การเลี้ยงดูบุตรชุดที่ 17 - เรียนรู้อย่างมีความสุข I

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

บุตรของท่านไม่เต็มใจที่จะซ้อมเปียโนอยู่เสมอใช่หรือไม่ เขามักต้องการการเร่งเร้าจากท่านบ่อย ๆ เพื่อให้งานชิ้นหนึ่งแล้วเสร็จใช่หรือไม่ หรือเขาไม่เคยต้องการที่จะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเลยใช่หรือไม่

พฤติกรรมที่อธิบายข้างต้นบรรยายภาพของเด็กผู้ไม่กระตือรือร้นในการเรียนรู้ เด็กเกิดมาด้วยความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจที่จะสำรวจ ทุกวันนี้ หลาย ๆ โรงเรียนและครอบครัวขอให้เด็กเรียนรู้มาก ๆ และให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น เด็กอาจเสียแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างง่ายดายภายใต้ข้อเรียกร้อง ผู้ใหญ่จึงอาจจะใช้ทุกวิถีทางรวมถึงการข่มขู่หรือติดสินบนเพื่อจูงใจพวกเขา ผลที่ตามมาคือเด็กมีแนวโน้มที่จะเรียนเพื่อรางวัล เพื่อแข่งกับคนอื่นหรือทำให้คนอื่นพอใจ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กควรรักษาความอยากรู้อยากเห็นของเด็กไว้และเสริมสร้างแรงจูงใจของพวกเขาที่จะเรียนรู้ และด้วยการทำเช่นนั้น เด็กจะกลายเป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้นและแสดงความสนใจที่จะเรียนรู้โลก

การช่วยเหลือเด็ก ๆ ให้เป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้น

เด็กที่มีแรงจูงใจในการเรียนรู้จะไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ พวกเขาจะลองหลาย ๆ ทางเพื่อแก้ไขปัญหา เนื่องจากพวกเขาไม่ได้เห็นคะแนนสอบเป็นเพียงเป้าหมายเดียว พวกเขามักได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในการเรียนรู้ เพื่อที่จะช่วยเด็ก ๆ ให้กลายเป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้น พวกเขาต้องรู้สึกว่าการเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องดีและนำมาซึ่งความพึงพอใจ ท่านอาจช่วยให้พวกเขาทำมันสำเร็จได้ผ่านการเสริมความนับถือตนเอง ความรู้สึกถึงความสำเร็จ ความไม่ลดละ และความคิดสร้างสรรค์

1. การรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครอง-บุตร

  • เด็ก ๆ ต้องการความสนใจและการสนับสนุนจากพ่อแม่ การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุตรของท่านเป็นสิ่งสำคัญ มีปฏิสัมพันธ์บ่อย ๆ กับบุตรของท่านและพูดคุยกับเธอ สาระสำคัญของเวลาคุณภาพอยู่ที่การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองกับเด็กและไม่ใช่ปริมาณของเวลาที่ใช้ ท่านจะเข้าใจเธอได้ดีขึ้น อำนวยความสะดวกต่อพัฒนาการด้านภาษาของเธอ และค่อย ๆ สอนเธอให้ซึมซับอารมณ์ที่คงที่และการให้ความร่วมมือสำหรับการเรียนรู้

2. การตั้งค่ากิจวัตรประจำวัน

  • ช่วยบุตรของท่านในการสร้างทัศนคติและนิสัยที่ดีในการเรียนรู้โดยกำหนดกิจวัตรประจำวันตั้งแต่เขายังเด็ก เช่น เวลานอนปกติ เวลาสำหรับการเรียนรู้ การเล่นและอ่านหนังสือ วิธีนี้จะช่วยให้บุตรของท่านพัฒนาความเป็นอิสระและวินัยในตนเองในชีวิตประจำวันได้
  • การอ่านหนังสือทุกวันกับบุตรของท่านเป็นจุดเริ่มต้นที่จะบ่มเพาะความสนใจและนิสัยในการอ่านของเขา เลือกหนังสือที่น่าสนใจเพื่ออ่านกับเขาและพูดคุยเนื้อหาด้วยกัน จำไว้ว่าการอ่านในระยะนี้เป็นไปเพื่อความสนุก ดังนั้นอย่าทำให้การอ่านกลายเป็นงานจดจำคำ

3. การมีความคาดหวังที่ปฏิบัติได้จริง

  • การชื่นชมความแตกต่างในแต่ละบุคคลและโหมดการเรียนรู้
    • เด็กทุกคนมี เอกลักษณ์ และเกิดมามีความแตกต่างส่วนบุคคล ให้เข้าใจลักษณะนิสัยของเธอผ่านการสังเกตการเล่น การโต้ตอบกับเพื่อนหรือพฤติกรรมประจำวัน มี ความคาดหวังที่ปฏิบัติได้จริง ในวิธีการเรียนรู้ของเธอและยอมรับความแตกต่าง เรียนรู้ที่จะชื่นชมความสามารถของเธอในมุมมองที่แตกต่างออกไป
    • ปรับจังหวะของการเรียนรู้ ให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับพวกเขาและสำรวจศักยภาพของเด็กที่มีความสามารถน้อยกว่า สำหรับเด็กที่มีความสามารถมากกว่า ท่านอาจตั้งเป้าหมายที่เทียบแล้วสูงกว่าเพื่อให้พวกเขาได้ตระหนักในศักยภาพอันเต็มที่ของพวกเขา ในขณะที่ยังรักษาไว้ซึ่งความสนใจในการเรียนรู้ของพวกเขา
    • ชื่นชมที่เด็ก ๆ มีโหมดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เช่น บางคนชอบคิดและแสดงออก ในขณะที่คนอื่น ๆ ชอบที่จะเรียนรู้ผ่านการมองเห็นและสัมผัสมากกว่า ในการสนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มแรก ท่านอาจกระตุ้นความคิดของพวกเขาโดยการสนทนากับพวกเขา กลุ่มหลังอาจเรียนรู้ได้ดีกว่าผ่านการแสดงให้เห็นและกิจกรรมกลางแจ้ง
    • คำนึงถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของบุตรของท่านและช่วยให้เธอได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ ด้วยการทำเช่นนั้น บุตรของท่านจะคิดกับตนเองในทางบวก พัฒนาศักยภาพของเธอและเสริมสร้างความเคารพในตนเอง เด็ก ๆ ที่มองตนเองไร้ประโยชน์จะขาดความมั่นใจในการลองทำอะไรใหม่ ๆ แล้วนับประสาอะไรกับการจะไปสำรวจความสามารถของพวกเขาอย่างเต็มที่
  • การอนุญาตให้บุตรของท่านเผชิญความท้าทาย
    • เด็ก ๆ จำเป็นต้องประสบกับความยากลำบากด้วยตนเอง เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและจัดการกับความล้มเหลวเพื่อที่จะได้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับโลกและสร้างความมั่นใจในตนเองขึ้นมา อย่าปกป้องบุตรของท่านมากเกินไปหรือตั้งข้อจำกัดหลายอย่างเกินไปเพราะกลัวว่าเขาจะล้มเหลวหรือทำพัง
    • ให้บุตรของท่านพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง อย่าให้ความช่วยเหลือหรือตอบคำถามโดยตรง ยอมให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น เมื่อเขาเจอกับความยากลำบากในการแก้ไขปริศนา สังเกตวิธีที่เขาจัดการกับปัญหาก่อน กระตุ้นเขาเมื่อจำเป็นโดยการพูดเช่น "มาดูกันซิว่าชิ้นไหนที่มีสีเหมือนกันกับชิ้นนี้บ้าง"
    • ตั้งเป้าหมายระยะสั้นที่ทำได้จริงด้วยกันกับบุตรของท่าน เช่น เขาจะต้องเล่นแปดบาร์อย่างถูกต้องแม่นยำเมื่อฝึกซ้อมเปียโน สนับสนุนเขาให้ทำมันได้สำเร็จ
    • เมื่อบุตรของท่านทำงานได้สำเร็จ ให้ชมเชยเขาในความพยายามที่เอาชนะความยากลำบากและความท้าทายนั้นได้ ท่านยังอาจพูดคุยกับเขาเกี่ยวกับกระบวนการที่ผ่านมา ทบทวนวิธีการของเขาในการเรียนรู้และบ่งชี้ถึงสิ่งที่เขาสามารถปรับปรุงได้ด้วยเช่นกัน เมื่อเด็ก ๆ ทำงานชิ้นหนึ่งได้สำเร็จด้วยความพยายามที่ดี ความรู้สึกของความสำเร็จจะเป็นแรงจูงใจสำหรับการเรียนรู้

4. การให้การสนับสนุนและยกย่องชมเชย

  • การยกย่องชมเชย หากใช้อย่างไม่เหมาะสม จะทำให้บุตรของท่านหยิ่งผยองและทะนงตนมากเกินไป สิ่งนี้ในทางกลับกันจะส่งผลให้เธอรู้สึกไม่มีความสำคัญและเสียความมั่นใจเมื่อพบความล้มเหลวและความท้าทาย
  • ชื่นชมและยกย่องชมเชยบุตรของท่านกับความกระตือรือร้นและความพยายามของเธอในการเรียนรู้แทนการยกย่องชมเชยในเรื่องความสามารถ แทนที่จะพูดสิ่งต่าง ๆ อย่าง "ลูกฉลาดมากเลยที่ทำได้สำเร็จ" ให้อธิบายสิ่งที่บุตรของท่านทำโดยตรงแทน เช่น "แม่รู้สึกภูมิใจในตัวลูกสำหรับความพยายามที่ดีที่ทำจนสำเร็จ!"
  • ยกย่องชมเชยก่อนที่ท่านจะให้ข้อเสนอแนะแก่เธอ ข้อเสนอแนะต้องเป็นในทางที่สร้างสรรค์และสามารถทำให้สำเร็จได้ "ครั้งหน้า หนูอาจระบายสีตามขอบของรูปทรงก่อนที่จะระบายเต็มข้างในเพื่อรักษาให้สีไม่หลุดออกนอกเส้น" ยับยั้งจากการเรียกชื่อหรือวิพากวิจารณ์เช่น การเรียกเธอ "โง่" อย่าขอให้เธอทำชิ้นงานใหม่เพราะสิ่งนี้อาจส่งผลต่อความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ของเธอ

5. การระบุความสนใจและการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์

  • เด็กก่อนวัยเรียนมีพลัง อยากรู้อยากเห็นในทุกสิ่งรอบ ๆ ตัวและกระตือรือร้นอยากที่จะสำรวจ ปล่อยให้บุตรของท่านมีอิสระที่จะสำรวจในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยโดยมีข้อจำกัดที่จำเป็นให้น้อยที่สุด เช่น ปล่อยให้เธอเขียนหวัดในพื้นที่ที่ระบุไว้ได้หรือให้เธอแยกของเล่นออกเป็นส่วน ๆ เพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเธอ
  • สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของบุตรของท่าน ให้เธอมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งอนุญาตให้ใช้จินตนาการและความคิดได้ เช่น การวาดภาพ ต่อบล๊อก เล่นกับดินเหนียวและแป้งโดหรือการเล่นสมมติ ท่านยังสามารถแนะนำให้เธอใช้ของใช้ในบ้าน (เช่น นิตยสารเก่าและขวดพลาสติก) เพื่อสร้างทำเป็นของเล่นได้ด้วยเช่นกัน
  • เข้าร่วมในกิจกรรมของบุตรของท่านและทำโครงการสร้างสรรค์ร่วมกับเธอให้แล้วเสร็จ ให้เธอเป็นผู้นำโดยที่ไม่ต้องให้คำสั่งโดยตรง จำไว้ว่าให้ยกย่องชมเชยเธอสำหรับความพยายามและผลลัพธ์ที่ทำสำเร็จในกระบวนการ
  • เด็ก ๆ ในวัยนี้ชอบถามว่า "ทำไม" คำถามที่สะท้อนถึงความสนใจที่พวกเขามีต่อบางเรื่อง ฟังคำถามของบุตรของท่านอย่างอดทน ใช้คำถามชี้นำเพื่อกระตุ้นเธอให้ตอบคำถามและเพื่อถามคำถามเพิ่มเติม เช่น "หนูต้องการรู้ไหมว่าทำไมรถยนต์ถึงเคลื่อนที่ มาดูกันว่าอะไรกำลังเคลื่อนเมื่อรถเคลื่อนที่" วิธีนี้ ท่านได้ช่วยบุตรของท่านในการขยายความคิดของเธอ
  • อะไรก็ตามที่ท่านคิดว่าน่าสนใจอาจไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นสำหรับบุตรของท่านก็ได้ ให้พูดคุยกับเธอเมื่อท่านกำลังลงทะเบียนเรียนให้เธอในชั้นเรียนที่น่าสนใจ ท่านควรให้ความสนใจในตารางกิจกรรมของบุตรของท่านโดยอนุญาตให้มีเวลาพักและเวลาว่างด้วยเพราะตารางเวลาที่แน่นเกินไปอาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับเธอแต่กลับจะทำให้เธอหมดเรี่ยวแรงทั้งทางกายและใจ

6. การขยายขอบเขตการเรียนรู้ของบุตรของท่าน

  • นอกเหนือจากการสนับสนุนบุตรของท่านให้อ่านมากขึ้นและมีความคิดสร้างสรรค์แล้ว ท่านยังอาจเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ของเขานอกโรงเรียนได้อีกด้วย ด้วยการทำเช่นนี้ เขาจะสามารถพบเจอกับสิ่งใหม่ ๆ และเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้ พาเขาไปพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด สวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์เป็นประจำ การอ่านชื่อของอาหารบนเมนูในร้านอาหารกับเขาก็เป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน
  • ธรรมชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก จัดให้มีกิจกรรมกลางแจ้งที่มากพอสำหรับบุตรของท่าน เช่น การเยี่ยมชมสวนสาธารณะในชนบทและชายหาด ให้เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อนการเยี่ยมชมและให้เขาสำรวจสภาพแวดล้อมอย่างอิสระ การพูดคุยกับเขาว่าเขาพบอะไรที่น่าสนใจบ้างจะเป็นการกระตุ้นทักษะการคิดและภาษาของเขา
  • สินค้าเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วีซีดี เกมอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ได้อื่น ๆ ให้ข้อมูลที่มากมายและวิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ แม้ว่าจะเป็นไปได้ที่จะเรียนรู้โลกโดยไม่ต้องออกจากบ้าน แต่เด็ก ๆ อาจสร้างความเอาแต่ใจตัวเองได้หากพวกเขาสัมผัสกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้เร็วเกินไป ในทางกลับกันอุปกรณ์เหล่านี้จะลดโอกาสของเด็ก ๆ ในการใช้วิธีอื่น ๆ ในการสำรวจและจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคม ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ ดังนั้นจำกัดเวลาในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ให้น้อยกว่า 1 ชม.ต่อวัน เป็นเพื่อนและให้คำแนะนำแก่บุตรของท่านในกิจกรรมที่เสริมคุณค่าทางการศึกษา

7. ความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน-โรงเรียน

  • ในการเลือกหาโรงเรียนที่เหมาะสมสำหรับบุตรของท่าน ให้ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับภารกิจและโหมดการสอนของโรงเรียนต่าง ๆ การรู้ถึงความสามารถและวิถีการเรียนรู้ของบุตรของท่านก่อนการเลือกโรงเรียนก็เป็นเรื่องที่สำคัญเทียบเท่ากัน ซึ่งวิธีนี้ยังจะช่วยในเรื่องการให้คำแนะนำผ่านทางการบ้านของเธอในภายหลังอีกด้วย
  • ให้มีการสื่อสารเป็นประจำกับครูของโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เข้าใจว่าบุตรของท่านมีการปรับตัวและปฏิบัติตนอย่างไร ให้พูดคุยกับบุตรของท่านเกี่ยวกับประสบการณ์ของเธอในโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนและแนะแนวการเรียนรู้ของเธอเมื่อจำเป็น

8. เป็นแบบอย่างที่ดี

  • เพื่อให้บุตรของท่านได้พัฒนาคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นและเป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้น ให้ฝึกฝนทำในสิ่งที่ท่านสั่งสอน "ครอบครัวแห่งการเรียนรู้" มีลักษณะเด่นคือมีผู้ปกครองที่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ สาธิตให้เห็นถึงการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้ปกครอง-บุตร และสมาชิกในครอบครัวเรียนรู้จากกันและกัน จำไว้ว่าความพยายามที่ท่านจ่ายในวันนี้เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่สดใสของบุตรของท่านในวันหน้า!

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับ "การเลี้ยงดูอย่างมีความสุข!" สำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล