ฝันดีหลับปลอดภัย

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 03/2019)

ปกป้องทารกของท่านจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและโรคไหลตายในทารก (SIDS)

เราทุกคนหวังว่าทารกของท่านจะสามารถนอนหลับสนิทซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยขณะทารกหลับและสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการนอน เพื่อที่ว่าทั้งท่านและทารกจะได้หลับสนิท

การป้องกันไว้ก่อนอย่างเหมาะสมช่วยลดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและความเสี่ยงโรคไหลตายในทารก (SIDS)

I. ท่านอนที่ปลอดภัย

จับทารกของท่านนอนหงายสำหรับการนอนหลับ
  • การนอนหงาย เป็นท่าการนอนหลับที่ปลอดภัยและถูกต้องที่สุดสำหรับทารก หากเทียบกับการนอนคว่ำและการนอนตะแคง
  • ตรวจสอบว่า ใบหน้าและแขนของทารกของท่านไม่โดนทับ ขณะหลับ

การนอนหงายทำให้ทารกของท่าน:

  • เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำให้หายใจสะดวก
  • ช่วยให้ตัวเย็นลงเมื่ออากาศร้อน
  • เป็นท่าที่ดีที่สุดที่ช่วยป้องกันการกลิ้งและการนอนคว่ำหรือร่วงอยู่ใต้ผ้าห่ม

อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับในวัยทารก ได้แก่

  1. โรคไหลตายในทารก (SIDS)
    • SIDS หรือโรคไหลตายในทารกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเร็ว ไม่คาดคิด และในกรณีนี้ไม่สามารถอธิบายได้
    • โรคไหลตายในทารก (SIDS) กระทบต่อทารกในช่วง 6 เดือนแรก และกระทบสูงสุดที่ช่วงอายุ 2 ถึง 3 เดือน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับในทารก
    • การนอนหงายให้การป้องกันแก่ทารกของท่านจากโรคไหลตายในทารก (SIDS) ได้ดีที่สุด
  2. สาเหตุอื่น ๆ เช่น หายใจลำบาก ตกจากที่นอน ฯลฯ

II. สภาพแวดล้อมการนอนหลับที่ปลอดภัย

  1. ทารกของท่านควรนอนในห้องเดียวกันกับท่านแต่นอนคนละเตียง

    เพื่อความปลอดภัยและเพื่อการดูแลทารกอย่างง่าย ๆ สำหรับทารกของท่าน เมื่อทารกอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบ (โดยเฉพาะ 6 เดือนแรก) แนะนำให้นอนบนเตียงพับได้ข้างเตียงของท่าน

    หากวางเตียงพับในห้องนอนของท่านไม่ได้ ท่านอาจให้ทารกนอนเปลบนที่นอนแยกกับท่านได้ ทารกควรมีผ้าห่มของตัวเอง ตรวจสอบว่าเครื่องนอนของท่านไม่คลุมทับศีรษะและใบหน้าทารกเพื่อป้องกันการหายใจไม่ออก

  2. หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของบนเตียงทารกของท่าน

    ห้ามวางสิ่งของที่นุ่มและและเครื่องนอนหลวม ๆ ตรงบริเวณที่ทารกของท่านนอนหลับเพื่อป้องกันการหายใจไม่ออก เช่น หมอน ผ้าอ้อม ผ้าห่มขนฟู หรือผ้านวม หมอนข้าง ตุ๊กตาอัดนุ่น ฯลฯ

  3. ความปลอดภัยของฟูกนอนและเตียงเด็ก
    • ไม่ให้มีช่องว่างระหว่างฟูกนอนและด้านข้างของเตียงเด็ก
    • ช่องว่างระหว่างลูกกรงแนวตั้งควรน้อยกว่า 6 ซม.
    • ดึงและล็อกลูกกรงเตียงเด็กขณะทารกกำลังหลับอยู่ในเปล
    • ใช้ ฟูกนอนที่แข็งแรงและมีขนาดพอดี ห้ามให้ทารกนอนบนผ้าห่ม หมอน ผ้าหนังแกะ เก้าอี้บีนแบ็กหรือโซฟา ฯลฯ
  4. รักษาสภาพแวดล้อมให้ปลอดบุหรี่

    ห้ามสูบบุหรี่ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าแม่ที่สูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์และทารกที่รับควันบุหรี่มือสองจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไหลตายในทารก (SIDS)

  5. รักษาอุณหภูมิให้สบาย

    เสื้อผ้าบางเหมาะสำหรับทารก ห้ามให้ทารกสวมเสื้อผ้าหลายชั้นหรือทำให้ทารกของท่านร้อนจากการใส่เสื้อผ้า โปรดจำไว้ว่าต้องทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก และอุณหภูมิที่สบาย

III. การป้อนนมแม่

ป้อนนมแม่แก่ทารกของท่าน

การวิจัยพบว่า การป้อนนมแม่ มีแนวโน้มช่วยป้องกันโรคไหลตายในทารก (SIDS) โดยตรง เราแนะนำอย่างยิ่งให้ป้อนนมแม่เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้านทั้งต่อผู้เป็นแม่และทารก

IV. การก่อภูมิคุ้มกัน

พาทารกของท่านไปฉีดภูมิคุ้มกันให้ครบ

พาทารกของท่านไปรับภูมิคุ้มกันให้ครบ หลักฐานล่าสุดเปิดเผยว่า การก่อภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันการติดเชื้อและลดความเสี่ยงการเป็นโรคไหลตายในทารกได้ (SIDS)

เหตุการณ์ดังต่อไปนี้อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อทารกของท่านเมื่อนอนเตียงเดียวกัน

  • ทารกที่นอนเตียงเดียวกันกับท่าน งไม่โตเต็มที่ มี น้ำหนักตัวแต่กำเนิดน้อย หรือ อายุน้อยกว่า 4 เดือน
  • ทารกที่นอนหลับกับ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือแม่ที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
  • ผุู้ดูแลที่นอนเตียงเดียวกันกับทารกมี ความตื่นตัวลดลงเพราะความเหนื่อยล้า แอลกอฮอล์ หรือยา
  • การใช้ ฝูกนอนนุ่ม เครื่องนอนหลวม หรือ วัตถุนุ่ม เช่น หมอนบนเตียง หรือให้ทารกของท่านนอนบนโซฟานุ่ม เตียงน้ำ เก้าอี้นอนหรือเก้าอี้นวม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจทับใบหน้าหรือศีรษะทารกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทารกกลิ้งไปด้านหน้า
  • ทารกที่นอนเตียงร่วมกับ บุคคลที่นอกเหนือจากผู้ปกครองของเขา (เช่น เด็กหรือผู้ใหญ่คนอื่น ๆ)

คำแนะนำจากเรา

ให้ทารกของท่านนอนหงายบนเตียงของเขา!

ท่านอาจอ่านแหล่งอ้างอิงที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย:

แหล่งข้อมูลโสตทัศน์:

คำถามที่พบบ่อย

(1) ฉันควรนอนกับทารกหรือไม่เพื่อจะได้ให้นมง่ายขึ้น

ผู้เป็นแม่บางคนอาจต้องป้อนนมบ่อยครั้ง ทางที่ดีที่สุดคือให้ทารกนอนบนเตียงเด็กพับข้าง ๆ เตียงของท่านโดยตรง วิธีนี้ท่านสามารถให้นมทารกได้ทั้งเมื่อนั่งหรือนอนบนเตียงทุกเมื่อที่ทารกต้องการ ให้ทารกนอนหงายบนเตียงของเขาหลังจากดื่มนมพอแล้ว วิธีนี้ไม่เพียงแต่สะดวกแต่ยังได้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ท่านจะหลับสบายขึ้นและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของทารกเมื่อทารกนอนบนเตียงตนเอง
  • ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไหลตายในทารก (SIDS) โดยการหลีกเลี่ยงการนอนเตียงเดียวกันกับทารก
  • ซึ่งช่วยให้ทารกพัฒนาพฤติกรรมการนอนหลับเพื่อสุขภาพโดยไม่พึ่งการดื่มนมจากอกแม่ในการนอนหลับ

(2) ทารกของฉันต้องใช้หมอนสำหรับทารกหรือไม่

  • ทารกมักนอนหลับสนิทโดยไม่ใช้หมอน
  • การวิจัยพบว่าหมอนนุ่มใบใหญ่เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคไหลตายในทารก (SIDS) จึงไม่แนะนำสำหรับทารก มีหลักฐานจำกัดว่าหมอนใบเล็กสำหรับทารกนั้นปลอดภัยหรือเป็นอันตรายกันแน่

(3) ควรให้ทารกของฉันใช้จุกนมหลอกเพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคไหลตายในทารก (SIDS) หรือไม่

  • การวิจัยพบว่าทารกที่ใช้จุกนมหลอกมีความเสี่ยงการเป็นโรคไหลตายในทารก (SIDS) ลดลง
  • อย่างไรก็ตามจุกนมหลอกอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบได้
  • จุกนมหลอกอาจส่งผลต่อทารกบางคนเมื่อเขาเรียนรู้ที่จะดูดนมจากอกแม่ก่อน ดังนั้นหากท่านให้นมทารก ท่านอาจพิจารณาให้จุกนมหลอกกับทารกของท่านหลังจากทารกอายุมากกว่า 1 เดือนเพื่อให้มั่นใจว่าการให้นมแม่นั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
  • ใช้จุกนมหลอกเมื่อให้ทารกหลับเท่านั้น และหากทารกของท่านทำจุกนมหลอกหล่นขณะหลับไม่จำเป็นต้องใส่จุกนมหลอกให้กับทารกอีก
  • ห้ามบังคับให้ทารกของท่านใช้จุกนมหลอก
  • ห้ามเคลือบจุกนมหลอกด้วยน้ำหวาน ให้ทำความสะอาดบ่อย ๆ และเปลี่ยนใหม่อย่างสม่ำเสมอ

(4) อย่างไรให้ทารกของฉันลดการแหวะนมเมื่อฉันจับเธอวางลงบนเตียง

ทารกแรกเกิดจำนวนมากแหวะนมเล็กน้อยหลังจากการป้อน ขณะเรอ หรือเมื่อนอนราบเนื่องจากระบบทางเดินอาหารของพวกเขายังไม่เติบโตเต็มที่ เพื่อลดโอกาสการแหวะนม หลีกเลี่ยงการป้อนนมที่มากเกินไปแก่ทารกของท่าน หยุดป้อนเมื่อทารกแสดงสัญญาณว่าอื่มแล้ว ทำให้ทารกเรอหลังป้อนและช่วงพักสั้น ๆ ระหว่างการป้อนเสมอ ให้ทารกนั่งตัวตรงเป็นเวลา 10 ถึง 20 นาทีก่อนให้ทารกนอนลงบนเตียงจะช่วยลดการแหวะนมได้ ไม่จำเป็นต้องยกศีรษะทารกสูงเมื่อนอนบนเตียง จัดให้ทารกนอนหงายถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ท่านสามารถทำได้เพื่อช่วยป้องกันโรคไหลตายในทารก (SIDS) และจะไม่เพิ่มโอกาสการสำลักในทารกแรกเกิด ดังนั้นท่านจึงไม่ต้องกังวลเรื่องท่านอนนี้

หากทารกของท่านไม่สบาย โปรดรับคำปรึกษาจากแพทย์ของท่าน

ให้ความสนใจเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้กับทารกในขณะหลับ

  • ให้ทารกนอนหงายโดยที่ไม่มีสิ่งใดคลุมใบหน้าและมือ
  • สภาพแวดล้อมปลอดบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของตรงบริเวณที่ทารกของท่านนอนหลับ
  • ให้ทารกนอนบนเตียงเด็กห้องเดียวกับท่าน
  • ใช้ฟูกนอนที่แข็งแรง
  • อุณหภูมิที่สบาย