คู่มือสำหรับพนักงาน –การให้นมลูกควบคู่ไปกับการทำงาน

(Content revised 03/2016)

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับทารกและมารดาเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดี ยิ่งทารกถูกเลี้ยงด้วยนมแม่นานเท่าไหร่ ทั้งแม่และลูกก็จะยิ่งได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ทารกควรได้รับนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหกเดือนแรกและต่อเนื่องจนกว่าจะถึงสองขวบหรือนานกว่านั้นในขณะที่เริ่มให้อาหารแบบผู้ใหญ่เป็นอาหารของพวกเขา การเลี้ยงลูกด้วยนมควบคู่ไปกับการทำงานเป็นความท้าทายที่แท้จริงสำหรับคุณแม่ที่ทำงาน แม้กระนั้นการกลับไปทำงานก็ไม่เป็นอุปสรรค

ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน

แสดงความต้องการของคุณเมื่อใด?

1. ระหว่างตั้งครรภ์และก่อนหยุดลาคลอด

ปรึกษากับผู้บริหารเกี่ยวกับความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และความตั้งใจของคุณที่จะให้นมบุตรต่อไปหลังจากกลับมาทำงาน สื่อสารอย่างชัดเจนถึงการสนับสนุนที่เฉพาะเจาะจงที่คุณต้องการซึ่งช่วยให้คุณสามารถปั๊มเก็บนมแม่ในที่ทำงานได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดการทำงานให้กับคุณได้ดียิ่งขึ้นและการเตรียมความพร้อมที่ดีกว่าสำหรับสถานที่ทำงาน

2. หลังจากกลับมาทำงาน

แสดงความขอบคุณของคุณต่อผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมของคุณ รักษาสัญญาของคุณเกี่ยวกับการจัดเตรียมการทำงาน การพักให้นมบุตร การใช้พื้นที่เพื่อปั๊มเก็บนมแม่และสถานที่จัดเก็บนม พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานของคุณเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเป็นกังวลและทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไข

วิธีสื่อสารกับผู้บริหารเกี่ยวกับความปรารถนาของคุณที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากกลับมาทำงาน

1. แสดงความขอบคุณต่อการสนับสนุนของผู้บริหารในที่ทำงาน

2. เน้นถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมและการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เช่น "หลังจากพูดคุยกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่น ๆ แล้ว ฉันได้ตัดสินใจที่จะให้นมบุตรเพราะสามารถให้สารอาหารและการป้องกันที่ดีที่สุดแก่ลูกของฉัน นอกจากนี้แพทย์ของฉันบอกฉันว่าการให้นมบุตรมีความสำคัญในการป้องกันการเจ็บป่วยและโรคต่างๆ สำหรับทั้งลูกและฉัน”

3. สื่อสารความต้องการเฉพาะของคุณ

เช่น "สำหรับฉันที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปในขณะที่ทำงาน ฉันหวังว่าบริษัทจะสามารถให้การสนับสนุนต่อไปนี้ได้:

  • การพักให้นมที่มีความยืดหยุ่นเพื่อปั๊มเก็บนม

โดยทั่วไปฉันต้องพักให้นมประมาณสองครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาสามสิบนาทีในวันทำงาน ถ้าจำเป็นต้องใช้เวลาพักให้นมเพิ่มเป็นพิเศษ ฉันจะใช้เวลาที่ไม่ใช่เวลาทำงานของฉัน (เช่น ก่อนที่จะเริ่มทำงาน พักเที่ยง เวลาหลังเลิกงาน)

  • พื้นที่ส่วนตัว (เช่น ห้องประชุมที่ไม่มีคนใช้หรือห้องรับแขก) พร้อมกับเก้าอี้ โต๊ะและเต้าเสียบสำหรับตัวปั๊มน้ำนมแม่และ
  • ตู้เย็นสำหรับเก็บนมแม่ (ตู้เย็นในห้องครัวก็ได้) "

4. ปรึกษาถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ในการจัดการทำงาน

เช่น "ฉันอยากจะปรึกษาคุณเรื่องการเตรียมตัวและหาทางเลือกที่จะช่วยให้ฉันสามารถให้นมลูกต่อไปได้โดยรบกวนการทำงานน้อยที่สุด"

คำแนะนำและการเตือนที่เป็นประโยชน์

1. ขอความช่วยเหลือจากครอบครัวของคุณ

ปรึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมกับคู่ครองและครอบครัวของคุณ และขอความช่วยเหลือและความร่วมมือจาอกพวกเขา ครอบครัวของคุณสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ได้ปั๊มเก็บไว้ในขณะที่คุณไม่อยู่ เตือนให้ครอบครัวของคุณให้ความสนใจกับสัญญาณความหิวและความอิ่มของทารกและอย่าให้นมมากเกินไป หากทารกกินมากเกินไปในขณะที่มารดาทำงาน ความต้องการที่จะให้กินนมแม่โดยตรงจะลดลงเมื่อแม่กลับบ้าน

2. เก็บนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก

การผลิตน้ำนมแม่จะขึ้นอยู่กับความต้องการของทารก ยิ่งคุณให้นมบุตรมากเท่าไร คุณก็จะสร้างน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยตรงบ่อยๆ ตามความต้องการของลูกน้อยสามารถช่วยให้คุณสร้างน้ำนมได้เพียงพอสำหรับเขา หากคุณไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้โดยตรง การปั๊มนมแม่ออกทุก 3-4 ชั่วโมงโดยโดยการปั๊มเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาระดับการสร้างน้ำนม คุณสามารถทำความคุ้นเคยกับเทคนิคการปั๊มน้ำนมด้วยมือหรือโดยการปั๊มโดยอ้างถึงแหล่งข้อมูลในเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข (www.fhs.gov.hk)

3. เตรียมอุปกรณ์: เครื่องปั๊มนมด้วยมือหรือด้วยไฟฟ้า ขวดนมหรือถุงและคูลเลอร์พร้อมน้ำแข็ง

เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปั๊มเก็บนมและเก็บไว้ก่อนที่คุณจะกลับไปทำงาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องใช้ทั้งหมดได้รับการทำความสะอาดอย่างถูกต้องก่อนใช้งาน

4. เตรียมความพร้อมสองสัปดาห์ก่อนที่จะกลับไปทำงาน

การฝึกฝนบ่อยๆทำให้เก่ง ยิ่งคุณฝึกฝนมากเท่าไหร่คุณก็จะได้เทคนิคการปั๊มเก็บน้ำนมแม่ได้เร็วขึ้นเท่านั้นและจะสะดุดน้อยลง ประมาณสองสัปดาห์ก่อนที่จะกลับไปทำงานคุณสามารถค่อยๆ ปรับตารางเวลาของการปั๊มเก็บน้ำนมเพื่อจำลองการพักให้นมในที่ทำงาน นอกจากนี้คุณยังอาจเก็บนมบางส่วนสำรองไว้ โดยปกติแล้วประมาณหนึ่งหรือสองวัน โดยเก็บไว้ทีละเล็กทีละน้อยตามที่ทารกกิน เพียงพอสำหรับการเก็บไว้

5. สร้างความสมดุลระหว่างการทำงานกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ให้ลูกกินนมแม่ก่อนออกจากบ้าน ในที่ทำงาน ปั๊มเก็บน้ำนมอย่างสม่ำเสมอและเก็บไว้อย่างถูกต้อง จากนั้นก็มีความสุขกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยตรงเมื่อคุณกลับถึงบ้าน ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุด ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยไม่มีข้อจำกัด

6. ฉันจะทำอย่างไรถ้าต้องปั๊มเก็บน้ำนมในที่ทำงานบ่อยๆ

ในขั้นแรกมารดาบางคนอาจต้องการการปั๊มเก็บน้ำนมที่บ่อยและนานขึ้นเพราะ ตัวอย่างเช่น พวกเขาต้องการเวลาในการปรับตัวเพื่อปั๊มเก็บน้ำนมในสภาพแวดล้อมใหม่ ในกรณีนี้คุณอาจใช้เวลาที่ไม่ได้ทำงานเช่น เวลาพักเที่ยง เวลาก่อนที่จะเริ่มงานหรือหลังเลิกงานเพื่อปั๊มเก็บน้ำนม อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการปั๊มเก็บน้ำนมบ่อยๆ คุณอาจมีปัญหาเรื่องการให้นมบุตร เช่นการการปั๊มเก็บน้ำนมที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือการผลิตน้ำนมมากเกินไป คุณควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ทรัพยากรเลี้ยงลูกด้วยนมของกรมอนามัย

หากคุณต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้นมบุตรคุณสามารถ:

  • เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริการด้านสุขภาพของกรมอนามัย (ดีเอช) ได้ที่ www.fhs.gov.hk:
    • ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับการให้นมบุตร

      http://s.fhs.gov.hk/xknkz

    • สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทารกในสถานที่ราชการ

      http://s.fhs.gov.hk/enwss

    • คู่มือสำหรับลูกจ้างในการเลี้ยงลูกด้วยนมควบคู่ไปกับการทำงาน

      http://s.fhs.gov.hk/i9uvr

  • ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือศูนย์สุขภาพแม่และเด็ก
  • โทรสายด่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของดีเอช: 3618 7450

ข้อมูลจากยูนิเซฟ

มารดาที่ทำงานยังสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
ฟังเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทำงาน
www.sayyestobreastfeeding.hk
ติดต่อเราเพ่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่
โทร: 2833 6139
อีเมล์: bf@unicef.org.hk
#SayYesToBreastfeeding