ข้อมูลสำหรับผู้เข้ารับบริการก่อนคลอดรายใหม่

(Content revised 05/2015)

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะพบกับการเปลี่ยนแปลงทางร้างกายและจิตใจหลายอย่าง การสนับสนุนจากครอบครัวนั้นสำคัญมาก นอกเหนือจากการให้บริการตรวจครรภ์ก่อนคลอดแล้ว ศูนย์สุขภาพแม่และเด็กยังได้จัดเตรียมชุดการสัมนาเรื่องสุขภาพและการฝึกอบรมต่างๆ สำหรับผู้ที่จะเป็นพ่อแม่เด็ก

การตรวจก่อนคลอด

  1. ประวัติทางการแพทย์และการคลอดบุตร
    • ประวัติสุขภาพในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ครั้งก่อน, โรคที่สมาชิกครอบครัวเคยเป็นและสภาวะของการตั้งครรภ์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่ของเราจัดเตรียมแผนการฝากครรภ์ของแต่ละคนได้
    • วันแรกสุดของประจำเดือนรอบท้ายสุดที่มีสามารถใช้เป็นการกะวันที่จะคลอดบุตรได้
  2. การวัดน้ำหนักตัวและและความดันเลือด
    • ค่าเหล่านี้คือดัชนีชี้วัดสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์
    • ประเภทของเสื้อผ้าที่ใส่จะส่งผลต่อความแม่นยำในการวัดน้ำหนักตัว ขอแนะนำให้สตรีมีครรภ์สวมเสื้อผ้าที่มีน้ำหนักใกล้เคียงในการตรวจครั้งต่อๆ ไป
    • ถ้าสวมเสือผ้าหนาไปหรือแขนเสื้อคับไปจะทำให้วัดความดันเลือดอย่างแม่นยำได้ยาก
  3. การตรวจปัสสาวะ
    • ระหว่างการตรวจตามกำหนดการทุกครั้ง จะมีการตรวจปัสสาวะว่ามีน้ำตาลและโปรตีนในหลอดเลือดหรือไม่
    • หากพบน้ำตาลในปัสสาววะของสตรีมีครรภ์จะหมายความว่าอย่างไร
      • เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ทำให้การพบน้ำตาลในปัสสาวะเป็นเรื่องปกติระหว่างการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องทำการตรวจเลือดเพื่อยืนยันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
      • โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี, มีน้ำหนักเกิน, ครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวาน, มีประวัติการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือการคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กก. จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
      • หากสตรีมีครรภ์เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม แล้วทั้งเธอและทารกในครรภ์
    • หากพบโปรตีนในปัสสาววะของสตรีมีครรภ์จะหมายความว่าอย่างไร
      • มีหลายสาเหตุสำหรับการมีโปรตีนในปัสสาวะ สาเหตุทั่วไปในช่วงการตั้งครรภ์คือการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ
      • อาจจะเกิดจากสภาวะก่อนการชักเพราะตั้งครรภ์ซึ่งมักจะเชื่อมโยงกับความดันเลือดที่สูงขึ้นและมักจะเกิดในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดอย่างร้ายแรงโดยไม่มีอาการเตือนและการจัดการที่ถูกต้อง
      • สาเหตุทั่วไปอีกข้อหนึ่งคือการปนเปื้อนของปัสสาวะจากสารหลั่งจากช่องคลอดเนื่องจากเทคนิคการเก็บตัวอย่างปัสสาวะที่ไม่เหมาะสม
  4. สิ่งสำคัญที่ควรทราบเวลาเก็บตัวอย่างปัสสาวะ

    1. เก็บตัวอย่างปัสสาวะก่อนรับประทานอาหารเช้า (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
    2. เตรียมขวดภาชนะปากกว้างที่สะอาดสำหรับเก็บตัวอย่าง
    3. ถ่ายปัสสาวะครั้งแรกทิ้งไปเพราะปัสสาวะครั้งแรกไม่เหมาะกัับการตรวจ
    4. ล้างมือให้ทั่วด้วยสบู่เหลวและน้ำสะอาดเมื่อคุณเตรียมที่จะปัสสาวะครั้งที่สอง
    5. ใช้สำลีแผ่นหรือกระดาษชำระที่เปียกเช็ดทำความสะอาดปากช่องคลอดและเช็ดสารคัดหลั่งต่างๆที่ออกมาจากช่องคลอดให้หมด
    6. จัดท่าทางให้อยู่เหนือชักโครกแล้วเริ่มถ่ายปัสสาวะ
    7. อย่าเก็บปัสสาวะช่วงแรกและช่วงสุดท้าย
    8. ระหว่างที่ถ่ายปัสสาวะไปได้ครึ่งทาง ให้เก็บตัวอย่างปัสสาวะด้วยภาชนะปากกว้างที่เตรียมไว้
    9. หมุนฝาปิดภาชนะให้แน่นแล้วล้างมือให้สะอาด
    10. คุณสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติหลังจากนี้
  5. การบวมน้ำ
  6. นางพยาบาลผดุงครรภ์จะตรวจสอบว่าสตรีมีครรภ์มีอาการบวมน้ำหรือไม่ในการตรวจทุกครั้ง หากมีอาการความดันเลือดสูงและมีโปรตีนในปัสสาวะ หรือมีอาการบวมน้ำแย่ลงในช่วงสั้นๆ (ไม่กี่วัน) มักจะคาดถึงสภาวะก่อนการชักเพราะตั้งครรภ์ จำเป็นต้องมีการแนะนำไปให้ผู้ชำนาญกลางอย่างรวจเร็ว

  7. การทดสอบร่างกาย
  8. แพทย์จะตรวจสอบว่าหัวใจ, ปอด และอวัยวะอื่นๆ ของสัตรีมีครรภ์นั้นมีสุขภาพดี จะมีการตรวจช่องท้องเพื่อเฝ้าสังเกตการเจริญเติบโตและท่าของทารกในครรภ์ จะสามารถตรวจจับการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ได้จากเครื่องมือ

กิจวัตรประจำวัน

  • สตรีมีครรภ์จะรู้สึกเหนื่อยบ่อย จำเป็นต้องพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อหลีกเลี่ยงการไม่เจริญอาหารซึ่งจะส่งผลกับการเติบโตของทารกในครรภ์ได้
  • การเข้าร่วมการอบรมกายบริหารก่อนการคลอดมีประโยช์มาก หากไม่สามารถเข้าร่วมได้ กรุณาทำกายบริหารโดยยืดเส้นยืดสาย การออกกำลังกายอื่นๆ เช่นการว่ายน้ำและการเดินก็เหมาะสมกับช่วงตั้งครรภ์
  • ความสะอาดของร่างกายนั้นสำคัญ อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นเล็กน้อย สวมเสื้อผ้าที่ทำจากฝ้ายจะช่วยในการดูดซับเหงื่อได้ดี จะมีสารคัดหลั่งจากช่องคลอดมากขึ้นเนื่องจากกการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน และจะเกิดโรคจากเชื้อราได้ง่ายมาก การใช้ผ้าอนามัย, สวมกางเกงในผ้าฝ้าย และอาบน้ำฝักบัวแทนการแช่อ่างน้ำ สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไม่แนะนำให้ใช้น้ำฉีดล้างช่องคลอด
  • ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ จะเริ่มมีน้ำนมหลั่งออกจากหัวนม อย่าลืมล้างด้วยน้ำให้สะอาดทุกครั้ง
  • สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ระหว่างการตั้งครรภ์นอกเหนือจากว่ามีเลือดไหลทางช่องคลอด

สภาวะผิดปกติ

หากมีสภาวะต่อไปนี้เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือไปที่แผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุของโรงพยาบาลในทันที

  • น้ำแตก
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • ปวดท้องไม่หาย
  • อาการบวมน้ำอย่างร้ายแรงจากช่วงสั้นๆ
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวน้อยลงอย่างมาก

กระทรวงสาธารณสุข
บริการสุขภาพครอบครัว
เว็บไซต์ www.fhs.gov.hk
สายด่วนติดต่อสอบถาม 24-ชั่วโมง: 2112 9900