สุขภาพจิตก่อนคลอดและหลังคลอด

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

ความสำคัญของสุขภาพจิตก่อนคลอดและหลังคลอด

ปัญหาทางอารมณ์ในช่วงก่อนคลอดและหลังคลอดสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ชีวิตแต่งงานของผู้เป็นแม่และส่งผลต่อพัฒนาการของทารกได้

ระหว่างการตั้งครรภ์ แม่ที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีโอกาสในการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น งานวิจัยพบว่าเมื่อผู้เป็นแม่มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลในช่วงการตั้งครรภ์ พวกเขาจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นมากต่อการมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและทารกของพวกเขาได้แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมมากขึ้น

เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของบทบาทหน้าที่ ความท้าทายในการดูแลทารก และปัญหาครอบครัว ทำให้ในช่วงหลังคลอดนั้นผู้เป็นแม่อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีโรคทางอารมณ์ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดสามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลทารกของผู้เป็นแม่ และสามารถส่งกระทบต่อทารกในด้านสุขภาพทางร่างกาย พัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการด้านอารมณ์ และต่อพัฒนาการทางพฤติกรรม คู่ชีวิตของผู้เป็นแม่ที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการมีความแปรปรวนทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตของผู้เป็นแม่ช่วงก่อนคลอดและหลังคลอดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

อาการอารมณ์แปรปรวนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงก่อนคลอด

การตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นอย่างมากสำหรับครอบครัว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรมองข้ามผู้เป็นแม่ที่อาจมีอารมณ์ต่าง ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ความวิตกกังวล การรู้สึกหมดหนทาง และรู้สึกหงุดหงิดง่าย ฯลฯ หญิงมีครรภ์จะพบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายหลายอย่างและความไม่สบายกาย วิถีชีวิตอาจต้องมีการปรับเปลี่ยน มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของพวกเขาได้ หญิงมีครรภ์อาจมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์ หรือกังวลในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กหลังคลอดอีกด้วย

งานวิจัยพบว่าปัจจัยบางอย่างมีความเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าก่อนคลอด เช่น การที่ผู้เป็นแม่มีความเคารพในตัวเองสูง ชีวิตแต่งงาน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่เกิดจากการแต่งงาน และการสนับสนุนทางสังคม เพื่อรักษาสุขภาพทางอารมณ์ระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้เป็นแม่ควรเรียนรู้ที่จะเห็นคุณค่าของตนเอง โดยเฉพาะเห็นคุณค่าในความพยายามของตนในการรับมือกับความต้องการต่าง ๆ และยอมรับถึงข้อจำกัดของตนเองในช่วงการตั้งครรภ์ ผู้เป็นแม่สามารถพูดคุยกับแม่ท่านอื่น ๆ เพื่อช่วยกันส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม หรือพูดคุยกับใครสักคนที่ไว้ใจได้เพื่อผ่อนคลายความเครียด หากภาวะอารมณ์แปรปรวนยังคงอยู่ ผู้เป็นแม่ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันทีที่เป็นไปได้

ปัจจัยเสี่ยงหลักของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด งานวิจัยได้ระบุว่าปัจจัยที่อยู่ในตารางด้านล่างนี้เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด:

  • ปัจจัยทางคลินิก
    • ภาวะทางจิตเวชที่เป็นอยู่ก่อนซึ่งรวมถึงโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล
    • ภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลในช่วงระหว่างตั้งครรภ์
  • ปัจจัยทางจิตสังคม
    • แนวโน้มลักษณะการเป็นโรควิตกกังวล
    • ขาดการสนับสนุนทางสังคม
    • ชีวิตการแต่งงานที่ไม่ดี
    • ความสัมพันธ์กับญาติที่เกิดจากการแต่งงานไม่เป็นที่พอใจ
    • ความรุนแรงในครอบครัว
    • ปัญหาทางการเงิน
    • เหตุการณ์น่าตึงเครียดในชีวิต
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอดและทารก
    • ภาวะแทรกซ้อนก่อนคลอดและหลังคลอด
    • การคลอดบุตรโดยการผ่าตัดฉุกเฉิน
    • การแท้งมาก่อน / ภาวะมีบุตรยาก
    • การตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผน
    • ทารกเป็นโรคแต่กำเนิด / คลอดก่อนกำหนด

ปัญหาด้านอารมณ์หลังคลอด

ปัญหาด้านอารมณ์หลังคลอดมีสามประเภท: (1) ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (2) ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (3) โรคจิตหลังคลอด ซึ่งแต่ละภาวะมีความแตกต่างกันด้านความชุก การนำเสนอทางคลินิก ระดับความรุนแรง และการจัดการ

  1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
    • 40% - 80% ของหญิงหลังคลอดได้รับผลกระทบ
    • เป็นสภาวะชั่วคราวที่จำแนกตามลักษณะของการมีอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ นอนไม่หลับและโมโหง่าย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นประมาณวันที่ 3 หรือวันที่ 5 หลังการคลอด
    • อาการเหล่านี้ค่อนข้างเบาและจะหายไปเองในไม่กี่วัน
  2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
    • 13% - 19% ของหญิงหลังคลอดได้รับผลกระทบ
    • อาการต่าง ๆ จะคล้ายกับโรคที่มีอารมณ์ซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอื่น ปกติแล้วอาการนี้จะเกิดขึ้นภายใน 6 สัปดาห์แต่สามารถเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ภายในเวลาหนึ่งปีหลังคลอด
    • ผู้เป็นแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
  3. โรคจิตหลังคลอด
    • 0.1% - 0.5% ของหญิงหลังคลอดได้รับผลกระทบ
    • ลักษณะเด่นประกอบด้วยการได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง มีความกังวลว่าจะโดนผู้อื่นทำร้ายและมีความคิดที่จะทำร้ายตนเองหรือทารก ปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังคลอด
    • ซึ่งคืออาการทางจิตฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยจิตแพทย์หรือเข้าตรวจที่แผนกอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

การระบุภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเบื้องต้น

อาการหลักของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด:

  • อารมณ์ซึมอย่างต่อเนื่อง เช่น รู้สึกซึมเศร้าและเสียใจ ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุหรืออยากร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา
  • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมเกือบทั้งหมด (รวมถึงสูญเสียความสนใจในบุตรของตนด้วย)
  • ไม่อยากอาหาร
  • มีปัญหาการนอน
  • เหนื่อยล้าหรือไม่มีแรงตลอดเวลา
  • ไม่มีสมาธิหรือตัดสินใจลำบาก
  • รู้สึกผิด ไร้ค่า และไร้ความหวัง
  • มีความวิตกกังวลและโมโหง่ายมากเกินไป

หากมีอาการดังกล่าวนานเกิน 2 สัปดาห์ และอาการนั้นมีผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เป็นแม่ ให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความช่วยเหลือทันทีที่เป็นไปได้

เคล็ดลับในการป้องกัน

  • เตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมก่อนการตั้งครรภ์ซึ่งรวมถึงการวางแผนครอบครัวและการเงินที่เหมาะสม
  • มีความคาดหวังที่ขึ้นอยู่กับความเป็นจริงของการเป็นผู้ปกครองเพื่อช่วยจัดการชีวิตหลังจากการคลอด
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดและการดูแลทารกเพื่อลดความวิตกกังวล เช่น เข้าร่วมเวิร์กชอปการดูแลทารกและการเลี้ยงดูบุตรในศูนย์แม่และเด็ก เข้าร่วมการสนนาและเวิร์กชอปที่จัดโดยองค์กรอื่น ๆ ฯลฯ
  • มีการแบ่งปันประสบการณ์กับผู้ปกครองคนอื่น ๆ มากขึ้น และเข้าหาการสนับสนุนจากสังคมมากขึ้น
  • สร้างการสนทนาที่มีประสิทธิภาพกับคู่ครองและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวเพื่อเพิ่มความเข้าใจและการสนับสนุน
  • พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ เช่น จัดให้มีความช่วยเหลือด้านงานบ้านและการดูแลทารกหลังการคลอด
  • หาเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ไปเดินเล่นหรือโทรหาเพื่อน
  • รับประมานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

วิธีการขอความช่วยเหลือ

  • ปรึกษาแพทย์ครอบครัวหรือสูตินรีแพทย์เพื่อรับการประเมินและการจัดการเบื้องต้น และจะมีการส่งต่อไปเข้ารับบริการจากผู้เชี่ยวชาญหากจำเป็น
  • พบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกภาคเอกชนเพื่อรับการประเมินและการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
  • เข้าพบนักสังคมสงเคราะห์หรือที่ปรึกษาเพื่อรับการประเมินหรือการส่งต่อ
  • หากผู้เป็นแม่ทรมานกับปัญหาด้านอารมณ์หลังคลอด ควรติดต่อศูนย์สุขภาพแม่และเด็กในแถบที่อยู่อาศัยเพื่อทำการนัดหมายกับพยาบาลสำหรับการเข้าร่วมการประเมินเบื้องต้นและส่งต่อไปยังบริการต่าง ๆ ที่เหมาะสม

บริการรับปรึกษา / สายด่วน

  • สมาคมสะมาริตันส์ Befrienders Hong Kong 2389 2222
  • บริการป้องกันการฆ่าตัวตาย 2382 0000
  • สายด่วนกรมประชาสงเคราะห์ 24 ชั่วโมง 2343 2255
  • สายตรงสุขภาพจิตโรงพยาบาลหลัก (24 ชั่วโมง) 2466 7350

อื่น ๆ

กรมอนามัย: