สุขภาพช่องปากของหญิงมีครรภ์

(ที่มาของข้อมูลมาจากแผนกการศึกษาด้านสุขภาพช่องปาก กรมอนามัย)(L010-08)

  1. ควรไปพบทันตแพทย์เมื่อใด
    1. ก่อนการวางแผนการตั้งครรภ์

      เมื่อมีการวางแผนการตั้งครรภ์ ท่านควรพบทันตแพทย์สำหรับการตรวจช่องปาก ทันตแพทย์จะรักษาปัญหาช่องปากของท่านทั้งหมดและแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมแก่หญิงที่จะตั้งครรภ์เพื่อให้ท่านมีความสบายใจระหว่างการตั้งครรภ์

    2. การตั้งครรภ์เดือนที่ 4-6

      หญิงมีครรภ์ควรตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 4-6 เดือน ในช่วงเวลานี้ ทารกในครรภ์มักจะคงตัวและยังคงมีขนาดเล็ก ในทางกลับกัน การอาเจียนของมารดานั้นมีความรุนแรงน้อยลง อย่างไรก็ตาม หญิงมีครรภ์ต้องแจ้งทันตแพทย์ว่าตั้งครรภ์อยู่เพื่อให้ทันตแพทย์จัดการการรักษาฟันที่เหมาะสมให้

  2. การเอ็กซ์เรย์นั้นส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่

    การเอ็กซ์เรย์ช่วยวินิจฉัยโรคทางสุขภาพช่องปากเมื่อจำเป็น หญิงตั้งครรภ์สามารถมั่นใจกับการตรวจโดยใช้การเอ็กซ์เรย์ได้เพราะว่าปริมาณรังสีเอ็กซ์ในงานทันตกรรมนั้นต่ำมากและทันตแพทย์จะระมัดระวังมากที่สุดเพื่อรับรองถึงความปลอดภัยของทารกในครรภ์

  3. หญิงมีครรภ์สามารถรับการรักษาฟันที่ซับซ้อนได้หรือไม่

    ระหว่างการตั้งครรภ์ หญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเข้ารับการรักษาฟันที่ซับซ้อน เช่น ถอนฟันคุด การรักษารากฟัน ฯลฯ ควรเข้ารับการรักษาเหล่านี้ก่อนหรือหลังการตั้งครรภ์

  4. ภาวะสุขภาพฟันของหญิงมีครรภ์เปลี่ยนไปอย่างไรและควรดูแลอย่างไร
    1. การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน

      การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของเหงือกที่รุนแรงกว่าปกติต่อสารทอกซินที่หลั่งโดยแบคทีเรียก่อโรคฟันผุ เหงือกจะกลายเป็นสีแดง บวมและเลือดออกง่าย ภาวะนี้เรียกว่า "ปัญหาเหงือกอักเสบจากภาวะตั้งครรภ์" เพื่อป้องกันปัญหานี้ หญิงมีครรภ์ควรกำจัดแบคทีเรียก่อโรคฟันผุอย่างเพียงพอโดยการแปรงฟันเพื่อรักษาไว้ซึ่งสุขภาพช่องปากที่ดี

    2. ความต้องการของหวานและอาหารรสเปรี้ยว

      หญิงมีครรภ์อาจต้องการของหวานหรืออาหารรสเปรี้ยวในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม แบคทีเรียบนผิวฟันจะใช้น้ำตาลในการผลิตกรดและก่อให้เกิดฟันผุ ยิ่งไปกว่านั้น แร่ธาตุในฟันอาจถูกล้างออกโดยอาหารที่มีกรด ซึ่งทำให้ความหนาของสารเคลือบฟันลดลง

      ในการปกป้องฟัน หญิงมีครรภ์ควรใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์สำหรับการแปรงฟัน เพราะว่าฟลูออไรด์นั้นสามารถ:

      • ช่วยซ่อมแซมฟันที่เริ่มผุ
      • ทำให้สารเคลือบฟันแข็งแรงขึ้น ทำให้ทนต่อกรดมากขึ้น
      • ยับยั้งการทำงานของแบคทีเรียบนผิวฟันจึงช่วยลดการสร้างกรดบนผิวฟัน

      หากหญิงตั้งครรภ์ต้องการรับประทานอาหาร เธอควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องฟันของตน ซึ่งอาจรวมถึงการใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของกรดโดยแบคทีเรียก่อโรคฟันผุ

  5. เตตราไซคลีนจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่

    ตั้งแต่ 4-6 เดือนของการตั้งครรภ์ ฟันน้ำนมของทารกในครรภ์จะเริ่มก่อร่างขึ้น ดังนั้นการรับสารเตตราไซคลีน ยาปฏิชีวนะ โดยแม่ตั้งครรภ์อาจทำให้มีการทับถมของสารเตตราไซคลีนในฟันน้ำนมได้ ซึ่งทำให้ฟันของทารกเป็นสีเหลือง-น้ำตาลหรือฟ้า-เทา อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนสีนั้นขึ้นอยู่กับประเภท ระยะเวลา และปริมาณการรับสารเตตราไซคลีน ดังนั้นหญิงมีครรภ์ต้องแจ้งทันตแพทย์ว่าตนเองตั้งครรภ์เพื่อให้ทันตแพทย์จ่ายยาตามที่เหมาะสม