนในบางครั้ง จากการมี "รอบประจำเดือนที่ผิดปกติ"
  4. ฉันมีประจำเดือนหนัก?
    • ประจำเดือนหนักหมายถึง ความรุนแรงและระยะเวลาของการหลั่งเลือดที่เพิ่มมากขึ้น
    • คุรอาจมีประจำเดือนหนักถ้า
      • คุณมีประจำเดือนนานกว่า 7 วัน (ผู้หญิงส่วนใหญ่มีรอบประจำเดือนนาน 2 - 7 วัน)
      • คุณต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยแบบยาวและซึมซับได้ยอดเยี่ยม ทุกๆ 1 - 2 ชั่วโมง
      • คุณมีมูกเลือดออกมามาก
      • คุณมีเหตุน้ำท่วม (จู่ๆ มีเลือดไหลออกมากซึมผ่านกางเกงในและชุด)
      • คุณจำเป็นต้องตื่นกลางดึกบ่อยครั้งเพื่อเปลี่ยนผ้าอนามัย
      • คุณมีเลือดออกเลอะผ้าปูที่นอนระหว่างหลับแม้ว่าจะใช้ผ้าอนามัยอยู่ก็ตาม
      • ประจำเดือนแบบหนักส่งผลถึงงาน, ชีวิตครอบครัว และชีวิตสังคมของคุณ
      • คุณรู้สึกเวียนหัว, หายใจไม่ทัน และเหนื่อยในช่วงระหว่างที่มีประจำเดือนและหลังจากนั้น
  5. การปวดประจำเดือนคืออะไร?
    • อาการปวดประจำเดือนมักมีขึ้นก่อนหน้าการเริ่มีประจำเดือนเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการเจ็บบริเวณช่วง่างของท้องน้อย
    • ความเจ็บปวดมักจะรุนแรงเมื่อมีเลือดออกอย่างหนัก
    • ความเจ็บปวดอาจเกี่ยวเนื่องจากกระเพาะปั่นป่วนเช่น การอาเจียน หรือถ่ายเหลว
    • อาการปวดประจำเดือนมีแบ่งเป็น 2 ประเภท:

ไม่ได้เกิดจากการป่วย

เกิดจากสภาวะในระดับรากฐาน

  • โดยทั่วไปจะเกิดกับผู้หญิงที่อ่อนวัยในช่วงหลังจากเริ่มมีประจำเดือน
  • อาจเกิดขึ้นโดยสภาวะอย่างเช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, อุ้งเชิงกรานติดเชื้อ หรือการใช้ห่วงคุมกำเนิด
  • ความเจ็บปวดจะลดลงหรือหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น หรือให้กำเนิดบุตร
  • อาจเกิดอาการปวดประจำเดือนขึ้นได้ตลอดช่วงรอบประจำเดือน
  • เกิดนาน 1 - 3 วัน
  • อาจมีสารคัดหลั่งที่มีกลิ่นเหม็นจากช่องคลอดหรือมีไข้
  • สามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้โดยการประคบด้วยความร้อนหรือทานยาบรรเทาปวดตามปกติ
  • อาจรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้หญิงที่ออกกำลังเป็นประจำมักจะมีช่วงการปวดประจำเดือนที่สั้นกว่า
  • สามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้โดยการทานยาบรรเทาปวดตามปกติ
  • การรักษาสาเหตุพื้นฐานจะช่วบบรรเทาความเจ็บปวดได้

ไปพบแพทย์หากคุณมีอาการต่อไปนี้:

  • คุณอายุ 16 ปี และยังไม่เริ่มมีประจำเดือน
  • อยู่ๆ ประจำเดือนของคุณก็ผิดปกติ
  • มีการหลั่งเลือดจากช่องคลอดในช่วงระหว่างสองรอบประจำเดือน
  • มีการหลั่งเลือดจากช่องคลอดหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • มีการหลั่งเลือดจากช่องคลอดหลังจากหมดประจำเดือนมาเกินหนึ่งปี
  • เริ่มมีการปวดประจำเดือนเมื่ออายุ 40 ปี หรือหลังจากนั้น
  • มีวงจรรอบประจำเดือนสั้นกว่า 21 วัน
  • มีประจำเดือนหนัก (อ้างอิงถึงคำถาม 4)
  • มีประจำเดือนที่เจ็บปวด/ ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • ประจำเดือนของคุณหมดมาเกินหนึ่งปีแล้วแต่คุณอายุต่ำกว่า 45 ปี

กรุณาขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพหากคุณมีคำถามใดๆ

บริการสุขภาพครอบครัว
เว็บไซต์ www.fhs.gov.hk
สายด่วนติดต่อสอบถาม 24-ชั่วโมง: 2112 9900