การป้องกันโรคที่มีสัตว์เป็นพาหะ

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 07/2017) (พิมพ์ใหม่ 07/2019)

โรคที่มีสัตว์เป็นพาหะทั่วไปในคนประกอบด้วยไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ มาลาเรีย ไข้รากสาดใหญ่และไข้ผื่น ยุงคือตัวการในการแพร่เชื้อไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ มาลาเรียและไวรัสซิกาในขณะที่ไข้รากสาดใหญ่และไข้ผื่นถูกแพร่เชื้อโดยตัวไรและตัวเห็บตามลำดับ

เพื่อป้องกันโรคที่มีสัตว์เป็นพาหะ หญิงมีครรภ์จำเป็นต้องป้องกันตนเองจากการถูกยุง ไรและเห็บ ต่อย/กัด และต้องช่วยป้องกันการแพร่พันธุ์ของพวกมัน

ป้องกันตัวท่านเองจากการถูกแมลงต่อย/กัด

เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่แพร่โดยยุง หญิงมีครรภ์ควรอยู่ในอาคารระหว่างช่วงเวลาที่ยุงมีการออกทำกิจกรรมสูงสุด (มักจะเป็นช่วงเช้าตรู่และตอนค่ำ)

สัตว์ที่เป็นพาหะแพร่เชื้อไข้รากสาดใหญ่และไข้ผื่นถูกพบหลัก ๆ ในพื้นที่เพาะปลูก ดังนั้นควรใช้มาตรการป้องกันเมื่อเยี่ยมชมพื้นที่ชนบทเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกัดด้วยสัตว์พาหะเหล่านี้

ใส่เสื้อผ้าป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว หลวม สีอ่อนและกางเกงขายาว

หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอมซึ่งอาจดึงดูดยุงได้

หญิงมีครรภ์อาจใช้ DEET (20-30%) ที่มีสารไล่แมลงได้ โปรดทราบประเด็นต่อไปนี้เมื่อใช้สารไล่แมลง:

  • ใช้สารไล่แมลงกับเสื้อผ้า (เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว) และผิวหนังที่ไม่ถูกปิดคลุม;
  • อย่าใช้บนบาดแผลหรือผิวที่ระคายเคือง;
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต ใช้สารไล่แมลงซ้ำหากจำเป็น;
  • อาบน้ำหรือล้างผิวของท่านเมื่อท่านกลับมาพื้นที่ในอาคาร;
  • ล้างเสื้อผ้าที่ใช้ DEET ด้วยสบู่และน้ำ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ศูนย์คุ้มครองสุขภาพ“โรคที่มีสัตว์เป็นพาหะ”.