การป้องกันโรคปอดบวมและการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ – การดูแลตนเองทางจิตวิทยา

(ตีพิมพ์เมื่อ 02/2020)

เพื่อตอบสนองกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้จากโรคระบาดในปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากอาจรู้สึกเกินกำลัง กังวล เจ็บปวด หรือแม้แต่รู้สึกกลัว ในขณะที่ท่านกำลังอยู่ในมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องสุขภาพของท่านและของครอบครัวของท่าน ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลท่านไม่ควรเพิกเฉยต่อการดูแลความต้องการทางด้านอารมณ์ของท่านและบุตรของท่าน

การตอบสนองที่เป็นไปได้ของผู้ดูแลต่อโรคระบาด

ในการปะทะกับโรคระบาดฉับพลัน ท่านอาจจดบันทึกการตอบสนองต่อไปนี้เพิ่มเติมจากข้อปฏิบัติ (เช่น การส่งเสริมความอนามัยของบุคคลและบ้าน)

  • ความคิด

    "มีหน้ากากเหลือนิดเดียว ฉันควรทำอย่างไร" "ลูกชายของฉันไม่อยากล้างมือ เขาจะติดเชื้อหรือไม่"...

  • ความรู้สึก

    กังวล เจ็บปวด โมโห โกรธ ฯลฯ

  • การตอบสนองทางร่างกาย

    กล้ามเนื้อตึง หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ฯลฯ

การตอบสนองที่เป็นไปได้ของเด็กต่อโรคระบาด

ทารกและเด็กวัยหัดเดิน ไม่เข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นรอบตัวพวกเขา แต่ความรู้สึกและพฤติกรรมของพวกเขาอาจได้รับผลจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของผู้ดูแล

เด็กก่อนวัยเรียน ไม่เข้าใจสถานการณ์โรคระบาดทั้งหมดและอาจรู้สึกสับสนกับความเปลี่ยนแปลงจากพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว พวกเขาอาจรู้สึกวิตกกังวลว่าสมาชิกในครอบครัวของเขาอาจติดเชื้อได้ ความเปลี่ยนแปลงที่ได้รับในชีวิตประจำวันอย่างการหยุดเรียนและการลดกิจกรรมนอกบ้านอาจทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อและคิดถึงญาติ คุณครู และเพื่อนร่วมชั้นเรียน พวกเขาอาจรู้สึกโมโหและไม่ยอมทำตามเมื่อผู้ดูแลกำหนดมาตรการด้านอนามัยที่เข้มงวดให้กับพวกเขา

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพด้านจิตวิทยา

ผู้ดูแลอาจกล่าวถึงข้อเสนอแนะข้างใต้เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการของท่านและของบุตรของท่านเพื่อตอบสนองกับโรคระบาด

(I) สำหรับผู้ดูแล

  • พยายามแสดงความเข้าใจ การยอมรับ และความเคารพหากสมาชิกในครอบครัวมีความคิดเห็นและความรู้สึกที่แตกต่างในการตอบสนองกับโรคระบาด
  • ระมัดระวังอารมณ์ของท่าน หากรู้สึกกังวล เตือนตนเองว่าโรคระบาดจะผ่านพ้นไปในที่สุดและพยายามให้ความสำคัญในการปรับใช้วิธีที่เป็นไปได้และปฏิบัติได้จริงเพื่อจัดการกับสถานการณ์
  • ดูแลความต้องการพื้นฐานของท่านเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น รักษาสมดุลของโภชนาการ พักผ่อนและนอนหลับให้เพียงพอ
  • มีเวลาให้กิจกรรมยามว่างหรือกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น ฟังเพลง ออกกำลังยืดเส้นยืดสายอย่างง่าย ๆ อ่านหนังสือ หรือ ติดต่อกับเพื่อน
  • หลีกเลี่ยงการรับข้อมูลมากจนเกินไป หากเป็นไปได้ให้ตรวจสอบและประเมินข้อมูลที่แม่นยำจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
  • เข้าหาการช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวในเรื่องการทำงานบ้าน และ/หรือการดูแลเด็กเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้
  • ฝึกซ้อมการออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย เช่น

(II) สำหรับเด็ก

โดยทั่วไป ทัศนคติและความรู้สึกของผู้ดูแลต่อโรคระบาดอาจส่งผลต่อการความเข้าใจของบุตรของท่านต่อสถานการณ์ ในขณะที่ท่านกำลังนำเสนอหรือเตือนบุตรของท่านเกี่ยวกับมาตรการด้านอนามัย ให้ระวังเรื่องน้ำเสียงและหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์รุนแรง

นอกจากนี้ เมื่อเด็กเล็กเจอกับการเปลี่ยนแปลงมักมีความยากลำบากในการพูดถึงความรู้สึกและความต้องการของพวกเขา ผู้ดูแลต้องใส่ใจการแสดงออกและการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเด็ก สำรวจความต้องการและความรู้สึกที่ซ่อนไว้ของพวกเขา และโต้ตอบด้วยความเหมาะสมและทันท่วงทีเพื่อที่จะทำให้การจัดการของพวกเขาง่ายขึ้น

1. การควบคุมอารมณ์

หลักปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ
i. เสริมไหวพริบด้านความปลอดภัย
  • ทำให้แน่ใจว่าเด็กรู้สึกได้รับความรัก การดูแล และการปกป้อง
  • ปลูกฝังไหวพริบในการทำนายเหตุการณ์
ทารกและเด็กวัยหัดเดิน
  • ให้ความอบอุ่นเพิ่มเติมผ่านการสัมผัส การกอด และให้เด็กอยู่ใกล้กับผู้ดูแล
  • มีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมที่คุ้นเคย เช่น ร้องเพลง และอ่านนิทานร่วมกัน
เด็กอนุบาล
  • การพูดสร้างความมั่นใจสำคัญกว่าการให้ความอบอุ่นผ่านทางร่างกาย
  • ให้คำเตือนและคำอธิบายล่วงหน้ากับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน เช่น "เราจะอยู่บ้านพรุ่งนี้เพราะว่าโรงเรียนปิด"
ii. สนับสนุนการแสดงออกทางอารมณ์
  • ฟังอย่างใส่ใจและอดทน
  • ให้โอกาสแสดงออกทางอารมณ์
  • หลีกเลี่ยงการกดดันให้เด็กพูด
ทารกและเด็กวัยหัดเดิน
  • ตั้งชื่อให้กับอารมณ์โดยตรง และช่วยให้เด็ก (เช่น การ์ดความรู้สึก) พูดเกี่ยวกับความรู้สึก
เด็กอนุบาล
  • ทำให้เด็กมั่นใจว่าความรู้สึกของพวกเขาปกติและเป็นที่ยอมรับ เช่น "อยู่บ้านทั้งวันน่าเบื่อจัง"
  • หากเด็กดูไม่สนใจในการพูดเกี่ยวกับสถานการณ์ ให้คอยสังเกตและติดตามสัญญาณความกังวลของพวกเท่านั้น
iii. สำรวจความกังวลด้วยความเอาใจใส่และโต้ตอบอย่างเหมาะสม
  • ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับอายุของเด็กและจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้าใจ
  • บอกข้อเท็จจริงโดยไม่มีรายละเอียดที่เยอะเกินไป
  • ใจเย็นและทำให้สนุก
ทารกและเด็กวัยหัดเดิน
  • อธิบายด้วยคำง่าย ๆ เช่น "ล้างมือเพื่อรักษาความสะอาด" "สวมหน้ากากเวลาออกไปข้างนอก เพื่อปกป้องพวกเราจากเชื้อโรค"
  • นำเสนอการปฏิบัติด้านอนามัยด้วยความสนุกสนาน เช่น ร้องเพลงเมื่อล้างมือด้วยกัน
  • หันเหความสนใจหากเด็กแสดงการต่อต้าน
เด็กอนุบาล
  • มีการแลกเปลี่ยนบทสนทนา เช่น เด็กรู้สึกรำคาญหากได้รับการสั่งให้ใส่หน้ากาก ผู้ดูแลต้องตอบว่า "ลูกไม่ชอบสวมหน้ากาก เดาสิว่าทำไมพ่อ/แม่ถึงอยากให้ลูกสวม" เด็กตอบ "เพื่อป้องกันไม่ให้ป่วย" ผู้ดูแลตอบ "ถูกต้อง พ่อ/แม่ชอบมากที่ลูกจำสิ่งที่บอกได้ มีผู้คนกำลังป่วยมากขึ้น ดังนั้นเราจำเป็นต้องสวมหน้ากากเมื่อออกไปข้างนอก พวกเรามาช่วยกันสวมหน้ากากกันเถอะ"
  • เด็กพูดเกี่ยวกับความกังวลของเขากับพ่อ "พ่อจะป่วยมั้ยตอนที่พ่อไปทำงานข้างนอก" พ่อตอบว่า "ลูกกังวลที่พ่อจะป่วย พ่อจะป้องกันตนเองด้วยการล้างมือและสวมหน้ากาก แล้วทุกอย่างจะโอเค"
  • ผู้ใหญ่อาจแบ่งปันความรู้จัก แต่อย่าลืมแบ่งปันความคิดเห็นในการจัดการด้วย เช่น แม่บอกลูกว่า "แม่มีความกังวลนิดหน่อยเมื่อได้ยินว่าผู้คนกำลังป่วยเพิ่มขึ้น แต่ทุกอย่างจะโอเคหากเรามีการปฏิบัติทางอนามัยที่ดี"

2. กษากิจกรรมประจำวันไว้และจัดหากิจกรรมต่าง ๆ

  • รักษากิจกรรมประจำวันไว้ให้มากที่สุดที่เป็นไปได้
  • ให้คำปรึกษาและจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยแก่บุตรของท่าน เช่น เล่นสร้างดินน้ำมัน บล็อกตึก และอ่านหนังสือ ฯลฯ กิจกรรมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์แบบไป-กลับ เช่น การร้องเพลงประกอบท่าทาง การเล่นทำอาหาร หรือ เล่นบทบาทสมมติ ฯลฯ นี้เป็นเวลาที่เยี่ยมในการเล่นกับบุตรของท่านและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและบุตร
  • จัดหางานบ้านอย่างง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก เช่น เก็บของเล่น ทำความสะอาดโต๊ะหลังจากรับประทานอาหาร แยกประเภทเสื้อผ้าที่สะอาด ฯลฯ
  • ชื่นชมเด็กอย่างชัดเจนหากพวกเขาสามารถปฏิบัติตามในชีวิตประจำวันได้และส่งเสริมพฤติกรรมด้วยการใช้แผนการให้รางวัลอย่างง่าย

การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

หากสังเกตเห็นความกังวลที่ชัดเจนและต่อเนื่องหรือเห็นการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่ผิดปกติในเด็กหรือในผู้ดูแล ท่านอาจปรึกษาแพทย์ประจำครอบครัวหรือเข้าหาศูนย์ช่วยเหลือในชุมชน