ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอด

(เผยแพร่ 08/2010)(ตีพิมพ์ใหม่ 05/2019)

โรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis) คืออะไร

  • การติดเชื้อแคนดิดาที่อวัยวะเพศพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากการเติบโตมากเกินของเชื้อราลักษณะยีสต์ชื่อ Candida albicans ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ที่บริเวณอวัยวะเพศตามธรรมชาติ
  • ในสภาวะปกติ ตามอวัยวะเพศจะมีเชื้อแคนดิดาจำนวนเล็กน้อยอยู่ตลอด หากสภาพความเป็นกรดของช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไป เชื้อแคนดิดาก็จะเติบโตได้มากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอดสูงขึ้นด้วย

โรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอดจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดเกิดขึ้นเลย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ผู้ป่วยจำนวนเล็กน้อยอาจเกิดอาการของช่องคลอดอักเสบขึ้นได้ เช่น ตกขาวมีสีเหลืองขึ้นหรือมีกลิ่นแรงขึ้น คันบริเวณปากช่องคลอด ปวดช่องคลอด หรือเกิดความเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่ร้ายแรง อาจเกิดแผลและการอักเสบขึ้นที่ปากช่องคลอด ฝีเย็บ หรือบริเวณขาหนีบ ตามมาด้วยความเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันได้
  • หากคุณมีอาการของโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอด โปรดขอคำปรึกษาได้ที่คลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปหรือคลินิกเอกชน หลังจากปรึกษาเสร็จสิ้น โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์สำหรับการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้อุปกรณ์พยุงช่องคลอด ครีมทาเฉพาะที่ หรือยาสำหรับรับประทาน
  • หลังจากรักษาแล้วก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้

คู่นอนของฉันจำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ หรือไม่

  • ไม่พบหลักฐานสนับสนุนให้คู่นอนที่ปราศจากอาการใดๆ เข้ารับการรักษา
  • หากคู่นอนของคุณเกิดอาการขึ้นมาในเวลาเดียวกัน ทั้งสองคนก็ควรเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อข้ามคน

ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง

  • การที่ชายหญิงมีเชื้อดังกล่าวอยู่ตามอวัยวะเพศจำนวนเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีปัจจัยมากมายที่อาจเป็นสาเหตุให้เชื้อเกิดการเติบโตมากเกินไปได้
  • ปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เชื้อแคนดิดาเติบโตมากผิดปกติ ได้แก่
    • การใช้ยาปฏิชีวนะ
    • การตั้งครรภ์
    • การเป็นโรคเบาหวาน
    • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเนื่องจากมีภาวะภูมิคุ้มกันถูกกด เช่น การติดเชื้อ HIV

วิธีป้องกันโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอด

คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อแคนดิดาในช่องคลอดหรือการกลับมาเป็นซ้ำได้

  1. รักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ซักชุดชั้นในอย่างสม่ำเสมอ
  2. หลีกเลี่ยงการสวมกางเกงชั้นในผ้าไนลอนหรือกางเกงชั้นในที่คับเกินไป โดยให้สวมชุดชั้นในผ้าฝ้ายแทน
  3. อย่าใช้ยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดช่องคลอด เนื่องจากจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  4. อย่าสวนล้างช่องคลอด
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยที่ใส่กลิ่นและกระดาษชำระที่ใส่น้ำหอม
  6. หลังเข้าห้องน้ำ ให้เริ่มเช็ดที่ปากช่องคลอดแล้วเช็ดไปทางด้านหลัง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ช่องคลอดเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนักได้