รายการตรวจปัญหาการมองเห็น

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 06/2019)

ลักษณะการมองเห็นของทารก

นี่คือสัญญาณของการมองเห็นแบบปกติที่ท่านต้องระวังในช่วงปีแรกของทารก

จาก 1 สัปดาห์
  • ทารกของท่านหันหน้าไปมองแสงพร่าหรือไม่
  • ทารกของท่านจ้องที่ใบหน้าของท่านหรือไม่
ใน 2 เดือน
  • ทารกของท่านมองท่าน หากท่านขยับจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งเขาจะมองตามใบหน้าของท่าน และยิ้มให้ท่านหรือไม่
  • ดวงตาของทารกของท่านขยับพร้อมกันหรือไม่
ใน 6 เดือน
  • ทารกของท่านมองรอบ ๆ ด้วยความสนใจหรือไม่
  • ทารกของท่านพยายามเอื้อมจับวัตถุชิ้นเล็ก ๆ หรือไม่
  • ท่านคิดว่าทารกของท่านมีอาการตาเหล่หรือไม่ การตาเหล่ในปัจจุบันเป็นอาการผิดปกติ อย่างไรก็ตามเป็นอาการเล็กน้อยและอยู่ชั่วคราว
ใน 9 เดือน
  • ทารกของท่านแหย่และคุ้ยเขี่ยของที่มีขนาดเล็กมาก ๆ เช่น เศษขนมปังหรือ 'เม็ดลูกกวาด' ตกแต่งเค้กด้วยนิ้วหรือไม่
ใน 12 เดือน
  • ทารกของท่านชี้นิ้วเมื่อต้องการสิ่งของต่าง ๆ หรือไม่
  • ทารกของท่านจำหน้าตาของบุคคลที่เธอรู้จักจากห้องตรงข้ามก่อนที่พวกเขาจะเข้ามาคุยกับเธอได้หรือไม่

หากว่าเวลาใดก็ตามที่ท่านสงสัยว่าสายตาของทารกของท่านผิดปกติ เพราะท่านไม่สามารถตอบว่า 'ใช่' ในรายการข้างต้นได้หรือเพราะท่านสงสัยอาการตาเหล่ ให้ขอคำแนะนำจากพยาบาลที่ให้ความช่วยเหลือด้านเด็กเล็กของท่านหรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

ตีพิมพ์ซ้ำจากรายการตรวจปัญหาการมองเห็น. Mary D Sheridan ตั้งแต่แรกเกิดถึงห้าปี: ความก้าวหน้าพัฒนาการของเด็ก ฉบับแก้ไขและปรับปรุงโดย Marion Frost และ Ajay Sharma (ลอนดอน: Routledge 1997), ภาคผนวก II อนุญาตโดย International Thomson Publishing Services Ltd

สัญญาณเตือนภัยของโรคตาของทารกและเด็กเล็ก

ปัญหาดวงตาและการมองเห็นในทารกนั้นหายากแต่อาจก่อให้เกิดความบกพร่องต่อพัฒนาการการมองเห็นและดวงตาได้ เช่นเดียวกันกับสุขภาพของพวกเขา หากดวงตาของทารกมีสัญญาณดังต่อไปนี้ ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

  • แสงไฟ การเคลื่อนไหว หรือสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจไม่ทำให้ทารกสนใจ
  • ตาสองข้างไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน (ตาเหล่ ตาเขออก หรือไม่อยู่ในระดับเดียวกัน)
  • ดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างไม่สามารถจ้องหรือมองตามสิ่งของหรือบุคคลได้
  • ดวงตาสั่น
  • ลูกตาดำมีสีขาวหรือเทาอ่อน (เรียกว่า รูม่านตาสีขาว)
  • ลูกตาดำมีขนาดไม่เท่ากัน
  • ดวงตาดูต่างจากปกติ เช่น ชั้นตาห้อยหรือบวม ตาโปนหรือปูดออกมา ฯลฯ
  • ตาแดงหรือมีสารที่ถูกขับออกมาจากดวงตาทั้งสองข้างโดยไม่หายไปในสองถึงสามวัน
  • ดวงตาไวต่อแสงมากเกินไปหรือมีน้ำตาไหล
  • มีการเอียงคอบ่อย ๆ
  • ขยี้ตาหรือบีบตาเสมอ

รูม่านตาสีขาวคืออะไร

  • รูม่านตาสีขาวหมายถึง "ลูกตาดำสีขาว" ลูกตาดำมีสีขาวแทนที่จะเป็นสีดำปกติจากการสังเกตโดยตรงหรือในรูปภาพ อาการนี้เป็นอาการรุนแรงของโรคตาซึ่งประกอบไปด้วย ต้อกระจกแต่กำเนิด เนื้องอกภายในลูกตา ซึ่งมักรู้จักกันว่า โรคมะเร็งลูกตา โรคของจอประสาทตาที่พบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ฯลฯ
  • ปรึกษาแพทย์ทันทีหากลูกตาดำของทารกของท่านดูผิดปกติ
  • ท่านสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะนี้ได้ในเว็บเพจต่อไปนี้: