การป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus กลุ่ม B ในเด็กแรกเกิด

(Content revised 02/2013)

เชื้อ Streptococcus กลุ่ม B คืออะไร?

เชื้อ Streptococcus กลุ่ม B (GBS-Group B Streptococcus) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้, ท่อปัสสาวะ และช่องทางระบบสืบพันธุ์ของทั้งผู้ชายและผู้หญิง มักจะพบที่ช่องคลอดหรือช่องทวารหนักของสตรีมีครรภ์ 10 - 30% สตรีมีครรภ์ส่วนใหญ่ที่มี GBS มักจะไม่มีอาการหรือผลข้างเคียงใดๆ มีเพียงจำนวนน้อยที่จะมีการติดเชื้อจาก GBS ที่ท่อปัสสาวะ ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

GBS จะส่งผลต่อทารกอย่างไร?

ผลลัพธ์ที่ร้ายแรงที่สุดของ GBS นั้นคือสตรีที่ตั้งครรภ์ในช่วงท้ายอาจแพร่เชื้อไปยังเด็กได้ เป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของเด็กทารกแรกเกิดโดยมีอัตราการป่วยและเสียชีวิตสูง (5-10%) การติดเชื้อ GBS ในช่วงแรกเกิดของเด็กทารกในฮ่องกง อยู่ที่ราวๆ 1.0 ต่อการเกิด 1,000 ราย เด็กทารกอาจมีอาการติดเชื้อ GBS ในช่วงแรกหรือช่วงหลัง

สำหรับการติดเชื้อ GBS ในช่วงแรก มักจะมีสัญญาณและอาการให้เห็นในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด โดยมี:

  • ปัญหาในการหายใจ, คามดันเลือดและหัวใจเต้นไม่ปกติ
  • ปัญหาที่ทางเดินอาหารกระเพาะและตับ
  • การติดเชื้อที่ปอด, การติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอาการที่ไบได้ทั่วไป

สำหรับการติดเชื้อ GBS ในช่วงหลัง

มักจะมีอาการในช่วงหนึ่งสัปดาห์หรือสองสามเดือนหลังคลอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อ GBS ในช่วงหลังนั้นพบได้ยากกว่ากรณีแรก

ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าฉันมีเชื้อ GBS?

หน่วยงานโรงพยาบาล คลีนิกพดุงครรภ์ และสูนย์สุขภาพแม่และเด็กของกระทรงสาธารณสุข จะให้บริการตรวจคัดกรอง GBS สำหรับสตรีมีครรภ์และทุกคนที่มีสิทะรับการตรวจ การตรวจคัดกรองมักจะทำขึ้นในสัปดาห์ที่ 35 และ 37 ของการตั้งครรภ์ จะมีการนำตัวอย่างจากทั้งช่องคลอดและทวารหนัก เป็นขั้นตอนที่รวดเร็วและไม่เจ็บปวด จากนั้นจะนำตัวอย่างที่ได้ไปทำการทดสอบที่ห้องทดลองเพื่อตรวจหา GBS จากตัวอย่าง ซึ่งผลการตรวจจากบางช่วงเวลาอาจเป็นบวกเนื่องจากแบคทีเรียในร่างกายเรามีช่วงเวลาที่ทำงานและหยุดทำงาน ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการตรวจในช่วงสัปดาห์ที่ 35 ถึง 37 ซึ่งใกล้กับการคลอดที่สุด

สตรีมีครรภ์ที่ไม่ได้รับสิทธิ์เข้ารับการตรวจสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองได้ที่คลีนิก HA (มีค่าบริการเพิ่มเติม) ของเอกชน หรือที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

หากตรวจพบว่าฉันติดเชื้อ GBS ล่ะ? จะป้องกันไม่ให้ลูกของฉันติดเชื้อนี้ได้อย่างไร?

มีเพียงเด็กบางรายที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ GBS ที่จะได้รับเชื้อไปด้วย โดยมีโอกาสหนึ่งใน 100 หรือ 200 รายของเด็กที่มารดาติดเชื้อ GBS ที่จะมีสัญญาณและอาการของการติดเชื้อ

หากคุณตรวจพบว่าคุณติดเชื้อ GBS เราขอแนะนำให้ทำการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดในช่วงการคลอด ซึ่งจะช่วยลดคามเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุตรของคุณได้มาก

สำหรับผู้มีเชื้อ GBS การรับยาปฏิชีวนะก่อนที่จะเริ่มการคลอดจะไม่เป็นการกำจัดแบคทีเรียอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแบคทีเรียเหล่านี้อาศัยอยู่ในลำไส้ จึงสามารถกลับมาได้หลังจากการบำบัดด้วยยาปฏิชีวนะ การป้องกันการติดเชื้อสำหรับเด็กทารกที่มีประสิทธิาพดีที่สุดก็คือการให้ยาปฏิชีวนะระหว่างการทำคลอด

แนะนำให้สตรีมีครรภ์ทุกคนเข้ารับการตรวจคัดกรอง GBS หรือไม่?

ในบางสภาวะ เด็กทะรกจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง โดยมี:

  • มีบุตรคนก่อนได้รับผลกระทบจาก GBS
  • มารดามีการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะจากเชื้อ GBS ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • มีการติดเชื้อ GBS ก่อนสัปดาห์ที่ 35

ในกรณีเหล่านี้ เราขอแนะนำให้ทำการฉีดยาปฏิชีวนะระหว่างการทำคลอด และไม่จำเป็นต้องทำการตรวจคัดกรอง

มีอาการอื่นที่จำเป็นต้องฉีดยาป้องกันลูกของฉันไม่ให้ติดเชื้อ GBS อีกหรือไม่?

ในกรณีที่ไม่ทราบสถานะของ GBS และมีอาการดังต่อไปนี้ เราขอแนะนำให้ทำการฉีดยาปฏิชีวนะระหว่างการทำคลอด เหล่าอาการดังกล่าว มีดังนี้:

  • อายุครรภ์ต่ำกว่า 37 สัปดาห์
  • มารดามีไข้อุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ 38°C
  • มีอาการน้ำแตกมานานกว่า 18 ชั่วโมง

การฉีดยาปฏิชีวนะจะส่งผลข้างเคียงต่อฉันอย่างไรบ้าง?

เราจะทำการตรวจเทียบประวัติการแพ้ยาของคุณก่อนที่เราจะทำการให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม คุณจะได้รับการเตือนให้รายงานสัญญาณการแพ้ใดๆ อย่างเช่นผื่นคัน, อาการบวม หรือการหายใจติดขัด โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตต่ำมาก

การฉีดยาปฏิชีวนะระหว่างการทำคลอดจะช่วยป้องกันการติดเชื้อให้กับลูกของฉันได้หรือไม่?

ถึงแม้การบำบัดด้วยยาปฏิชีวนะจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ GBS ในช่วงแรก แต่ก็ไม่ได้ป้องกันได้ 100% และจะไม่ช่วยป้องกันป้องกันการติดเชื้อ GBS ในช่วงหลังได้ตลอด เด็กทารกอาจได้รับเชื้อ GBS จากการติดต่อกับคนอื่นๆ หรือทางอื่น

ลูกของฉันจะต้องเข้ารับการรักษาหลังจากคลอดหรือไม่ หากฉันเป็นผู้ติดเชื้อ GBS?

บุตรของคุณจะได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์ มีหลายปัจจัยที่จะตัดสินว่าเขาจำเป็นต้องได้รับการบำบัดด้วยยาปฏิชีวนะหรือไม่ โดยมีดังนี้:

  • เด็กทารกมีสัญญาณบ่งบอกถึงการติดเชื้อหรือไม่
  • เด็กคลอดเมื่อครบกำหนดหรือไม่?
  • มารดาได้รับยาปฏิชีวนะมาเท่าใดในช่วงก่อนการคลอดบุตร

กุมารแพทย์จะตัดสินใจตามแต่ละกรณีจากการตรวจสอบหรือจากการบำบัดที่เด็กต้องได้รับ