วัยหมดประจำเดือนและการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

(HTML เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 11/2019)

วัยหมดประจำเดือนเป็นระยะธรรมชาติของชีวิตผู้หญิงและเป็นเครื่องหมายจากการสิ้นสุดของการมีประจำเดือน การทำงานของรังไข่ของผู้หญิงมักจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 45 ถึง 55 ปี ในที่สุดรังไข่ก็จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ผู้หญิงได้ถึงวัยหมดประจำเดือนเมื่อไม่มีประจำเดือนเป็นเวลา 1 ปี ผู้หญิงบางคนจะมีอาการ เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน มีปัญหาในการนอนหลับและหงุดหงิดฉุนเฉียวทั่วไป

การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT) สามารถใช้เพื่อลดอาการของวัยหมดประจำเดือนได้ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงรุนแรงได้เช่นกัน ควรปรึกษาแพทย์ถึงเรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ก่อนการตัดสินใจ

ภาวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับ HRT

  • แพ้ HRT
  • เลือดไหลทางช่องคลอดแบบผิดปกติที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
  • ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน
  • ภาวะตับวายเฉียบพลัน
  • มะเร็งเต้านมหรือมดลูก
  • โรคหัวใจ

ประโยชน์และความเสี่ยงของ HRT

  • อาการหมดประจำเดือน - ลดอาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • โรคกระดูกพรุน - ป้องกันโรคกระดูกพรุนแต่เมื่อการบำบัดด้วยเอสโตรเจนหยุดลงการป้องกันการสูญเสียกระดูกจะหายไปเป็นอย่างมาก
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิต - พัฒนาความจำ การให้เหตุผลทางคำพูด
  • มะเร็งลำไส้ - ความเสี่ยงลดลง
  • มะเร็งเต้านม - การทานในระยะยาวเพิ่มความเสี่ยง
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก- สำหรับผู้หญิงที่มีมดลูกสมบูรณ์ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากทานเอสโตรเจนอย่างเดียว
  • ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน - ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ - ไม่ควรเริ่ม HRT ในผู้หญิงที่มีโรคหัวใจ ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะแสดงว่าผู้หญิงที่เริ่มการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนด้วยวัยที่ใกล้วัยหมดประจำเดือนมากกว่าจะลดโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

การเตรียมตัวสำหรับ HRT

ไม่ว่าจะเป็นเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว โปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว หรือการรวมกันของเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจน

ฮอร์โมนเหล่านี้อาจมาในรูปยาเม็ด แผ่นติด เจล หรือครีมช่องคลอด โปรดปรึกษากับแพทย์ของท่านเพื่อเลือกการเตรียมการที่เหมาะสมที่สุด

ผลข้างเคียงทั่วไป

  • เลือดออก - สำหรับผู้หญิงที่มีมดลูกสมบูรณ์ HRT จะนำประจำเดือนกลับมา - คล้ายเลือดออก
  • ความไวของเต้านมหรือคัดตึง
  • ภาวะคั่งน้ำ

จำเป็นต้องมีการติดตามเป็นประจำระหว่างการเข้ารับการบำบัด

สำหรับข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติม กรุณาโทรหาสายข้อมูลสุขศึกษาของเรา (ภาษากวางตุ้ง ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนกลาง) ที่ 2833 0111 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการอนามัยครอบครัวของกรมอนามัยที่ http://www.fhs.gov.hk