การเลี้ยงบุตร ชุดที่ 3 - ทารกกำลังร้องไห้

(HTML เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 04/2020)

การร้องไห้เป็นสัญชาตญาณของทารก ผู้ปกครองมือใหม่อาจรู้สึกเครียดเมื่อได้ยินเสียงลูกน้อย ของพวกเขาร้อง 'ทำไมลูกถึงร้อง เขาหิวรึเปล่าหรือรู้สึกไม่สบาย' พวกเขาอาจไม่รู้จะทำอย่างไรเพื่อจะหาทางปลอบลูกน้อย

ทำไมทารกถึงร้องไห้

ระหว่างเดือนแรก ๆ หลังคลอด ทารกแสดงออกถึงความต้องการของเขาผ่านการร้องไห้ เขาอาจร้องไห้เพื่อบ่งบอก:

  1. ความต้องการทางกายของเขา
  2. ความรู้สึกไม่สบายของเขาเนื่องจากการกระตุ้นภายนอกที่มากเกินไป
  3. ความรู้สึกเบื่อหรือต้องการเพื่อน
  4. เขารู้สึกไม่สบาย
  • หิว
  • ผ้าอ้อมสกปรก
  • ปวดท้อง
  • ร้อนเกินไป
  • ผู้มาเยี่ยมเยอะเกินไป
  • เหงา

จะแยกแยะการร้องไห้ของเด็กทารกได้อย่างไร

เสียงร้องไห้ของทารกมีทุกรูปแบบ แต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ในการตอบสนองของเขา ท่านจะได้เรียนรู้ในไม่ช้าถึงความหมายเบื้องหลังการร้องไห้ของทารกของท่านและการระบุความต้องการเฉพาะผ่านการสังเกตแบบซ้ำ ๆ และการตอบสนองโดยทันที นี่คือตัวอย่าง:

  • ร้องไห้เพราะหิวโดยปกติจะมีระดับเสียงต่ำ
  • ร้องไห้เพราะโกรธมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากกว่า
  • การร้องไห้เพราะเจ็บปวดโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นแบบทันทีด้วยระดับกรีดเสียงแหลมสูง ดัง ยาว ตามด้วยพักยาว และจากนั้นโอดครวญเรียบ ๆ

บางครั้งการร้องไห้ชนิดต่าง ๆ ก็คาบเกี่ยวกัน เช่น การร้องไห้เพราะหิวของทารกอาจนำไปสู่การโอดครวญด้วยความเดือดดาลหากผู้ปกครองไม่ให้ความสนใจ ให้เข้าใจความต้องการเบื้องหลังของทารกและระบุสัญญาณความหงุดหงิดหรือกระวนกระวาย (เช่น ขมวดคิ้ว หน้าเปลี่ยนเป็นสีแดง ปากสั่น) ก่อนร้องไห้จะช่วยให้ท่านตอบสนองความต้องการของเขาได้ทันที

จะปลอบโยนทารกที่กำลังร้องไห้ได้อย่างไร

เมื่อทารกของท่านร้องไห้ พยายามคิดให้ออกว่าทำไมเขาถึงร้องไห้และตอบสนองในทันที ให้ทารกเห็นหน้าของท่านและได้ยินเสียงอ่อนโยนเมื่อท่านตรวจสอบความต้องการของเขา ท่านอาจตรวจสอบว่ามีเหตุเฉพาะใดหรือไม่ เช่น ผ้าอ้อมเปียกและต้องเปลี่ยน เขาหิวและต้องการให้ป้อนอาหารแต่เนิ่น ๆ ในเวลานี้ ใส่เสื้อผ้ามากเกินไปทำให้เขารู้สึกร้อน ท่านอาจพิจารณาความเป็นไปได้อื่น ๆ เช่น เท้าของเขาอาจถูกพันกันหรือเขาถูกยุงกัด โดยการระบุและตอบสนองความต้องการของเขา ท่านจะหยุดการร้องไห้ของเขาได้

หากการร้องไห้ของทารกของท่านไม่ได้เกิดจากเหตุผลข้างต้น เขาน่าจะต้องการการปลอบโยนมากขึ้น ท่านอาจลองทำตามข้อเสนอแนะด้านล่าง:

  • สัมผัสเขาด้วยความรักและพูดกับเขาอย่างอ่อนโยน
  • เปิดเพลงสบาย ๆ
  • ห่อเขาด้วยผ้าห่มนุ่มเพื่อให้เขารู้สึกสบายและปลอดภัย
  • โยกเขาอย่างอ่อนโยนหรือเดินไปรอบ ๆ ในจังหวะการเคลื่อนไหวที่คงที่ระหว่างที่ท่านกอดเขา อุ้มเขาตั้งตรงและอยู่ใกล้กับตัวของท่าน หรือวางเขาลงบนไหล่และอกของท่าน
  • ตอบสนองความต้องการของเขาในการดูด ท่านอาจพิจารณาที่จะให้จุกนมปลอมแก่ทารกของท่าน หากท่านเลี้ยงทารกของท่านด้วยนมแม่ ท่านอาจลองให้นมเขาระหว่างที่ท่านกำลังอยู่ในท่านอนและปล่อยให้เขาดูดจนเขาหลับไปด้วยตนเอง ด้วยวิธีนี้ท่านก็จะได้พักด้วย การให้จุกนมปลอมเร็วเกินไปแก่ทารกที่กินนมแม่อาจส่งผลให้เขาเชี่ยวชาญการดูดนมแม่จากเต้าอย่างมีประสิทธิผล หากจำเป็น พิจารณาให้จุกนมปลอมแก่ทารกที่กินนมแม่เฉพาะหลังอายุหนึ่งเดือนขึ้นไปเท่านั้น

การอุ้มทารกมากเกินไปจะเป็นการตามใจเขาเกินไปหรือไม่

การร้องไห้ของทารกมีฟังก์ชันพื้นฐานของการส่งสัญญาณความต้องการ โดยการอุ้มเขาขึ้นมาเมื่อเขาต้องการการปลอบโยน ท่านได้แสดงออกถึงตัวท่านเองว่ามีความอ่อนไหวต่อความต้องการของเขา ทารกของท่านจะ รู้สึกถึงความรักและความห่วงใยของท่าน และจึงเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ปลอดภัยของทารกกับท่าน

เมื่อทารกของท่าน สงบและตื่นตัว นี่คือเวลาสำหรับท่านที่จะ เพลินกับการมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ลูบ ไกว หรือโอบกอดเขาอย่างอ่อนโยน พูดหรือเล่นเพลงให้กับเขา เล่นกับเขาหรือแสดงสิ่งที่น่าสนใจให้เขาดู ทารกของท่านรู้สึกพอใจกับความสนใจของท่านและเรียนรู้ว่าเขาจะได้รับความรู้สึกสะดวกสบายนี้เมื่อเขาสงบ ท่านไม่ได้กำลังตามใจทารกของท่าน

ต้องทำอย่างไรหากทารกไม่สามารถปลอบโยนได้

ก. ทำไมทารกถึงร้องไม่หยุด

ทารกร้องไห้มากขึ้น ๆ ใน 3 เดือนแรกหลังคลอด โดยเฉพาะอายุประมาณ 2 เดือน และอาจต้องการความพยายามอย่างมากในการปลอบเขา แม้เหตุผลเบื้องหลังจะยากที่จะค้นหา แต่สิ่งนี้เป็นช่วงเวลาพัฒนาการปกติและทารกส่วนใหญ่ที่มีการร้องไห้แบบหยุดไม่ได้นี้มีสุขภาพที่ดี เนื่องจากเด็กทารกจะค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับโลกภายนอกและเรียนรู้ที่จะสื่อสารความต้องการของเขาผ่านเสียงและกิริยาท่าทางมากขึ้น และพวกเขาจะร้องไห้น้อยลง

ระยะเวลาของการร้องไห้อาจแตกต่างกันไปตามอารมณ์ของทารก ในเวลาเดียวกัน อายุสำหรับการร้องไห้แบบหยุดไม่ได้อาจแตกต่างกันในพัฒนาการที่แตกต่างกันในแต่ละคน

ทารกบางคนมีการร้องไห้หนักในช่วงสั้น ๆ ในแต่ละวันระหว่างตอนเย็นถึงเที่ยงคืน พวกเขาร้องไห้แบบหยุดไม่ได้ มักกรีดร้อง ยืดหรือดึงขาของเขาขึ้นและตด แม้จะมีวิธีการปลอบโยน ทารกก็ยังร้องไม่หยุดและดูเหมือนเจ็บปวดโดยไม่มีเหตุผล สิ่งนี้เรียกว่าโคลิก

นอกจากนี้ ทารกสามารถรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของผู้ดูแล เขาอาจเจ็บปวดและร้องไห้อย่างมากภายใต้อิทธิพลของความตึงเครียดของผู้ดูแล

เมื่อทารกป่วย เขาอาจร้องไห้แบบหยุดไม่ได้ไม่ว่าท่านจะปลอบโยนอย่างไรก็ตาม

ข. เคล็ดลับสำหรับการจัดการทารกที่ร้องแบบหยุดไม่ได้

  1. ใจเย็น ๆและหลีกเลี่ยงที่จะกังวลและรีบจนเกินไป การทำหลายสิ่งในเวลาเดียวกันกับทารกจะยิ่งเป็นการกระตุ้นเขามากเกินไปและยิ่งทำให้เขารู้สึกเครียดและอึดอัดมากยิ่งขึ้น
  2. ตัดtความเป็นไปได้ของภาวะทางการแพทย์ออกไป หากทารกที่กรีดร้องแบบหยุดไม่ได้และปฏิเสธที่จะดูด อาเจียนหรือมีท้องบวม ท่านควรปรึกษาแพทย์ในทันที
  3. ทำให้เป็นระบบลองหนึ่งวิธีในแต่ละครั้ง บันทึกกระบวนการที่ท่านใช้และระยะเวลาของการร้องไห้ที่ตามมา สิ่งนี้ช่วยระบุวิธีการที่มีประสิทธิผลที่จะจัดการการร้องไห้ของทารกของท่าน
  4. ทำความ รู้จักลักษณะเฉพาะของทารกของท่าน การเข้าใจสไตล์การตอบสนองเฉพาะรายของทารกของท่านและระดับความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าด้านสิ่งแวดล้อมจะช่วยให้ท่านลงมือปฏิบัติแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันเขาจากการร้องไห้ที่รุนแรงขึ้น แนะนำสิ่งเร้าหรือการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย ละเอียดอ่อนกับการตอบสนองของทารกของท่าน นำเธอออกจากสถานการณ์ตึงเครียดและให้เธอพักเมื่อเธอเริ่มจะหงุดหงิด
  5. การแบ่งปันประสบการณ์ กับผู้ปกครองท่านอื่น ๆ
    คุยกับผู้ปกครองท่านอื่นเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เขาทำ ท่านอาจค้นพบวิธีบางอย่างที่พวกเขาได้ลองแล้วและที่เป็นไปได้สำหรับท่าน เช่น นำทารกไปนั่งรถเล่น ไปเดินเล่นหรือนวดตัว
  6. มองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
    สำหรับทารกที่ร้องไห้แบบหยุดไม่ได้ ยังไม่มีวิธีการที่เป็นเอกสารในการจัดการการร้องไห้ของพวกเขาได้ โชคดีที่การร้องไห้รายวันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยปกติจะหายไปเมื่อทารกอายุ 3 ถึง 4 เดือน อดทนไว้ บอกตัวท่านเองว่าสถานการณ์ต่าง ๆ นั้นแค่ชั่วคราวและเรียนรู้ที่จะยอมรับว่าทารกก็เป็นแบบนี้

    เตรียมตัวที่จะรับปัญหารายวันที่เกิดขึ้นจากการดูแลทารก ไม่ใช่เรื่องใหญ่หากงานบ้านยังไม่เสร็จหรือท่านยุ่งเกินไปที่จะเตรียมมื้ออาหาร พยายามอย่าทำให้ตัวเองเหนื่อยอ่อนเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของท่านได้

  7. การดูแลความต้องการทางอารมณ์ของท่านเอง
    การดูแลทารกที่ร้องไห้อาจทำให้เหนื่อยมาก เมื่อท่านรู้สึกเหนื่อยอ่อน ให้พักสักครู่และ คลายความตึงเครียด ท่านอาจรู้สึกสิ้นหวังและแม้กระทั่งกลัวว่าท่านอาจทำให้ทารกของท่านเจ็บ** ในจุดนี้ให้มีคนมาดูแลทารกแทนท่าน

    **ห้ามเขย่าทารกอย่างรุนแรงเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ (โปรดดูภาคผนวก)

    หากท่านไม่มีใครที่จะเรียกหาเพื่อขอความช่วยเหลือ ให้วางทารกไว้ในเตียงเด็กหรือที่ปลอดภัยใด ๆ และทิ้งเขาไว้ตรงนั้นสักครู่ ให้ความสนใจกับความต้องการทางอารมณ์ของท่านเองก่อนแล้วกลับไปหาทารกของท่านทันทีที่ท่านรู้สึกดีขึ้น

  8. การได้รับการสนับสนุน
    การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ญาติและเพื่อน ๆ ของท่านสามารถช่วยให้ท่านเอาชนะความยากลำบากได้ ท่านยังสามารถปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ที่ศูนย์สุขภาพแม่และเด็กหรือแพทย์ประจำครอบครัวของท่าน

ภาคผนวก "การบาดเจ็บต่อศีรษะจากการถูกกระทำทารุณ" (เดิมรู้จักกันในชื่อ "ภาวะที่เกิดขึ้นจากการเขย่าตัวทารก")

การบาดเจ็บต่อศีรษะจากการถูกกระทำทารุณ (เดิมรู้จักกันในชื่อ ภาวะที่เกิดขึ้นจากการเขย่าตัวเด็ก) อธิบายการบาดเจ็บรุนแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อทารกหรือเด็กเล็กถูกเขย่าอย่างรุนแรงหรือเจ็บปวดจากการกระแทกด้วยของไม่มีคมที่เกี่ยวข้องกับการตีที่ใช้แรง ฟาด ดึง ฯลฯ เนื้อเยื่อสมองมนุษย์และกะโหลกมีช่องว่างระหว่างกัน และเพราะเช่นนั้นทั้งสองอย่างนี้จึงไม่ได้ติดแนบแน่นกัน ทารกอ่อนแอเป็นพิเศษเพราะความนุ่มของสมองและยังขาดพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอ การเขย่าทารกแบบรุนแรงสั้น ๆ เพียงไม่กี่วินาทีหรือทำให้เขาถูกแรงกระแทกจากของไม่มีคม จะสร้างทั้งความเสียหายของสมองที่เปราะบาง เกิดผลเป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น ความเสียหายถาวรของสมอง ตาบอด อาการชัก หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิต เรื่องนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อคนดูแลตอบสนองอย่างหุนหันพลันแล่นจากความโกรธหรือหงุดหงิดเพื่อที่จะหยุดทารกจากการร้องไห้ การบาดเจ็บต่อศีรษะจากการถูกกระทำทารุณเป็นรูปแบบการทารุณกรรมเด็กอย่างร้ายแรง ดังนั้นห้ามรับมือกับทารกแบบรุนแรง! ภายใต้การดูแลปกติหรือการเล่น เช่น การเด้งทารกบนหัวเข่า โยนเขาขึ้นไปในอากาศจะไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อศีรษะจากการถูกกระทำทารุณ

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล