อาการเจ็บปวดข้อมือและมือ

โรคเอ็นข้อมืออักเสบเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในหมู่หญิงมีครรภ์และมารดาหลังคลอด เส้นเอ็นจากนิ้วหัวแม่มือไปถึงข้อมืออักเสบ ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรังที่ข้อมือ อาการนี้เป็นที่รู้จักกันว่าข้อมือของแม่หรือนิ้วมือของแม่

สาเหตุ

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์
  • การใช้นิ้วหัวแม่มือมากเกินไปและการขยับข้อมือซ้ำ ๆ
  • การใช้นิ้วหัวแม่มือและข้อมือซ้ำ ๆ ระหว่างการให้นมบุตรหรือท่าทางการให้นมอาจไม่เหมาะสมกับมือแม่ เช่น การยกทารกขึ้นด้วยตำแหน่งหัวแม่มือและนิ้วเป็นรูปตัวแอล อาจทำให้อาการปวดข้อมือรุนแรงขึ้น

อาการชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์เพิ่มอาการบวมน้ำในโพรงฝ่ามือ ก่อให้เกิดการบีบอัดบนเส้นประสาท ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดและชาในมือ

วิธีป้องกันและลดความเจ็บปวดข้อมือ

  1. รักษาข้อมือและนิ้วในตำแหน่งปกติ หลีกเลี่ยงการงอของข้อมือและนิ้วหัวแม่มือที่มากเกินไป
  2. หลีกเลี่ยงการยกทารกใต้แขนด้วยตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นรูปตัวแอล
  3. หนุนก้น คอและหัวของทารกด้วยฝ่ามือ
    • เมื่อวางทารกในเปล หนุนร่างกายและก้นของเขาด้วยปลายแขน มือควรอยู่ในแนวเดียวกันกับปลายแขน
    • หลีกเลี่ยงตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เป็นรูปตัวแอล อย่าใช้งานนิ้วหัวแม่มือมากเกินไป
    • ใช้มือซ้ายและขวาสลับกัน พักข้อมือและหัวแม่มืออย่างสม่ำเสมอ
  4. เหยียดกล้ามเนื้อมากขึ้น

ชุดที่ 1

  1. ฝ่ามืออยู่ข้างใน หุ้มนิ้วหัวแม่มือด้วยนิ้วอื่นและทำให้เป็นรูปกำปั้น
  2. งอข้อมือของท่านลงจนกว่าท่านจะรู้สึกตึงเล็กน้อย ค้างไว้สัก 5 ถึง 10 วินาที
  3. ทำซ้ำ 5 ถึง 10 ครั้งเป็นหนึ่งชุด ทำ 1 ชุดทุกชั่วโมง

ชุดที่ 2

  1. ยกแขนเหยียดตรงด้วยข้อมือข้างที่ปวด ฝ่ามือคว่ำลง ดึงนิ้วขึ้นด้วยอีกมือหนึ่ง ค้างไว้ 5 ถึง 10 วินาที
  2. ทำซ้ำ 5 ถึง 10 ครั้งเป็นหนึ่งชุด ทำ 1 ชุดทุกชั่วโมง

ปรึกษาแพทย์ของครอบครัวหากหากยังมีอาการเจ็บปวดมือ

(ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นโดยกรมอนามัยและแผนกกายภาพบำบัดขององค์การโรงพยาบาล)