การเลี้ยงดูบุตรชุดที่ 11 - การสร้างมิตรภาพ

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 2 ถึง 3 ปี

หลังจากวันเกิดครบสองปี บุตรของท่านจะแสดงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนทางด้านพัฒนาการทางสังคม แทนที่เขาจะเล่นกับเพื่อนคนอื่น ๆ แบบข้าง ๆ กัน เขาจะเริ่มวิ่งไล่ เลียนแบบ และเล่นด้วยกันเป็นกลุ่ม พวกเขาจะค่อย ๆ เรียนรู้ทักษะทางสังคมเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น มารยาท การเปลี่ยนตา การแบ่งปันและการแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการการเรียนรู้นี้ได้สร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ทางครอบครัวและสังคมที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

ทุกอย่างเริ่มต้นจากครอบครัว

ครอบครัวเป็นที่ที่เด็กเล็กเรียนรู้ทักษะทางสังคมได้ดีที่สุด ขณะที่เด็กสองขวบชอบการเลียนแบบผู้ใหญ่ ผู้ปกครองสามารถสอนพื้นฐานของทักษะทางสังคมโดยการเป็นตัวอย่างที่ดีได้

การสนับสนุนความสุภาพที่บ้าน:

  • แสดงให้บุตรของท่านเห็นว่าอะไรคือมารยาทที่ดีโดยการพูด 'อรุณสวัสดิ์' 'ราตรีสวัสดิ์' หรือ 'บ๊ายบาย' แก่ผู้อื่นในครอบครัวในเวลาที่เหมาะสม
  • ทำการสาธิตว่าเมื่อใดควรพูด 'ขอบคุณ' และ 'ได้โปรด' ให้บุตรของท่านพูดดังกล่าวในเวลาที่เหมาะสม เช่น เมื่อเธอกำลังขอในสิ่งที่เธออยากได้
  • สนับสนุนให้เธอพูด 'สวัสดี' กับผู้อื่น หากเธออายเกินที่จะพูด ให้ทักทายด้วยการจ้องตา พยักหน้า โบกมือหรือจับมือแทนได้เช่นกัน

ตั้งกฎในบ้านเกี่ยวกับการแบ่งปัน เปลี่ยนตาและร่วมมือ:

  • ใช้เวลาทานขนมให้เป็นประโยชน์ในการสอนเขาเรื่องการแบ่งปันหรือการผลัดกัน เช่น 'นี่คือเค้กสองชิ้น หนึ่งชิ้นคือของลูกและอีกชิ้นเป็นของทิมมี พ่อจะเทนมบางส่วนให้พี่สาว/น้องสาวของลูกจากนั้นจะเป็นส่วนของลูก'
  • ฝึกฝนการเปลี่ยนตาระหว่างการเล่น เช่น ขอให้เขาดันรถไปมาระหว่างท่านกับเขา; หรือสนับสนุนให้เขาเข้าร่วมการสร้างตึกด้วยบล็อกตัวต่อ
  • ชวนเขาเข้าร่วมการจัดระเบียบหลังการเล่น
  • อย่าขอให้บุตรคนพี่หรือสมาชิกในบ้านคนอื่น ๆ เก็บของต่าง ๆ เข้าที่ให้กับน้องที่เล็กกว่า เพราะจะเพียงแต่ทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้ที่จะมีน้ำใจต่อผู้อื่น ขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนให้เขาเอาแต่ใจตนเอง

การสร้างความสนุกในครอบครัว:

  • สนับสนุนให้เขาเข้าร่วมการเล่นเกมกับพี่น้องแทนการเล่นคนเดียว
  • เล่นเกมกลุ่มด้วยกัน เช่น เกม 'ลอนดอนบริดจ์' และ 'ผ้าขี้ริ้วแหวนรอบโรซี'

การสร้างประสาบการณ์ทางสังคม

เด็กอายุสองปีอาจไม่มีประสบการณ์ทางสังคมมากนักโดยเฉพาะเมื่อเขาเป็นลูกคนเดียว ท่านอาจเพิ่มประสบการณ์ทางสัมคมของเขาได้โดย:

  • การพาเขาไปสังคมอื่น ๆ เช่น พาไปตลาด พาไปหาเพื่อนบ้านของท่านและพาไปพบเพื่อน
  • การช่วยเขาสร้างกลุ่มเพื่อนของเขาโดยการพาไปสนามเด็กเล่นเพื่อพบเด็กคนอื่น ๆ การพาไปงานวันเกิด การชวนให้เพื่อนมาเล่นด้วยกัน หรือการเข้าร่วมกลุ่มเล่นหรือเข้าโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียน

การเข้ากับเพื่อน

เด็กอายุสองปียังไม่มีพัฒนาการแนวความคิดด้านเวลามากนัก เขาจะเป็นห่วงเรื่องที่นี่และตอนนี้เท่านั้น เขาอาจคิดว่าของเล่นของเขาจะหายไปหากผู้อื่นขอเล่นด้วย แม้ว่าเขาจะรู้จักการแบ่งปันกับผู้อื่นในช่วงอายุสามปีแล้ว แต่เขาจะให้ของเล่นแก่เพื่อนบางคนยืมเท่านั้น - เช่นเดียวกับสิ่งที่ท่านจะทำกับทรัพย์สินอันมีค่าของท่าน

ภายใต้การแนะนำที่อดทนของท่าน เขาจะค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะแบ่งปันและผลัดเปลี่ยนกับเพื่อนในสถานการณ์ต่าง ๆ

การแสดงให้บุตรของท่านเห็นถึงวิธีการเปลี่ยนตา:

  • ให้บุตรของท่านมีส่วนร่วมโดยการพูดคุยกับเขาเมื่อเข้าคิวเล่นเกม เขาจะไม่เบื่อและหมดความอดทนเร็วเกินไป
  • บอกเขาล่วงหน้าเกี่ยวกับระยะเวลาว่าเขาสามารถเล่นได้นานเท่าไหร่ เช่น ทุกคนจะเล่นได้ไม่นาน (หรือจนกว่าแม่จะนับถึง 20) จากนั้นจะเป็นตาของคนต่อไป
  • เตรียมพร้อมบุตรของท่านล่วงหน้าก่อนเกมจะจบ 'เวลาใกล้หมดแล้ว หยุดและเปลี่ยนตาให้คนอื่นหลังจากแม่/พ่อนับถึง 10 1 2 3....10!'
  • สร้างจินตนาการเพื่อช่วยให้บุตรของท่านจบเกมอย่างมีความสุขมากขึ้น 'เวลาจะหมดแล้ว รีบจอดรถของลูกเร็ว' 'บ๊ายบายนะเจ้าชิงช้า เราจะมาเล่นด้วยใหม่ครั้งหน้านะ'
  • บอกบุตรของท่านว่ามีของเล่น/เกมที่น่าสนใจมากกว่า ดูสิ! บล็อกตัวต่อน่ารักดีนะ ลองมาดูลายสัตว์นี่สิ!
  • ยอมรับความรู้สึกของเขาหากบุตรของท่านไม่อยากหยุดเล่นของเล่น/เกม 'ลูกชอบรถสามล้อและอยากเล่นให้นานกว่านี้ใช่ไหม' จากนั้นพาเขาไปต่อแถวเพื่อเล่นอีกตา 'มาต่อคิวใหม่กันเถอะ' หรือให้เขาเลือกอีกตัวเลือก 'ลองเล่นบล็อกตัวต่อไหมจ๊ะ'

การแสดงให้บุตรของท่านเห็นถึงวิธีการแบ่งปันกับผู้มาเยี่ยมหรือเมื่อไปเยี่ยมผู้อื่น:

  • พูดคุยกับบุตรของท่านเรื่องของเล่นที่เขาสามารถแบ่งปันให้ผู้มาเยี่ยมได้ก่อนที่ผู้มาเยี่ยมจะมาถึง ช่วยบุตรของท่านเก็บของที่เขาไม่ต้องการแบ่งปันเข้าที่เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็น
  • ขอให้บุตรของท่านนำของเล่นบางชิ้นที่เขาสามารถแบ่งปันได้ติดตัวไปด้วยเมื่อไปเยี่ยมเพื่อน
  • อธิบายกับเขาว่าเขาจะได้รับของเล่นคืนเมื่อเล่นเสร็จ 'ลองแบ่งของเล่นให้ริกเล่นสักครู่หนึ่งดูไหม เขาจะคืนให้ลูกเมื่อพวกเรากลับบ้าน/เขากลับบ้านนะ'
  • ชมเขาทันทีเมื่อเขาเห็นด้วยที่จะแบ่งปัน 'เด็กดี! ขอบคุณที่แบ่งของเล่นให้คนอื่นนะ พ่อภูมิใจในตัวลูกมากเลย'

ปัญหาทั่วไปในการเข้ากับเพื่อน

  1. บุตรของฉันขี้อายมาก ฉันจะช่วยให้เขาเข้ากับเด็กคนอื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง

    เด็กบางคนเงียบและสนิทด้วยยาก พวกเขาอาจต้องการเวลามากขึ้นในการปรับตัวในสถานการณ์แปลกใหม่ หากบุตรของท่านเขินอาย การกดดันเขาจะทำให้เขาวิตกกังวลมากขึ้น ให้พยายามเข้าใจและยอมรับลักษณะนิสัยของเขาและค่อย ๆ แนะนำเขาในการเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กคนอื่น ๆ

    • อยู่กับเขาขณะที่ดูเด็กคนอื่น ๆ เล่น
    • แสดงให้เขาเห็นถึงวิธีการเข้าไปเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ โดยการเข้าไปเล่น
    • ชวนเขาให้เข้าร่วมหากท่านคิดว่าเขาพร้อม
    • ไม่ต่อว่าหรือทำให้เขาอับอายหากเขาปฏิเสธที่จะทำ เพราะจะทำให้เขารู้สึกเสียศักดิ์ศรีและทำให้เขาแยกตัวออกจากผู้อื่นมากขึ้น แสดงการยอมรับของท่านโดยการพูดว่า 'แม่/พ่อรู้ว่าลูกอยากดูนานขึ้นอีกหน่อย ถ้าลูกอยากเล่นกับพวกเขา บอกแม่/พ่อนะ'
    • หากบุตรของท่านเริ่มเข้าร่วม ให้รอจนกระทั่งเขามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ ก่อนแล้วท่านจึงค่อย ๆ ถอนตัวออกมา อยู่ข้าง ๆ เขาเพื่อดูว่าเขาเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไรและให้กำลังใจเขาเป็นครั้งคราว
  2. ฉันจะหยุดบุตรของฉันจากการแย่งของเล่นได้อย่างไร

    เด็กอายุสองขวบยังคงเอาแต่ใจตนเองอยู่ เขาอาจไม่เข้าใจความรู้สึกและความคิดของผู้อื่นหรือการพึ่งพาตนเองในการแก้ปัญหา ท่านอาจอยู่เคียงข้างเพื่อสังเกตการมีปฏิสัมพันธ์ของเขากับเพื่อน ๆ ในการเล่นก่อนจะตัดสินใจเข้าไปแก้ปัญหาให้:

    • หากบุตรของท่านคว้าของเล่นจากเด็กคนอื่น ท่านควรเข้าไปห้ามทันที สอนทักษะทางสังคมที่เหมาะสมแก่บุตรของท่าน 'นี่คือของเล่นของซู และลูกไม่ควรแย่งของเล่นจากเธอ ถ้าลูกอยากเล่น ลูกต้องทำอย่างไร' นำให้เขาคิดหาโซลูชันอื่น ๆ เช่น 'ใช่ ลูกควรขอดี ๆ' 'ลูกอยากแลกของเล่นของลูกดูไหมล่ะ' หรือ 'รอให้ถึงตาลูกก่อนก็ดีนะ'
    • หากบุตรของท่านโกรธเมื่อไม่สามารถแย่งของเล่นมาได้ ให้แสดงให้เขาเห็นว่าท่านเข้าใจความรู้สึกของเขา 'ลูกโกรธเพราะซูไม่ให้ลูกเล่นของเล่นใช่ไหม แต่นั่นเป็นของเล่นของเขานะ เขาจะโกรธเหมือนกันถ้าลูกแย่งของเล่นของเขา' แนะนำให้เขาหาวิธีอื่น หากเด็กคนอื่น ๆ ยินยอมที่จะให้ของเล่น เตือนให้บุตรของท่านพูด 'ขอบคุณ' ด้วย แต่หากไม่ได้รับการยินยอม ให้พยายามเบี่ยงความสนใจไปที่ของเล่นหรือเกมอย่างอื่น
    • ไม่ด่วนสรุปหรือต่อว่ากลุ่มใด ๆ เพราะจะไม่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการแบ่งปันหรือแก้ปัญหา
  3. ฉันไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรเมื่อบุตรของฉันก้าวร้าวกับเพื่อนของเขา

    เด็กวัยหัดเดินอาจตี เตะ หรือผลักเพื่อแสดงความต้องการเมื่อพวกเขาไม่รู้วิธีอื่นในการแก้ปัญหา พวกเขายังอาจก้าวร้าวจากความหงุดหงิดหรือโกรธด้วย คำแนะนำของท่านอาจหยุดพฤติกรรมก้าวร้าวที่กำลังจะพัฒนาไปเป็นนิสัยได้และช่วยให้เขาแก้ปัญหาได้อีกด้วย

    • พูดคุยกับบุตรของท่านและตั้งกฎ 2 หรือ 3 ข้อด้วยกันกับเขาเกี่ยวกับการเล่นกับเพื่อน เช่น 'การเปลี่ยนตา' หรือ 'มีอัธยาศัยดี' ชี้ผลที่ตามมาให้ชัดเจนจากการทำลายกฎ เช่น 'การยึดของเล่น' หรือ "การให้ไป 'เข้ามุมเงียบ ๆ' หนึ่งนาที"
    • ชมบุตรของท่านเมื่อเขาเล่นกับเพื่อนคนอื่น ๆ ด้วยอัธยาศัยที่ดี
    • หยุดเขาทันทีหากเขาตีผู้อื่นขณะเล่น 'หยุดทำร้ายเมเกน! ลูกต้องสลับตาถ้าลูกอยากเล่น'
    • พาเขาไป 'เข้ามุมเงียบ ๆ' หากเขาไม่หยุดต่อสู้ เช่น บอกให้เขายืนดูกิจกรรมที่มุมและเงียบเป็นเวลาหนึ่งนาที ปล่อยให้เขาอยู่แบบนั้นและไม่สนใจเขา
    • รอจนกว่าเขาจะเงียบเป็นเวลาหนึ่งนาที จากนั้นให้เขากลับเข้าไปเล่นอีกครั้งและเตือนเขาให้ปฏิบัติตามกฎ
    • ท่านอาจแนะนำให้เขาพูดขอโทษและคืนดีกับเพื่อน หาโอกาสชื่นชมเขาสำหรับความมีอัธยาศัยดี
    • หลีกเลี่ยงการสั่งสอนและอย่าใช้วิธีการลงโทษเมื่อจัดการกับปัญหาการทะเลาะกันของเด็ก บุตรของท่านจะเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตนจากการใช้วิธีการข้างต้นที่มั่นคงและสม่ำเสมอเท่านั้น

เด็กอายุสองขวบโดยส่วนมากจะไม่ปฏิบัติตามกฎหรือแบ่งของเล่น ซึ่งคือคุณลักษณะของพวกเขาในขั้นพัฒนาการนี้ การเข้ากับเพื่อนอย่างกลมกลืนเป็นเรื่องยากหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง การเป็นต้นแบบและให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอของท่านจะช่วยให้บุตรของท่านเรียนรู้ว่าเขาควรทำอะไรกับการเผชิญหน้าทางสังคมในอนาคต

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับสำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล