ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)

(เผยแพร่ 08/2010)

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และจะมีอาการเมื่อเชื้อประจำถิ่น (เชื้อแบคทีเรีย) ภายในช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลขึ้น
  • ผู้หญิงทุกคนอาจเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งสิ้น แต่จะมีโอกาสเกิดมากขึ้นเมื่อใช้ห่วงคุมกำเนิด (IUD) สวนล้างช่องคลอด และการมีคู่นอนใหม่หรือมีคู่นอนหลายคน

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดเกิดขึ้นเลย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ผู้ป่วยจำนวนเล็กน้อยอาจเกิดอาการของช่องคลอดอักเสบขึ้นได้ เช่น ตกขาวผิดปกติ และมีอาการคันบริเวณรอบอวัยวะเพศ แนะนำให้ผู้ที่มีอาการเข้ารับการรักษา โดยอาจขอคำปรึกษาได้จากคลินิกผู้ป่วยนอกทั่วไปหรือคลินิกเอกชนเกี่ยวกับเรื่องการจัดการกับภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ตามความจำเป็น
  • ข้อควรพิจารณาอื่นๆ
    • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อภายหลังผ่าตัด เช่น การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานหลังจากการผ่าตัดทางสูตินรีเวช (รวมถึงการสอดห่วงคุมกำเนิด การทำแท้ง และการตัดมดลูก) ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการของ BV จึงควรได้รับการรักษาก่อนเข้าผ่าตัด
    • หากคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม เพื่อที่จะได้ดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสม

หลังจากรักษาจนหายแล้ว ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียสามารถกลับมามีอาการอีกได้หรือไม่

  • หลังจากรักษาจนหายแล้วก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้