ความปลอดภัยในบ้าน

(วีดีโอที่อัปโหลดแล้ว 01/22)

การถอดเสียง

หัวข้อ: ความปลอดภัยในบ้าน

ผู้บรรยาย:  ความปลอดภัยในบ้าน

รูปภาพ:  เด็กผู้หญิง (อายุ 12-18 เดือน) กำลังนำของเล่นไปให้พ่อของเธอ

รูปภาพ:  เด็กชาย (อายุ 12-18 เดือน) กำลังวิ่งอยู่ในห้องนั่งเล่นขณะที่พ่อแม่กำลังมองลูก

รูปภาพ:  เด็กชาย (อายุ 18 – 24 เดือน) กำลังปีนขึ้นไปบนโซฟา

รูปภาพ:  เด็กผู้หญิง (อายุ 18 – 24 เดือน) กำลังดึงเชือกม่าน

ผู้บรรยาย:      ลูกที่คุณพลังเยอะ ชอบวิ่งกระโดดไปมา
อย่างไรก็ตามเด็กๆ ไม่รู้ถึงอันตรายใดๆ รอบตัวเขาเลย
คุณควรตื่นตัวและตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยในบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

หัวข้อ:  ดูแลปลอดภัยของลูกคุณ

ผู้บรรยาย:  ดูแลความปลอดภัยของลูกคุณ

หัวข้อย่อย:  อย่าปล่อยให้ลูกอยู่บ้านคนเดียว

รูปภาพ:  พ่อกำลังจะออกไปข้างนอก ลูกชายของเขา (อายุ 5 ขวบ) และลูกสาว (อายุ 3 ขวบ) กำลังโบกมือลา ภาวนาอย่างหนัก

รูปภาพ:  พ่อกำลังจะออกไปข้างนอก แม่ ลูกชาย (อายุ 5 ขวบ) และลูกสาว (อายุ 3 ขวบ) กำลังลาพ่อ

ผู้บรรยาย:  เพื่อความปลอดภัย อย่าปล่อยให้ลูกคุณอยู่บ้านตามลำพัง ไม่เช่นนั้นต้องมีเด็กโตดูแล
จำไว้ว่าเด็กต้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยเสมอ

หัวข้อย่อย:  ชุดปฐมพยาบาล

รูปภาพ:  ชุดปฐมพยาบาล

ผู้บรรยาย:  เก็บชุดปฐมพยาบาลไว้ที่บ้านในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเล็กๆ โดยต้องมี

หัวข้อย่อย:  แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด

รูปภาพ:  แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด

ผู้บรรยาย:  แอลกอฮอล์ทำความสะอาด: สำหรับฆ่าเชื้อที่มือทั้งสองข้างก่อนปฐมพยาบาล

หัวข้อย่อย:  ผ้าก๊อซพันแผล

รูปภาพ: ผ้าก๊อซพันแผล

หัวข้อย่อย:  ผ้าพันยืดได้

รูปภาพ:  ผ้าพันยืดได้

ผู้บรรยาย:  ผ้าก๊อซหรือผ้าพันยืดได้: ใช้พันแผลและห้ามเลือดโดยออกแรงกดไว้

หัวข้อย่อย:  ผ้าพันแผลสามเหลี่ยม

รูปภาพ:  ผ้าพันแผลสามเหลี่ยม

ผู้บรรยาย:  ผ้าพันแผลสามเหลี่ยม: ใช้พันบริเวณที่บาดเจ็บ พยุงหรือดามแขนขาที่หัก

หัวเรื่องย่อย:  กรรไกรปลายมน

รูปภาพ:  กรรไกรปลายมน

ผู้บรรยาย:  กรรไกรปลายมน: ใช้ตัดเทปกาว ผ้าพันแผล หรือเสื้อผ้า ในกรณีจำเป็น

หัวข้อย่อย:  น้ำยาฆ่าเชื้อ

รูปภาพ:  น้ำยาฆ่าเชื้อ

รูปภาพ:  น้ำเกลือ

ผู้บรรยาย:  น้ำยาฆ่าเชื้อ: สำหรับฆ่าเชื้อและทำความสะอาดบาดแผล

หัวข้อย่อย:  ชุดทำแผลปลอดเชื้อ

รูปภาพ:  ชุดทำแผลปลอดเชื้อ

รูปภาพ:  ชุดทำแผลปลอดเชื้อแบบแกะซองออก

ผู้บรรยาย:  ชุดทำแผลปลอดเชื้อ : ทำความสะอาดและปิดแผล

หัวข้อย่อย:  แผ่นก๊อซปลอดเชื้อ

รูปภาพ:  แผ่นก๊อซปลอดเชื้อ

หัวข้อย่อย:  แผ่นก๊อซปลอดเชื้อแบบไม่ทอ

รูปภาพ:  แผ่นก๊อซปลอดเชื้อแบบไม่ทอ

ผู้บรรยาย:  แผ่นก๊อซปลอดเชื้อ: เพื่อปิดแผล

หัวข้อย่อย:  พลาสเตอร์

รูปภาพ: พลาสเตอร์

ผู้บรรยาย: พลาสเตอร์: เพื่อปิดแผลขนาดเล็ก

หัวข้อย่อย: เทปกาว

หัวข้อย่อย: เทปกาว

ผู้บรรยาย: เทปกาว: สำหรับติดที่ทำแผล

หัวข้อย่อย: ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง

รูปภาพ: ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง

ผู้บรรยาย: และ ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง

หัวข้อย่อย: หน้ากากอนามัย 3 พับ

รูปภาพ: หน้ากากอนามัย 3 พับ

ผู้บรรยาย: และ หน้ากากอนามัย 3 พับ

รูปภาพ: เด็กหญิงอายุ 5 ขวบโดนของมีคมบาดนิ้ว จึงมาหาพ่อแม่ให้ทำแผลให้

รูปภาพ: แม่ทำแผลให้และมีชุดปฐมพยาบาลอยู่ข้างๆ

ผู้บรรยาย: คุณควรเรียนทักษะปฐมพยาบาลมาก่อนด้วย

เมื่อลูกของคุณได้รับบาดเจ็บ คุณอาจทำแผลให้ด้วยอุปกรณ์ปฐมพยาบาลและพาไปพบแพทย์หากจำเป็น

ถ้าอาการหนัก ให้พาลูกไปโรงพยาบาลทันที

หัวข้อ: ความปลอดภัยในห้องนั่งเล่น

ผู้บรรยาย: ความปลอดภัยของห้องนั่งเล่น

รูปภาพ: ห้องนั่งเล่น

ผู้บรรยาย: เฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน

หัวข้อย่อย: เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มีขอบคม

รูปภาพ: โต๊ะกลม

ผู้บรรยาย: ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มีขอบคมก่อนเสมอ


หัวข้อย่อย: ปิดขอบคมด้วยที่กันมุม

รูปภาพ: โต๊ะพร้อมที่กันมุม

รูปภาพ: ลิ้นชักพร้อมที่กันมุม

ผู้บรรยาย: หากเฟอร์นิเจอร์มีขอบคม ให้ใช้ที่กันมุมครอบไว้ด้วย

รูปภาพ: กระจก ห้ามเลย

รูปภาพ: ผ้าปูโต๊ะ ห้ามเลย

รูปภาพ: แผ่นรองจาน ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: คุณไม่ควรใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นกระจกเปราะบาง อย่าใช้ผ้าปูโต๊ะหรือแผ่นรองจาน ถ้าลูกของคุณดึงจะหลุดออกมาหมด

หัวข้อย่อย: ใช้โต๊ะหรือเก้าอี้พับที่มีตัวล็อคนิรภัย

รูปภาพ: โต๊ะพับ

รูปภาพ: โต๊ะพับพร้อมตัวล็อคนิรภัย (1), (2)

ผู้บรรยาย: อย่าใช้โต๊ะหรือเก้าอี้พับ ถ้าไม่มีตัวล็อคนิรภัย

หัวข้อย่อย: ไม่วางสิ่งของซ้อนกัน

รูปภาพ: วางกล่องพลาสติกซ้อนกัน กากบาทใหญ่


รูปภาพ: บันไดสั้น ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: อย่าวางบันไดไว้ หรือซ้อนสิ่งของ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กปีนและหล่นลงมา

หัวข้อย่อย: วางโซฟาชิดผนัง

รูปภาพ: วางโซฟาชิดผนัง

รูปภาพ: เด็กชาย (อายุ 18 – 24 เดือน) ปีนขึ้นไปบนโซฟา ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: ควรวางโซฟาชิดผนัง ไม่เช่นนั้นลูกคุณอาจปีนขึ้นไปบนหลังโซฟาแล้วพลัดหล่นลงมาได้

หัวข้อย่อย: ติดราวกั้นระเบียง

รูปภาพ: ติดราวกั้นระเบียง

รูปภาพ: ประตูระเบียงเปิดออก ห้ามเลย

รูปภาพ: ประตูระเบียงล็อคไว้

ผู้บรรยาย: เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ระเบียงควรมีราวจับและประตูระเบียงควรล็อคไว้ตลอด

หัวข้อย่อย: ติดตั้งและล็อคที่กั้นบริเวณหน้าต่าง

รูปภาพ: ที่กั้นหน้าต่างพร้อมตลับเมตร

รูปภาพ: ที่กั้นหน้าต่าง

รูปภาพ: ที่กันหน้าต่างเปิดออกได้

รูปภาพ: ที่กันหน้าต่างถูกล็อค (1)

รูปภาพ: ที่กั้นหน้าต่างถูกล็อค (2)

ผู้บรรยาย: ติดตั้งที่กั้นหน้าต่างที่ได้มาตรฐานทั้งหมด จำไว้ว่าให้ล็อคที่กั้นหน้าต่างตลอดเวลา

หัวข้อย่อย: มัดผ้าม่าน

รูปภาพ: ภาพระยะใกล้ของผ้าม่านที่ถูกมัดไว้

รูปภาพ: สายผ้าม่าน

รูปภาพ: เด็กผู้หญิง (อายุ 18 – 24 เดือน) กำลังดึงสายผ้าม่าน ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: เก็บสายผ้าม่านให้พ้นมือเด็กและอย่าลืมมัดให้แน่น

ลูกของคุณอาจถูกรัดคอและหายใจไม่ออก หากคอของเธอติดอยู่กับสายรัด

หัวข้อย่อย: กันชนประตู

รูปภาพ: กันชนประตูจะยึดประตูให้แง้มไว้ครึ่งหนึ่ง

หัวข้อย่อย: แม่เหล็ก

รูปภาพ: แม่เหล็กยึดตำแหน่งของประตูที่เปิดอยู่

ผู้บรรยาย: ใช้กันชนประตูหรือแม่เหล็กเพื่อไม่ให้ประตูเปิดแล้วแกว่ง

หัวข้อย่อย: กันชนประตูรูปตัวยู

รูปภาพ: กันชนประตูรูปตัวยูช่วยไม่ให้ประตูปิด

ผู้บรรยาย: กันชนประตูรูปตัวยูช่วยปกป้องนิ้วของลูกคุณไม่ให้ถูกประตูหนีบ

หัวข้อย่อย: ฝาครอบป้องกันปลั๊กไฟ

รูปภาพ: ปลั๊กไฟถูกครอบด้วยฝาครอบป้องกัน

ผู้บรรยาย: ใช้ฝาครอบป้องกันสำหรับปลั๊กไฟ

หัวข้อย่อย: เก็บปลั๊กพ่วงให้เป็นที่

รูปภาพ: ปลั๊กพ่วงอยู่บนตู้

ผู้บรรยาย: เก็บปลั๊กพ่วงให้ห่างจากมือเด็ก

หัวข้อย่อย: ใส่ถุงครอบพัดลม

รูปภาพ: ถุงครอบพัดลม

รูปภาพ: ภาพระยะใกล้ของถุงครอบ

ผู้บรรยาย: พัดลมต้องมีถุงครอบปิดไว้

หัวข้อย่อย: เก็บพัดลมให้ห่างจากมือเด็ก

รูปภาพ: พัดลมอยู่บนตู้

ผู้บรรยาย: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณห่างจากพัดลม

หัวข้อย่อย: เก็บไม้ขีดไฟและไฟแช็คอย่างถูกต้อง

รูปภาพ: กล่องไม้ขีดไฟและไฟแช็ค

รูปภาพ: เก็บกล่องไม้ขีดไฟและไฟแช็คไว้ในลิ้นชัก

ผู้บรรยาย: เก็บไม้ขีดไฟและไฟแช็คในลิ้นชักให้ดีและพ้นมือเด็ก

หัวข้อย่อย: คาดเข็มขัดนิรภัย

รูปภาพ: คาดเข็มขัดนิรภัยทารกที่นั่งบนรถเข็นด้วย

รูปภาพ: ทารกอยู่บนเก้าอี้สูง คาดเข็มขัดนิรภัยและล็อคอย่างแน่นหนา

รูปภาพ: มีคนคาดเข็มขัดนิรภัย

ผู้บรรยาย: คาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อลูกของคุณนั่งบนเก้าอี้สูงหรือรถเข็นเด็กและยึดเบาะให้แน่น

หัวข้อย่อย: วิธีใช้เตารีดให้ปลอดภัย

รูปภาพ: แม่กำลังรีดผ้า จึงห้ามลูกชาย (อายุ 5 ขวบ) เข้าใกล้

ผู้บรรยาย: ไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้ๆ ขณะรีดผ้า เพราะหากลูกของคุณสัมผัสโดน อาจเป็นอันตราย

รูปภาพ: เตารีดวางอยู่บนที่รองรีด ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: เมื่อคุณใช้เตารีดเสร็จแล้ว อย่าปล่อยไว้ ให้เก็บให้ดี

หัวข้อย่อย: จัดบ้านให้สะอาดเป็นระเบียบ

รูปภาพ: แม่กำลังทำความสะอาดบ้าน

ผู้บรรยาย:  จัดให้บ้านของคุณสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย

อย่าวางสิ่งของเกะกะ ไม่เช่นนั้นลูกของคุณอาจสะดุดล้มได้

หัวข้อ: ความปลอดภัยในห้องครัว

ผู้บรรยาย: ความปลอดภัยในห้องครัว


ภาพถ่าย: ห้องครัวเลอะเทอะ ห้ามเลย

รูปภาพ: ห้องครัวที่เป็นระเบียบดี

ผู้บรรยาย: ห้องครัวก็เป็นสถานที่ที่มีอันตรายหลายจุดเช่นกัน

หัวข้อย่อย: ติดตั้งประตู

รูปภาพ: ที่กั้นบริเวณประตูห้องครัว

รูปภาพ: เด็กชาย (อายุ 18 – 24 เดือน) อยู่ที่ประตูห้องครัว

ผู้บรรยาย: ติดตั้งที่กันบริเวณประตูห้องครัวเพื่อไม่ให้ลูกของคุณเข้าครัว

รูปภาพ: ในห้องครัว แม่กำลังอุ้มลูกของเธอ  ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: อย่าอุ้มลูกเข้าห้องครัว เพราะเด็กอาจเอื้อมมือไปหยิบของได้

หัวข้อย่อย: หันด้ามจับเครื่องครัวเข้าด้านใน

รูปภาพ: ด้ามจับเครื่องครัวบนเตาชี้ออกไปด้านนอก ห้ามเลย

รูปภาพ: ด้ามจับเครื่องครัวบนเตาชี้เข้าด้านใน

ผู้บรรยาย: ด้ามจับเครื่องครัวบนเตาควรชี้เข้าด้านใน

เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกของคุณดึงและโดนน้ำร้อนลวกโดยไม่ได้ตั้งใจได้

หัวข้อย่อย: คลุมเตาให้มิดชิด

รูปภาพ: เตาถูกคลุม

ผู้บรรยาย: หากเตาของคุณมีฝาปิด ให้ครอบไว้เสมอเมื่อเลิกใช้เตา

หัวเรื่องย่อย: กำจัดสิ่งของอันตราย

รูปภาพ: มีดและกรรไกรอยู่บนชั้นวางซึ่งวางอยู่ที่มุมระยะไกลบนเคาน์เตอร์ครัว

รูปภาพ: กาต้มน้ำไฟฟ้าวางชิดผนังบนเคาน์เตอร์

รูปภาพ: ชุดปฐมพยาบาลเก็บไว้ที่สูง

รูปภาพ: ใส่ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไว้ในตู้

ผู้บรรยาย: วางสิ่งของอันตรายทั้งหมด รวมทั้งของมีคม ยารักษาโรค กาต้มน้ำไฟฟ้า กระติกน้ำร้อน และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดให้พ้นมือเด็ก

รูปภาพ: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเก็บไว้ในขวดน้ำอัดลม ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: อย่าใช้ขวดน้ำดื่มเพื่อเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่นๆ

หากเด็กเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องดื่ม อันตรายแน่นอน

หัวข้อ: ความปลอดภัยในห้องน้ำ

ผู้บรรยาย: ความปลอดภัยในห้องน้ำ

รูปภาพ: ห้องน้ำเป็นระเบียบ

รูปภาพ: ห้องน้ำไม่เรียบร้อย

ผู้บรรยาย: ห้องน้ำต้องมีมาตรการความปลอดภัยด้วย เพราะมีอันตรายอยู่หลายจุดด้วยกัน

หัวข้อย่อย: ปิดประตูห้องน้ำ

รูปภาพ: ประตูห้องน้ำปิด

ผู้บรรยาย: ปิดประตูห้องน้ำไว้เสมอเพื่อไม่ให้เด็กแอบวิ่งเข้าไปได้

หัวข้อย่อย: ปิดฝาชักโครก

รูปภาพ: ฝาชักโครกเปิด

ผู้บรรยาย: นอกจากสุขลักษณะที่ดีแล้ว การปิดฝาชักโครกยังช่วยป้องกันเด็กยื่นหัวลงไปในโถส้วมอีกด้วย

หัวข้อย่อย: รักษาห้องน้ำให้สะอาดและแห้ง

รูปภาพ น้ำบนพื้นห้องน้ำ ห้ามเลย

รูปภาพ ห้องน้ำแห้ง

ผู้บรรยาย: การเช็ดห้องน้ำให้แห้งจะช่วยให้เด็กไม่ลื่นหกล้มได้

หัวข้อย่อย: ติดแผ่นกันลื่นลงในอ่างอาบน้ำ

รูปภาพ: แผ่นกันลื่นในอ่างอาบน้ำ

ผู้บรรยาย: หากคุณใช้อ่างอาบน้ำ ให้ติดแผ่นกันลื่นด้านในอ่างด้วย

หัวข้อย่อย: ทิ้งภาชนะที่มีน้ำ

รูปภาพ: ถังวางอยู่บนพื้นห้องน้ำ ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: อย่าทิ้งภาชนะที่มีน้ำไว้ทั่ว เพราะเด็กอาจจมน้ำหากตกลงไปในนั้น

หัวข้อย่อย: ใช้อ่างทารกพลาสติก

รูปภาพ: ทารกกำลังอาบน้ำในอ่างทารกพลาสติก

ผู้บรรยาย: ใช้อ่างพลาสติกเพื่ออาบน้ำให้ลูก

รูปภาพ: แม่กำลังอาบน้ำให้ลูกของเธอ

ผู้บรรยาย: อย่าปล่อยให้ลูกน้อยของคุณอาบน้ำในอ่างเพียงลำพัง แม้ว่าจะแค่แป๊ปเดียว

หัวข้อย่อย: เตรียมของให้พร้อม

รูปภาพ: แม่เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำที่จำเป็นไว้ให้ครบ

ผู้บรรยาย: ดังนั้นเตรียมสิ่งของให้พร้อมสำหรับการอาบน้ำไว้ล่วงหน้า

หัวข้อย่อย: เติมน้ำเย็นก่อนน้ำร้อนเสมอ

ภาพ : เทน้ำเย็นลงในอ่าง

ผู้บรรยาย: เมื่อเตรียมน้ำสำหรับอาบลูกของคุณ ให้ใส่น้ำเย็นก่อนน้ำร้อนเสมอ

หัวข้อย่อย: ทดสอบอุณหภูมิของน้ำโดยเอาข้อศอกแตะ

รูปภาพ: แม่กำลังทดสอบอุณหภูมิของน้ำด้วยข้อศอก

ผู้บรรยาย: จากนั้นทดสอบอุณหภูมิของน้ำโดยเอาข้อศอกลงไปแตะก่อนอาบน้ำให้ลูก

หัวข้อ: ความปลอดภัยในห้องนอน

ผู้บรรยาย: ความปลอดภัยในห้องนอน

รูปภาพ: ห้องนอน (1)

รูปภาพ: ห้องนอน (2)

ผู้บรรยาย: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมในการนอนของลูกปลอดภัยและไม่มีความเสี่ยงแล้ว

หัวข้อย่อย: วางเปลใกล้เตียงของคุณ

รูปภาพ: เปลเด็กอยู่ข้างเตียงพ่อแม่

ผู้บรรยาย: ถ้าเป็นไปได้ ให้ลูกน้อยของคุณนอนในเปลแล้ววางเปลไว้ข้างเตียงของคุณ

หัวข้อย่อย: ขนาดที่นอนที่เหมาะสม

รูปภาพ: ขนาดของที่นอนพอดีกับขนาดของเปลเด็ก

ผู้บรรยาย:  ที่นอนควรพอดีกับขนาดของเปลเด็ก
หากมีช่องว่าง ศีรษะของทารกอาจติดอยู่และอาจทำให้หายใจไม่ออก
ไม่ควรมีวัตถุที่อ่อนนุ่มหรือผ้าปูที่นอนหลวมๆ
วางอยู่บนที่นอน ทารกสามารถนอนหลับได้สบายโดยไม่มีหมอน

หัวข้อย่อย: ปิดที่กั้นเปล

รูปภาพ: ทารกกำลังนอนหลับอยู่ในเปลโดยมีที่กั้นปิดอยู่

ผู้บรรยาย: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่กั้นเปลปิดอยู่เพื่อไม่ให้ลูกคุณหล่นลงพื้นขณะนอนเปล

หัวเรื่องย่อย: ระยะห่างระหว่างที่กั้นไม่ควรเกิน 6 เซนติเมตร

รูปภาพ: แสดงระยะห่างระหว่างที่กั้นน้อยกว่า 6 ซม.

ผู้บรรยาย:  ระยะห่างระหว่างที่กั้นไม่ควรเกิน 6 เซนติเมตร หรือ 2.5 นิ้ว
ทารกอาจยื่นศีรษะออกมาและติดได้ ถ้าที่กั้นกางออกกว้างไป

หัวเรื่องย่อย:  ความสูงของที่กั้นควรสูงกว่า 3/4 ของความสูงของเด็ก

รูปภาพ: เด็กวัยหัดเดินยืนอยู่ในเปล

รูปภาพ: ความสูงของที่กั้นไม่น้อยกว่า 3/4 ของความสูงของทารก

ผู้บรรยาย: ความสูงของที่กั้นเปลควรสูงกว่า 3/4 ของความสูงของทารก

รูปภาพ: ทารกกำลังนั่งอยู่บนโซฟาคนเดียว ห้ามเลย

รูปถ่าย: ทารกอยู่คนเดียวบนเตียงโดยไม่มีคนเฝ้า ห้ามเลย

ผู้บรรยาย: อย่าปล่อยให้ลูกของคุณอยู่บนโซฟาหรือบนเตียงตามลำพังโดยไม่มีคนเฝ้า แม้ว่าจะแค่ชั่วครู่

รูปถ่าย: สายผ้าม่านอยู่ใกล้กับเปลเด็ก กากบาทใหญ่

ผู้บรรยาย: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายผ้าม่านอยู่ห่างจากมือเด็ก
หากคอลูกของคุณเข้าไปติด อาจรัดคอและหายใจไม่ออกได้

ภาพถ่าย: เตียงสองชั้น

ผู้บรรยาย: ควรระวังหากคุณมีเตียงสองชั้นที่บ้าน

หัวข้อย่อย: ติดตั้งบันไดที่ปลอดภัย

รูปถ่าย: บันไดที่ปลอดภัยกับเตียงสองชั้น

ผู้บรรยาย: บันไดที่ปลอดภัยจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้

หัวข้อย่อย: ใช้เสื่อโฟม

รูปภาพ: วางเสื่อโฟมไว้ใกล้เตียง

รูปภาพ: เสื่อโฟม

ผู้บรรยาย: คุณยังเพิ่มการป้องกันได้ด้วยนำเสื่อโฟมมาวางบนพื้น

รูปภาพ:เตียงสองชั้นพร้อมราวกั้นที่ปลอดภัย

รูปถ่าย: เตียงสองชั้นติดกับผนัง

ผู้บรรยาย: เตียงชั้นบนควรติดตั้งราวกันตกที่มีความสูงเหมาะสม

หัวข้อย่อย: วางเตียงสองชั้นชิดผนัง

ผู้บรรยาย:  อย่าเว้นช่องว่างระหว่างเตียงกับผนังเพราะเด็กอาจติดตรงช่องว่าง

รูปถ่าย: แม่กำลังคุยกับลูกชายของเธอ (อายุ 2 ขวบ) ที่ประตูห้องครัวโดยมีที่กั้นระหว่างพวกเขา

ผู้บรรยาย: ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเอาใจใส่ลูกคุณอย่างใกล้ชิดและสอนเรื่องความปลอดภัยให้ด้วยตามความเหมาะสม

รูปภาพ: ครอบครัวกำลังอ่านหนังสือนิทานด้วยกัน

ผู้บรรยาย: ดังนั้นโปรดระวังตัวอยู่เสมอ การบาดเจ็บส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่อมีมาตรการป้องกัน

ตอนจบ: โลโก้กรมอนามัย

กรมอนามัยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของวิดีโอดิจิทัลนี้

วิดีโอดิจิทัลนี้จัดทำขึ้นเพื่อการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์เท่านั้น

ไม่ควรให้เช่า ขาย หรือนำไปใช้เพื่อผลกำไร

ผลิตในปี 2015