กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน

(Content revised 11/2013)

ทำไม เมย์ ถึงได้หงุดหงิดง่ายในอยู่สองสามวันทุกเดือน

ใช่ มือและเท้าของฉันมักจะบวมเล็กน้อยก่อนมีรอบเดือน !

ทำไมฉันมักจะรู้สึกว่าเต้านมเจ็บและบวมก่อนมีรอบเดือน

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS เป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป ผลการสำรวจในท้องถิ่นพบว่าผู้หญิงทุก 10 คน จะมีมากกว่า 6 คน ที่มีอาการ PMS ก่อนรอบเดือน ในจำนวนนี้ จะมีประมาณ 3 - 8 คน ที่รู้สึกว่าอาการของตนรุนแรง

PMS คืออะไร

PMS คืออาการไม่สบายตัวในที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและพฤติกรรมในผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน PMS มีลักษณะพิเศษตรงที่จะเกิดขึ้นราวหนึ่งหรือสองสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนและมักจะหายไปเองทันทีที่ประจำเดือนมา ในกรณีที่รุนแรง อาการดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่องานประจำวัน ชีวิตประจำวัน และมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

อาการของ PMS มีอะไรบ้าง

อาการที่เกี่ยวข้องกับ PMS อาจมีมากถึง 150 อาการ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้:

อาการทางกาย:

  • เต้านมบวม/อ่อนนุ่ม
  • แขนขาบวม/ท้องอืด
  • น้ำหนักขึ้น
  • ปวดศีรษะ
  • เหนื่อยล้าและอ่อนแรง

การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและพฤติกรรม:

  • อารมณ์ขึ้นลงและหงุดหงิดง่าย
  • ไม่มีสมาธิ
  • หลงลืม
  • มีปฏิกิริยา/พฤติกรรมหุนหันพลันแล่น
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ นอนไม่หลับ หรือง่วงซึม
  • ความอยากอาหารและความชอบอาหารเปลี่ยนไป (อยากอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง)

ในกรณีที่จำเป็น ผู้หญิงที่ทรมานจากอาการไม่สบายช่วงก่อนมีประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับความช่วยเหลือที่เหมาะสม

ใครมี PMS ได้บ้าง

  • ผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนอาจได้รับผลกระทบจาก PMS โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 25-45 ปี จะมีโอกาสสูงเป็นพิเศษ
  • ในการยืนยันว่าเป็น PMS จะอาศัยจากอาการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือการพบแพทย์เพียงครั้งเดียวไม่ได้ ก่อนสรุปผลการวินิจฉัยว่าเป็น PMS แพทย์จะต้องพิจารณาบันทึกอาการประจำวันและความรุนแรงของอาการอย่างละเอียดเป็นเวลาสามเดือนติดต่อกัน และตัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคทางกายหรือโรคทางจิตอื่นๆ ออกไปโดยพิจารณาจากการตรวจร่างกายและประวัติทางการแพทย์ทั้งหมด หากสงสัยว่าเป็น PMS คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อรับความช่วยเหลือที่เหมาะสม และรับการวินิจฉัย เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

PMS เกิดขึ้นได้อย่างไร

ปัจจัยทางร่างกาย:

  • ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
  • ภาวะสารสื่อประสาทไม่สมดุล

ปัจจัยทางจิตใจและสังคม:

  • ความเครียดในชีวิตประจำวัน ลักษณะนิสัยส่วนตัว และทัศคติที่มีต่อชีวิตล้วนเป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ PMS
  • งานวิจัยพบว่าปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์สัมพันธ์กับความรุนแรงของ PMS เนื่องจากความเครียดอาจส่งผลต่อการตอบสนองของต่อมไร้ท่อ
  • บทบาทมากมายที่ผู้หญิงต้องสวมทั้งในครอบครัวและสังคมสมัยใหม่ รวมถึงความกดดันที่พวกเธอต้องแบกรับเองก็เป็นอีกสาเหตุของ PMS ผู้หญิงที่ใช้ชีวิตแบบไม่เคร่งเครียดจนเกินไปและทำหน้าที่ตามบทบาทต่าง ๆ ด้วยความสบายใจและพึงพอใจจะมีอาการ PMS น้อยกว่าและไม่รุนแรงมากนัก ในทางกลับกัน ผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่และความไม่พอใจที่เกิดขึ้นจะมีอาการ PMS บ่อยกว่าและรุนแรงกว่า

จะรักษา PMS ได้อย่างไร

การรักษา PMS มีทั้งหมดสามด้าน ได้แก่:

  1. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต : คุณอาจลองปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการ PMS
    • ออกกำลังกาย - การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เหมาะสม เช่น การวิ่ง การเต้นแอโรบิก การขึ้นบันได และการรำไทเก็ก รวมถึงการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด เช่น โยคะและการยืดเหยียดเบาๆ จะช่วย กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และทำให้จิตใจแจ่มใส ช่วยบรรเทาอาการ PMS ได้
    • การควบคุมอาหาร
    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่ควรรับประทาน
    เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเช้าจำพวกธัญพืช ขนมปังข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และข้าวโพด
    อาหารที่เค็มจัด: อาหารหมักดองและซอส ถั่ว: ถั่วเหลืองและถั่วชนิดอื่นๆ
    อาหารที่ทำจากน้ำตาลแปรรูป: ไอศกรีมและช็อกโกแลต ผัก: ผักใบและแครอท
    อาหารที่มีไขมันสูงและผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง: เนยและชีส ถั่วเปลือกแข็งและผลไม้อบแห้ง: มะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง และ เมล็ดแตงโม
  2. ยา: ยาที่แพทย์สั่งให้สำหรับผู้หญิงเป็นรายบุคคล (ปัจจุบันไม่มียาชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาอาการทั้งหมดได้ในตัวเดียว)
  3. การบำบัดทางจิต: รวมถึงการฝึกผ่อนคลายและบรรเทาความเครียด