การเลี้ยงดูบุตร ชุดที่ 5 - เพลงกล่อมเด็ก I - การพัฒนารูปแบบการนอนหลับปกติ

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

ผู้ปกครองมือใหม่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการนอนของทารก เช่น "เป็นเรื่องปกติไหมที่ทารกของฉันจะตื่นนอนหลายครั้งในตอนกลางคืน ทำไมเขาถึงไม่สามารถนอนได้เองล่ะ เมื่อไหร่เขาถึงจะสามารถนอนหลับได้ตลอดทั้งคืน หากผู้ปกครองสามารถเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะในการนอนของทารก และด้วยการสนับสนุนอื่น ๆ ทารกของพวกเขาจะสามารถค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะสร้างนิสัยการนอนที่ดีและผ่อนคลายตนเองจนหลับได้ ทั้งท่านและบุตรของท่านจะสามารถนอนหลับได้อย่างมีความสุข

สถานะการหลับของเด็กทารก

  • มีสถานะที่แตกต่างกันในการหลับ - ง่วง หลับตื้น/กำลังฝัน หลับลึก ตื่น
  • วงจรการหลับเริ่มจากหลับตื้นไปจนถึงหลับลึกจากนั้นหลับตื้น (ดูหน้าต่อไปแผนภาพการนอนของเด็กทารก) แต่ละวงจรกินเวลาหลายสิบนาทีในทารก เมื่อทารกของท่านโตขึ้น ระยะเวลาของวงจรจะค่อย ๆ ขยายและเมื่ออายุ 3 ถึง 6 ปี แต่ละวงจรจะกินเวลาประมาณ 90 นาทีเหมือนผู้ใหญ่
  • ในการหลับตื้น การหายใจของทารกของท่านจะเร็วและสั้นกว่าปกติ ร่างกายและแขนขาอาจสั่นเล็กน้อย อาจสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงตาภายใต้เปลือกตาได้ (อาจอยู่ในภาวะฝัน) เธออาจถูกปลุกให้ตื่นได้ง่ายโดยเสียงหรือแสงในสภาพแวดล้อม ตลอดการนอนของเธอ เธออาจตื่นสั้น ๆ เป็นพัก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติและคาดหวังได้ ท่านอาจให้เธอหลับต่อโดยตบอย่างแผ่วเบาหรือพูดเบา ๆ กับเธอแทนการอุ้มเขาขึ้นมาหรือป้อนอาหารเธอ
  • ระหว่างการหลับลึก ลูกน้อยของท่านจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าจากสภาพแวดล้อม การหายใจของเธอจะกลับมาเป็นปกติพร้อมการเคลื่อนไหวร่างกายเล็กน้อย

รูปแบบการหลับในทารก

หลังคลอด ทารกพึ่งพาตนเองในการหายใจและปรับตัวและทำให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนอกท้องแม่ - ซึ่งประกอบไปด้วยอุณหภูมิ แสง/ความมืด เสียง เช่นเดียวกับการดูแลของท่าน ทารกแรกเกิดยังไม่มีรูปแบบการอยู่แบบกลางวัน-กลางคืนแต่อย่างใด พวกเขากินเมื่อตื่นและหลับเมื่ออิ่ม รูปแบบการหลับ-ตื่น จะเกิดซ้ำ ๆ ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ถึงกระนั้นทารกแรกเกิดก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ

หลังการดูแลทารกของท่านสักพักหนึ่ง ท่านอาจเริ่มที่จะเข้าใจสัญญาณความเหนื่อยของทารก ให้เธอหลับเมื่อง่วงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เธอเหนื่อยเกินไปที่จะนอนหลับ ทารกของท่านอาจต้องการการกล่อมจากท่านเพื่อหลับ เธอพึ่งพาการดูแลที่ตอบสนองของท่านเพื่อช่วยให้เธอปรับตัวเข้ากับจังหวะกลางวัน-กลางคืนและเพื่อควบคุมการนอนในแบบนั้น เมื่อการดูแลที่ตอบสนองและทารกของท่านเติบโต รูปแบบการนอนของเธอจะเปลี่ยนไป

เมื่อทารกของท่านอายุได้ 3 ถึง 6 เดือน (รูปที่ 1) ทารกของท่านอาจใช้เวลาในการนอนตอนกลางคืนนานขึ้นและตื่นในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่เธอเริ่มที่จะมีจังหวะกลางวัน-กลางคืน

เธอยังต้องการการงีบหลับตอนกลางวันแต่ความถี่ในการงีบหลับจะลดลงเนื่องจากเธอโตขึ้น ในเวลาเดียวกัน ความสามารถของเธอในการผ่อนคลายตนเองให้นอนหลับ*ก็พร้อมที่จะพัฒนา หากท่านอนุญาตให้เธอนอนหลับในเปลของเธอเมื่อเธอรู้สึกง่วงโดยที่เธอยังตื่นอยู่ เธอสามารถผ่อนคลายตนเองให้หลับได้แม้ว่าเธอจะตื่นในตอนกลางดึก โดยทั่วไป ประมาณ 60-70% ของเด็กทารกอายุ 8 เดือน สามารถผ่อนคลายตนเองให้นอนหลับได้

ชั่วโมงการนอน

ชั่วโมงการนอนจะเปลี่ยนไปเมื่อทารกของพวกเราเติบโต:

อายุ ชั่วโมงนอนหลับทั้งหมดในช่วงเวลา 24 ชม.*
(รวมการนอนทั้งกลางวันและกลางคืน)
0-3 เดือน ~ 14-17 ชม.
4-11 เดือน ~ 12-16 ชม.
อายุ 1-2 ปี ~ 11-14 ชม.
อายุ 3-4 ปี ~ 10-13 ชม.

*อ้างอิง : แนวทางของ WHO เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย พฤติกรรมอยู่กับที่และการนอนหลับสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เจนีวา:องค์การอนามัยโลก; 2019 ลิขสิทธิ์: CC BY-NC-SA 3.0 IGO

ข้อมูลข้างต้นสำหรับการอ้างอิงเท่านั้น เด็กทารกแต่ละคนมีความเฉพาะตัวและมีความแตกต่างรายบุคคล เด็กทารกบางคนนอนมากกว่า ในขณะที่บางคนนอนน้อยกว่า บางคนมีการนอนตอนกลางคืนนานกว่าเมื่อตอนอายุ 2 เดือน แต่บางคนต้องการเวลามากกว่าในการพัฒนาตามจังหวะของเธอเอง ผู้ปกครองต้องพยายามอย่าเปรียบเทียบทารกของท่านกับทารกของผู้อื่นและเธอสบายดีตราบเท่าที่เธอแข็งแรงและเติบโต

จะช่วยให้ทารกของท่านหลับสบายได้อย่างไร

ให้ความสะดวกสบาย

  • อุณหภูมิห้องสบาย
  • อากาศถ่ายเทดี
  • เสื้อผ้าหรือผ้าห่มในปริมาณที่เหมาะสม ท่านอาจตรวจสอบว่าเขาร้อนหรือหนาวเกินไปหรือไม่โดยการสัมผัสที่ต้นคอของเขา หากอุ่นแต่ไม่มีเหงื่อนั่นคือถูกต้องพอดี
  • ใช้ผ้าห่มที่ทำจากผ้าฝ้ายเผื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้
  • ห่อตัวอย่างสบาย
    ทารกของท่านจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นหากท่านห่อตัวเขาด้วยผ้าห่มนุ่ม หลีกเลี่ยงการห่อเขาแบบแน่นจนเกินไปซึ่งจะทำให้เขารู้สึกร้อนเกินไปหรือจำกัดการเคลื่อนไหวของขาของเขา ทำให้แน่ใจว่าศรีษะและใบหน้าของเขาเผยออกมาโดยไม่ขวางกั้นทางเดินหายใจ

หากแขนขาส่วนล่างของทารกถูกดึงและพันแน่นเกินไปเมื่อห่อตัว ข้อต่อสะโพกอาจพัฒนาผิดปกติ

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จาก‘อาการผิดปกติของกระดูกสะโพก (DDH)

กรุณาอ้างอิงถึง‘ความปลอดภัยในการนอนหลับ’สำหรับความปลอดภัยของทารกในการนอนหลับด้วย

การเน้นย้ำถึงความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน

  • ความแตกต่างของแสงไฟในห้อง
    • ห้องควรมีแสงสว่างเพียงพอในเวลากลางวัน หรี่แสงไฟก่อนนอนเพื่อบอกทารกว่าถึงเวลานอนแล้ว
    • ทารกบางคนอาจตื่นขึ้นมากลางดึกและร้องไห้เพราะห้องมืดเกินไป แสงตอนกลางคืนสามารถทำให้เธอมั่นใจว่าเธออยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย
  • ความแตกต่างของกิจกรรม
    • เมื่อทารกของท่านตื่นในตอนกลางวัน ให้เล่นและพูดคุยกับเธออย่างกระตือรือร้น เมื่อท่านกำลังใช้เวลาคุณภาพด้วยกัน ท่านกำลังให้ความสนใจที่เพียงพอแก่เธอและทำให้เธอตื่นตัวและสนใจอยู่เสมอ สิ่งนี้จะปกป้องเธอจากการนอนหลับมากเกินไปในระหว่างวัน
    • เมื่อเธอเหนื่อยตามที่แสดงจากการที่เธอมีหนังตาตก ถูหน้าของเธอกับท่านหรือหาว ก็ให้เธอพักผ่อน
    • หลีกเลี่ยงการงีบหลับมากกว่า 4 ชม.
    • ในตอนกลางคืน ทำกิจกรรมร่วมกันแบบเงียบ ๆ เพื่อไม่ให้เธอตื่นเต้นมากเกินไปก่อนเข้านอน

ความปลอดภัยในการนอน

  • เราห่วงใยเกี่ยวกับว่าทารกของเรานอนหลับเพียงพอหรือไม่และสำคัญที่สุด นอนอย่างปลอดภัยและลดโอกาสที่จะเกิดโรคไหลตายในเด็กทารก (SIDs) หรือไม่ งานวิจัยต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าการนอนหงายปลอดภัยที่สุดและเป็นท่านอนที่ถูกต้องสำหรับทารก ซึ่งดีกว่าการนอนคว่ำหรือนอนตะแคงมากเพราะลดโอกาสที่จะเกิด SIDs
  • เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ SIDs และความปลอดภัยในการนอนหลับ

การสร้างกิจวัตรเวลานอนช่วยให้ทารกของท่านหลับในเวลาปกติและพัฒนาความสามารถในการกล่อมตนเองได้

  • เริ่มต้นสร้างกิจวัตรเวลานอนที่ดีหลังจากที่ทารกของท่านได้แสดงจังหวะกลางวัน-กลางคืน
  • 20-45 นาที ก่อนเวลานอน ให้ปิดทีวีและอุปกรณ์หน้าจออื่น ๆ จัดเตรียมกิจกรรมเวลานอนที่ผ่อนคลายและสงบ เช่น อาบน้ำ เล่านิทาน เล่นอย่างนุ่มนวล ร้องเพลงกล่อมเด็ก ฟังเพลงเบา ๆ ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ควรเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินโดยไม่ทำให้เขาตื่นเต้น หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมเวลานอนแล้วให้เขานอนหลับ
  • กิจกรรมที่เลือกควรจะขึ้นกับลักษณะเฉพาะและนิสัยของทารกของท่าน แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคือทารกของท่านต้องได้รับการป้อนอาหาร ได้เรอและได้เปลี่ยนผ้าอ้อม
  • วางทารกของท่านลงในเตียงเด็กเมื่อเธอง่วงแต่ยังตื่นอยู่ ให้เธอผ่อนคลายตนเองเพื่อนอน* ปล่อยเธอไว้ในเตียงเด็กหลังจากการกล่าวราตรีสวัสดิ์
  • ทารกอาจได้รับการผ่อนคลายให้หลับเมื่อเธอไม่สบายทางกาย ให้เธอผ่อนคลายตนเองจนหลับเมื่อภาวะทางกายของเธอคงตัว
  • ท่านอาจอ้างอิงถึงวิดีโอของเรา‘พัฒนากิจวัตรการนอนหลับปกติ’(วิดีโอในภาษาจีนกวางตุ้งกับคำบรรยายภาษาอังกฤษ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

*การผ่อนคลายตนเองหมายถึงความสามารถของทารกในการนอนหลับได้ด้วยตนเองเมื่อง่วงโดยไม่มีการแทรกแซงจากผู้ปกครอง นิสัยการนอนที่พบได้บ่อยที่สุดคือนิสัยที่อาจขัดขวางการเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถในการผ่อนคลายตนเองของเขา นิสัยที่ไม่ดีเหล่านี้รวมถึงการดูดเพื่อหลับ การโยกไปมา การลูบ หรือการเดินเพื่อช่วยให้ทารกหลับ เมื่อรูปแบบเหล่านี้กลายเป็นกิจวัตรที่สร้างขึ้นแล้ว ทารกของท่านจะพึ่งพาความสนใจของท่านทั้งหมดและให้ท่านอยู่เป็นเพื่อนเพื่อนอนหลับ นิสัยการนอนเหล่านี้จะใช้เวลาและพลังงานของท่านค่อนข้างมากโดยไม่จำเป็น

แล้วหากทารกของฉันนอนหลับไประหว่างการป้อนอาหารละ ท่านอาจหยุดการป้อนอาหารและนำเขาไปที่เตียงโดยที่ไม่ปลุกเขา ท่านอาจป้อนเขาก่อนเวลาเดิมอีกหน่อยครั้งหน้าเพื่อจะได้ลดโอกาสที่เขาจะหลับในระหว่างการป้อนอาหาร

แล้วหากทารกของฉันนอนหลับไประหว่างการป้อนอาหารละ ท่านอาจหยุดการป้อนอาหารและนำเขาไปที่เตียงโดยที่ไม่ปลุกเขา ท่านอาจป้อนเขาก่อนเวลาเดิมอีกหน่อยครั้งหน้าเพื่อจะได้ลดโอกาสที่เขาจะหลับในระหว่างการป้อนอาหาร เพลงกล่อมเด็ก II- ทารกของฉันไม่ยอมนอน ในชุดนี้

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล