การป้องกันโรคติดต่อ (โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส และโรคฟิฟธ์) ระหว่างการตั้งครรภ์

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 07/2019)

โรคหัดเยอรมัน อีสุกอีใสและโรคฟิฟธ์เป็นโรคซึ่งเกิดจากไวรัส พวกมันจะแพร่เชื้อหลัก ๆ ผ่านทางละอองน้ำหรือการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของระบบทางเดินหายใจที่ติดเชื้อ พวกมันยังสามารถแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ระหว่างการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

สิ่งที่ท่านจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับโรคหัดเยอรมัน อีสุกอีใสและโรคฟิฟธ์

โรค ระยะเวลาฟักตัว อาการ ระยะเวลาการติดโรค ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
รูเบลลา (หัดเยอรมัน) 12-23 วัน มีผื่นกระจาย มีไข้ ปวดหัว ไม่สบายตัว ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการทางเดินหายใจส่วนบนและเยื่อตาอักเสบ ผื่นมักจะคงอยู่ประมาณ 3 วัน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีผื่นเลย จาก 1 สัปดาห์
ก่อนถึง 1 สัปดาห์หลังมีผื่น
ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ การติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดอาการของโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดได้ เช่น หูหนวก ต้อกระจก ความผิดปกติของหัวใจและความบกพร่องทางสติปัญญา ฯลฯ
อีสุกอีใส 10-21 วัน มีไข้และผื่นคันที่ผิวหนัง ผื่นขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ตลอดระยะเวลา 5 วันและต่อมาจะกลายเป็นถุงน้ำเล็ก ๆ ซึ่งจะคงอยู่ 3-4 วัน จากนั้นจะแห้งและตกสะเก็ด 1-2 วันก่อนผื่นปรากฎและจนกว่าตุ่มน้ำทั้งหมดจะแห้ง การติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงเริ่มต้นอาจเกี่ยวข้องกับความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ หากหญิงมีครรภ์มีอาการภายใน 5 วันก่อนหรือ 2 วันหลังการคลอด ทารกของเธอมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีอาการป่วยรุนแรงซึ่งสามารถทำให้เสียชีวิตได้
โรค ฟิฟธ์ 4-20 วัน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเด็ก โดยมีอาการไข้ต่ำและอ่อนเพลีย ผื่นบนใบหน้าทั่วไปดูเหมือน "แก้มที่ถูกตบ" โดยจะเกิดขึ้นในเวลาไม่กี่วัน ผื่นโดยปกติจะหายไปใน 7-10 วัน อาการจะเบากว่าในผู้ใหญ่และพวกเขาอาจมีเพียงอาการปวดข้อและบวมเล็กน้อยเท่านั้น พาร์โวไวรัส บี 19 แพร่เชื้อหลัก ๆ ผ่านทางการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของระบบทางเดินหายใจที่ติดเชื้อ สามารถแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งทำให้เกิดการแท้งหรือการเสียชีวิตของทารกในครรภ์

จะป้องกันโรคหัดเยอรมัน อีสุกอีใสและโรคฟิฟธ์ได้อย่างไร

ผู้หญิงมีภูมิต้านทานจากการติดเชื้อเหล่านี้หากพวกเขาได้รับภูมิต้านทานเหล่านี้มาในช่วงวัยเด็กหรือได้รับวัคซีนที่เกี่ยวข้อง (เช่น หัดเยอรมันและอีสุกอีใส)

หญิงมีครรภ์ที่ไม่มีภูมิต้านทานควรเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเหล่านี้และอยู่ให้ห่างจากฝูงชนและสถานที่สาธารณะที่มีอากาศถ่ายเทน้อยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อให้น้อยที่สุด

ผู้หญิงที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมันหรืออีสุกอีใสควรพิจารณารับวัคซีนหลังการคลอด

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าฉันเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคหัดเยอรมัน อีสุกอีใสหรือโรคฟิฟธ์ระหว่างการตั้งครรภ์

หากท่านมีภาวะดังต่อไปนี้:
  • มีไข้หรือมีผื่น
  • ประวัติในการสัมผัสกับคนที่เป็นโรคหัดเยอรมัน อีสุกอีใส โรคฟิฟธ์หรือโรคติดต่ออื่น ๆ ในเวลา 4 สัปดาห์ล่าสุด
  • สงสัยว่าท่านกำลังทุกข์ทรมานจากโรคเหล่านี้
  1. ท่านควรเข้ารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปหรือคลินิกเอกชนเพื่อการจัดการโรค
  2. อย่าเข้าคลินิกสูติกรรมหรือศูนย์แม่และเด็ก (MCHC) เพื่อสอบถามหรือรับการตรวจฝากครรภ์จนกว่าท่านจะได้รับการพิจารณาแล้วว่าไม่ได้ติดเชื้อ วิธีนี้จะเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปยังหญิงมีครรภ์คนอื่น ๆ
  3. กรุณาติดต่อคลินิกสูติกรรมหรือ MCHC ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้เพื่อทำการจัดเตรียมพิเศษสำหรับการตรวจฝากครรภ์ของท่าน