ทะนุถนอมหรือกดดัน

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)(ตีพิมพ์ซ้ำ 06/2020)

ทะนุถนอมหรือกดดัน

ผู้ปกครองในปัจจุบันกระตือรือร้นที่จะทำให้แน่ใจว่าบุตรของตนมีความพร้อมสำหรับความสำเร็จในการศึกษา อย่างไรก็ตาม การกดดันบุตรของพวกเรามากและเร็วเกินไปอาจทำร้ายมากกว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อพัฒนาการเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องจริง

พัฒนาการสมอง: พื้นฐาน

การรับรู้ว่าสมองของเด็กพัฒนาอย่างไรนั้นสำคัญต่อการทำให้เด็กเรียนรู้ง่ายขึ้น

  • พัฒนาการทางสมองที่ดีและรอบด้านนั้นสำคัญมากเพราะสมองควบคุมการทำงานของร่างกาย ความคิด และพฤติกรรม
  • ปัจจัยโดยกำเนิดและสภาพแวดล้อมนั้นมีความสัมพันธ์กันและทั้งสองสำคัญสำหรับพัฒนาการด้านสมอง ในขณะที่ปัจจัยโดยกำเนิด เช่น ยีนส์และสภาพแวดล้อมสำหรับทารกในครรภ์ไม่สามารถเปลี่ยนได้เมื่อคลอดทารก ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ พื้นฐานปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมรวมถึงการให้เด็กได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกในเชิงบวกและสภาพแวดล้อมมั่นคงในบ้าน
  • วงจรประสาทของสมองมีความซับซ้อนด้านโครงสร้างมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นกับการเจริญเติบโตของเด็ก สมองพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พัฒนาการสมองที่เร็วที่สุดเกิดขึ้นระหว่างช่วงแรกเกิดถึงอายุสามขวบแต่การเรียนรู้ของเด็กก็จะยังมีประสิทธิภาพหลังจากอายุสามขวบขึ้นไป

ตอนนี้ท่านทราบแล้วว่าสมองของเด็กพัฒนาจากโครงสร้างอย่างง่ายไปขั้นที่ซับซ้อน การเรียนรู้ของเด็กควรก้าวหน้าเหมือนกับบล็อกของตึก ท่านควรจัดหาการกระตุ้นที่สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของบุตรของท่าน ตัวอย่างเช่นการใช้วิธีเรียนภาษา ควรสร้างรากฐานที่แข็งเพื่อทำให้การเรียนรู้ในอนาคตของบุตรของท่านมีความง่ายขึ้น บุตรของท่านต้องเรียนรู้คำศัพท์ก่อนที่จะสามารถนำไปจัดวางในประโยคได้

แรงกดดันเพื่อเร่งพลังสมองเกินกว่าระดับพัฒนาการของเด็กนั้นไม่ส่งผลช่วย เด็กทุกคนมีเอกลักษณ์ของตนเอง เราจำเป็นต้องดูแลการเรียนรู้ของเด็กตามจุดแข็งและความสามารถของพวกเขาเพื่อช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

ชั้นเรียนความสามารถพิเศษและชั้นเรียนการฝึกเป็นอย่างไร

ชั้นเรียนความสามารถพิเศษและชั้นเรียนการฝึกค่อนข้างเป็นที่นิยมในฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพที่กล่าวถึงส่วนมากเกิดจากผลของการฝึกที่มีผลชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งมีจุดสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่อ่อนแอ และไม่ควรมองว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเรื่องพัฒนาการสมองของเด็ก เพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ให้อยู่ได้ยาวนาน ควรจะมีการฝึกประจำทุกวัน ตัวอย่างเช่นการเรียนภาษาต่างประเทศที่ไม่มีการใช้ในชีวิตประจำวันจะไม่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้

การฝึกมากเกินไปและการจัดตารางการเรียนรู้ให้เด็กมากเกินไปอาจเป็นการละเลยความต้องการพื้นฐานของเด็ก และจะทำให้เกิดผลเสียหลายอย่าง:

  • โอกาสที่น้อยกว่าในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและบุตร - เหนือไปกว่าสิ่งนั้น ความขัดแย้งของผู้ปกครองและบุตรอาจเกิดขึ้นได้หากเด็กไม่ได้อยากเข้าร่วมชั้นเรียน ความสัมพันธ์เชิงบวกของผู้ปกครองและบุตรเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ซึ่งประกอบไปด้วยพัฒนาการควบคุมอารมณ์และทักษะทางสังคม
  • การขาดความสนุกและความพอใจในการเรียนรู้ - เด็กอาจเสียแรงจูงใจในการเรียนรู้ในระยะยาว โดยหลังจากนั้นอาจส่งผลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาของพวกเขา
  • เวลาที่น้อยกว่าในการพักผ่อนและเล่น - ความเครียดอาจสะสมเนื่องจากเวลาในการผ่อนคลายไม่เพียงพอ
  • พัฒนาการที่ไม่สมดุล - เด็กอาจขาดโอกาสพัฒนาความสามารถอื่น ๆ เช่น การสำรวจ การพึ่งพาตนเอง การแก้ไขปัญหา ทักษะทางสังคม และการควบคุมอารมณ์

การทดสอบไอคิวจำเป็นหรือไม่

ผู้ปกครองจำนวนมากพิจารณาเรื่องการประเมินสติปัญญาของบุตร บางคนอาจคิดว่าไอคิว (ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา) สามารถทำให้พวกเขาได้มองเห็นความสามารถของบุตรและช่วยวางแผนการศึกษาของบุตรได้ดีขึ้น บางคนอาจกระตือรือร้นในการพิสูจน์พรสวรรค์ของบุตรผ่านการทดสอบซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่เสียเวลาในการช่วยเด็กพัฒนาความสามารถพิเศษ ก่อนท่านจะตัดสินใจให้บุตรของท่านทำการทดสอบไอคิว โปรดพิจารณาสิ่งต่อไปนี้:

  • วิธีการทดสอบไอคิวแบบมาตรฐานใช้ทดสอบทักษะการรู้คิดส่วนบุคคล เช่น ความเข้าใจ การแก้ไขปัญหา ความจำ และความเร็วในการคิด อย่างไรก็ตาม การทดสอบอาจจะยังไม่ได้ครอบคลุมถึงความสามารถอื่น ๆ อีก เช่น ความสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ และ การควบคุมอารมณ์
  • เพื่อประเมินว่าเด็กมีพรสวรรค์ เขาต้องมีไอคิวลำดับขั้นสูงมาก ๆ และ มีความสำเร็จแบบพิเศษ หรือ คุณสมบัติในประเภทอื่น ๆ
  • เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการพัฒนาสมองและประสิทธิภาพที่ผันผวนโดยทั่วไปในเด็กก่อนวัยเรียน ผลการทดสอบไอคิวกับเด็กเล็กอาจไม่สามารถสะท้อนถึงศักยภาพทางสติปัญญาอย่างน่าเชื่อถือได้ แท้จริงแล้วไม่แนะนำให้มีการทดสอบไอคิวกับเด็กก่อนวัยเรียนยกเว้นว่าพวกเขามีความยากลำบากในการเรียนรู้หรือการปรับตัวเข้ากับสังคม
  • สำนักงานการศึกษาและกรมอนามัยในฮ่องกงไม่มีการทดสอบไอคิวเป็นประจำเพื่อเพียงแค่ประเมินพรสวรรค์ของเด็ก
  • การทดสอบไอคิวควรทำโดยนักจิตวิทยาที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เช่น นักจิตวิทยาการศึกษาและนักจิตวิทยาคลินิกซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากการทดสอบไอคิวมีข้อจำกัด ผู้ปกครองที่เน้นย้ำเรื่องไอคิวมากเกินไปอาจมองข้ามความถนัดของบุตรในขอบเขตพัฒนาการด้านอื่น ๆ และยังจะนำมาซึ่งความเครียดที่ไม่จำเป็นให้กับผู้ปกครองและบุตรด้วย

ท่านคือตัวช่วยที่ดีที่สุดของบุตรของท่าน

  • จากทฤษฎีความฉลาดอย่างหลากหลายด้านที่นำเสนอโดยศาสตราจารย์ ฮาเวิร์ด การ์เดนเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เด็กสามารถมีทักษะหลายประเภทนอกเหนือจากที่ระบุในประสิทธิภาพภายในโรงเรียนและจากการทดสอบไอคิว ความสามารถเหล่านี้ประกอบด้วยความสามารถด้านดนตรี มนุษยสัมพันธ์ ร่างกาย ธรรมชาติ การรู้จักตัวเอง ฯลฯ
  • ท่านรู้จักบุตรของท่านดีที่สุดในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ใช้เวลาสังเกตและหาความสามารถและคุณสมบัติของบุตรของท่าน ท่านอาจจัดหากิจกรรมที่สอดคล้องให้เพื่อที่จะทราบถึงศักยภาพที่แท้จริงของบุตรของท่านผ่านการใช้ความสนุกและความท้าทาย
  • การเล่นและกิจกรรมประจำวันระหว่างผู้ปกครองและบุตรมอบโอกาสอันหลากหลายให้กับบุตรของท่านในการเรียนรู้และพัฒนา ตัวอย่างเช่น ขณะปลูกต้นไม้ลงกระถางกับบุตรของท่าน ท่านอาจส่งเสริมให้เขาเติมดิน (ด้านร่างกาย) นับใบไม้ (ด้านตรระกะ-คณิตศาสตร์) อธิบายกระบวนการทั้งหมด (ด้านวาจา) และวาดรูปตนไม้ (ด้านมิติสีมพันธ์และศิลป์) และการสังเกตการเจริญเติบโตของต้นไม้ตลอดช่วงเวลา (ด้านธรรมชาติ) ความอุดมสมบูรณ์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและบุตรประเภทนี้เป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าสิ่งที่ได้จากในชั้นเรียน ท่านอาจช่วยให้บุตรของท่านไม่ต้องเข้าชั้นเรียนเร็วจนเกินไป

หากท่านมีความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของบุตรของท่าน โปรดปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ที่ MCHC หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม:

แผ่นพับเรื่องพัฒนาการของเด็ก บริการอนามัยครอบครัว กรมอนามัย
http://s.fhs.gov.hk/rn7ut

คำถามที่พบบ่อย บริการประเมินเด็ก กรมอนามัย
https://www.dhcas.gov.hk/en/faq.html

การศึกษาห้องเรียนพิเศษ - คำถาม และ คำตอบ สำนักการศึกษา
https://www.edb.gov.hk/en/curriculum-development/curriculum-area/gifted/index.html

เคล็ดลับผู้ปกครอง: ทำความรู้จักบุตรที่มีพรสวรรค์ของท่านและการศึกษาห้องเรียนพิเศษในฮ่องกง สำนักการศึกษา
https://www.edb.gov.hk/en/curriculum-development/curriculum-area/gifted/resources_and_support/others/parent.html

คำถามที่พบบ่อย สถาบันการศึกษาห้องเรียนพิเศษฮ่องกง
http://ge.hkage.org.hk/en/parents/faq

ศูนย์กลางการพัฒนาเด็ก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
http://developingchild.harvard.edu/index.php/activities/council/