การเลี้ยงดูบุตรชุดที่ 13 - การสื่อสารด้วยคำพูดสำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

หลังวันเกิดปีที่สอง ด้วยคลังคำศัพท์ที่เขาสร้างขึ้น บุตรของท่านจะสามารถแสดงออกถึงความต้องการของเขาได้มากขึ้นทางคำพูด การจัดให้มีสภาพแวดล้อมด้านภาษาที่เหมาะสมพร้อมกับกิจกรรมด้านภาษาจะช่วยบุตรของท่านให้พัฒนาภาษาของเขาให้เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร การเรียนรู้และการคิดได้ เนื่องจากเด็ก ๆ มีความแตกต่างกันในจังหวะของพัฒนาการด้านภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการแสดงออก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจระดับความสามารถด้านภาษาของบุตรท่าน

ลักษณะเฉพาะของการพัฒนาด้านภาษาสำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี

ด้านล่างคือคำอธิบายทั่วไปสั้น ๆ ของการพัฒนาภาษาสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ถึง 4 ปี รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้ในชุดแผ่นพับการพัฒนาเด็ก

อายุโดยประมาณ

ความเข้าใจ

การแสดงออก

2-3 ปี

เข้าใจคำถามง่าย ๆ "ใช่/ไม่ใช่" "อะไร" และ "ที่ไหน"

  • พูดเป็นวลีหรือประโยคง่าย ๆ เช่น "แม่ต้องการคุกกี้"
  • เริ่มใช้สรรพนาม
  • เมื่ออายุ 3 ปี พูดประโยคสั้น ๆ พร้อมสรรพนามได้ เช่น "ผมต้องการแก้วของผม"
  • ใช้คำคุณศัพท์ เช่น "สวย" "ร้อน"
  • ชอมถามคำถาม "อะไร" "ที่ไหน"

3-4 ปี

ปฏิบัติตามคำสั่งประจำวันได้ เช่น "เอาเสื้อยืดไปใส่ในตะกร้าซักผ้าในห้องน้ำ"

  • อธิบายเหตุการณ์และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นโดยใช้คำง่าย ๆ
  • ชอบถามคำถามว่า "ทำไม"
  • เมื่ออายุ 4 ปี จะพูดได้คล่องแคล่ว

จะจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอย่างหลากหลายได้อย่างไร

พูดคุยกับบุตรของท่าน

ท่านคือบุคคลที่ใกล้ชิดที่สุดและคือแบบอย่างให้กับบุตรของท่าน การใช้โอกาสในทุกวันเพื่อพูดคุยกับบุตรของท่านจะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์การฟังและการพูดของเธอ

  • การอธิบายการกระทำของท่าน

    อธิบายบุตรของท่านว่าท่านกำลังทำอะไรอยู่ เช่น "แม่กำลังหยิบเสื้อผ้าในลิ้นชัก" พิจารณระดับความเข้าใจของบุตรท่านและใช้คำที่ชัดเจนและสั้นกระชับ

  • การใช้คำถาม

    ใช้คำถามอย่างเหมาะสมเพื่อดึงความคิดและคำพูดจากบุตรของท่าน เช่น "หนูอยากกินขนมปังไหม" "หนูกำลังทำอะไรจ๊ะ" เมื่อคลังคำศัพท์ของเธอขยายขึ้น ให้ใช้คำถามปลายเปิดมากขึ้นเช่น "หนูอยากกินอะไรเป็นอาหารเช้าจ๊ะ" แทนคำถามปลายปิด วิธีนี้สามารถส่งเสริมเธอให้อธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่เธอต้องการได้

  • การตอบสนองอย่างกระตือรือร้น

    เด็กอายุ 3 ปี โดยทั่วไปมักจะแสดงออกและอยากรู้อยากเห็น เมื่อเธอเข้าหาท่าน ให้ท่านพยายามหยุดสิ่งที่ท่านทำอยู่และให้ความสนใจในสิ่งที่เธอพูด สนับสนุนให้เธอพูดโดยการยิ้ม ผงกหัวหรือพูดชมเชย อดทนรอให้เธอพูดให้จบก่อนที่ท่านจะโต้ตอบ

  • การเพิ่มคำและกรอบความคิดใหม่ ๆ

    การเพิ่มกรอบความคิดใหม่แก่สิ่งที่บุตรของท่านพูดจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเธอ เช่น เมื่อเธอพูดว่า "แม่ อยากได้คุกกี้" ท่านสามารถตอบโดยการพูดว่า "หนูหิวและต้องการให้แม่เอาคุกกี้ให้หนู" อีกตัวอย่างเมื่อเธอพูดว่า "หมาวิ่งมาที่นี่" ท่านสามารถโต้ตอบโดยการพูดว่า "โอ้ ใช่ มีหมาสีขาวตัวหนึ่ง หมาสีดำตัวหนึ่งก็กำลังมาด้วย"

  • การเรียนรู้ในบรรยากาศธรรมชาติ

    บุตรของท่านอาจพูดประโยคสั้น ๆ ที่ไม่ถูกหลักไวยกรณ์ เช่น "ทำไมไม่ใช่หนูเล่นได้" แทนที่จะพูดว่า "ทำไมหนูเล่นไม่ได้" เช่นกัน ส่วนใหญ่เธออาจไม่สามารถออกเสียงได้ถูกต้องจนกว่าจะอายุสี่ปี อย่าทำให้เธออาย แค่พูดซ้ำคำพูดของเธอให้ถูกต้องและไม่ต้องไปขอให้เธอเลียนแบบท่าน เช่น เมื่อเธอพูด "ทู" สำหรับคำว่า "ซุป" ให้พูดง่าย ๆ กับเธอว่า "ใช่ นั่นคือซุป"

การอ่านกับบุตรของท่าน

เด็กอายุ 2 ถึง 4 ปี จะชอบการอ่าน เขาจะเพลิดเพลินกับการนั่งบนตักของท่านและมองภาพต่าง ๆ ในขณะที่ท่านกำลังอ่านให้เขา พยายามแบ่งเวลาอ่านหนังสือกับเขาทุกวัน เพราะไม่เพียงจะส่งเสริมความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตรของท่านเท่านั้น แต่ยังจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาภาษา จินตนาการและการคิดของบุตรของท่านอีกด้วย

เลือกหนังสืออย่างไร
  1. หนังสือควรมีสีสันและภาพที่วาดชัดเจน
  2. ภาพควรจะสมเหตุผลในการบอกเล่าเรื่องราวโดยที่ไม่ต้องมีคำประกอบ คำที่เขียนควรเรียบง่ายและสั้นกระชับ
  3. เนื้อหาควรเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กและอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่คุ้นเคยกับเขาได้
อ่านหนังสือกับบุตรของท่านอย่างไร
  1. ให้บุตรของท่านเลือกหนังสือและหน้าที่จะอ่าน
  2. ให้บุตรของท่านนั่งบนตักของท่านหรือข้าง ๆ ท่านและอ่านด้วยกันกับเขา
  3. ให้เขาช่วยถือหนังสือหรือพลิกหน้าหนังสือ
  4. ชี้ที่รูปภาพในขณะที่ท่านพูดกล่าวถึงพวกเขา
  5. แนะนำเขาให้สังเกตและอธิบายภาพหรือบอกเล่าเรื่องราวให้กับท่าน
  6. เมื่ออ่านนิทานกับเขา ละคำหรือส่วนของประโยคเพื่อให้เขาเติมเป็นครั้งคราว หยุดและถามคำถาม เช่น "จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป" วิธีนี้จะช่วยให้บุตรของท่านเรียนรู้ที่จะอธิบายเหตุการณ์และพัฒนาการให้เหตุผลเชิงตรรกะได้
  7. เด็ก ๆ ชอบที่จะได้ยินนิทานเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ใช้ลักษณะเฉพาะพิเศษนี้และปรับใช้เทคนิคข้างต้นเพื่อค่อย ๆ แนะนำบุตรของท่านให้บอกเล่านิทานที่คุ้นเคยด้วยตัวเขาเอง
  8. อย่าลืมที่จะแสดงความสนใจและให้คำยกย่องชมเชยและสนับสนุนในสิ่งที่เขาพูด
  9. อย่าใส่ความกดดันกับเด็กโดยการเรียกร้องให้เขาสะกดหรืออ่านคำต่าง ๆ เพราะมันเพียงแต่จะทำให้การอ่านน่าเบื่อและเป็นงานที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับเขา

การเล่นกับบุตรของท่าน

เด็กอายุ 2 ถึง 4 ปี ชอบที่จะพูดกับตนเองขณะเล่น เธอชอบเล่นหลายบทบาทที่เธอพบในชีวิตประจำวันหรือพูดเกี่ยวกับจิตนาการของเธอ

พูดคุยกับบุตรของท่านขณะเล่นกับเธอโดยใช้เทคนิคการสื่อสารที่กล่าวถึงในส่วน "การพูดคุยกับบุตรของท่าน"

การมีกิจกรรมเสียงเพลงกับบุตรของท่าน

จังหวะดนตรีดึงดูดความสนใจและสมาธิของเด็ก การฟังเสียงดนตรีและร้องเพลงกับเธอยังสามารถช่วยส่งเสริมในเรื่องพัฒนาการด้านภาษาของบุตรของท่านได้อีกด้วย ทำเนื้อเพลงของท่านขึ้นมาและใส่จังหวะที่คุ้นเคยเข้าไป เช่น "London Bridge is falling down" อาจจะเปลี่ยนเป็น "Leaves from trees are falling down' หรือ 'London Bridge is long and tall' การเพิ่มการเคลื่อนไหวจะทำให้สนุกยิ่งขึ้น

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษา

จะสนับสนุนบุตรของฉันให้พูดต่อหน้าคนอื่น ๆ ได้อย่างไร

เด็ก ๆ ควรเรียนรู้ที่จะพูดในบรรยากาศปกติ การบังคับให้บุตรของท่านพูดหรือแสดงต่อหน้าผู้คนมีแต่จะเป็นการกดดันทั้งสองฝ่าย อนุญาตให้เขาทักทายโดยการผงกหัวหรือยิ้มเมื่อพบคนแปลกหน้า เด็ก ๆ โดยปกติจะเริ่มพูดคุยหลังจากที่พวกเขาได้เตรียมพร้อมจนรู้สึกผ่อนคลายแล้ว

บุตรของฉันพูดติดอ่างเมื่อเธอกระตือรือร้นที่จะบอกฉันบางอย่าง แบบนี้เธอผิดปกติหรือเปล่า

สำหรับเด็กอายุ 2 ถึง 3 ปี เมื่อพวกเขากำลังพูด เป็นเรื่องปกติที่เขาจะทำซ้ำเสียง ซ้ำพยางค์และซ้ำคำพูด บ่อยครั้งที่พฤติกรรมแบบนี้จะเกิดขึ้นภายใต้ความกดดันหรือเร่งรีบ ซึ่งไม่ใช่การพูดติดอ่างแต่เป็นการพูดซ้ำตามปกติเมื่อพูดไม่คล่อง ในที่สุดภาวะนี้อาจจะหายไปเมื่อบุตรของท่านโตเต็มที่ แทนที่จะทำให้เขาอายหรือวิจารณ์เขา ให้อดทนที่จะฟังเธอโดยไม่ขัดจังหวะหรือเร่งเร้า หลีกเลี่ยงการพูดเร็วเกินไปเพื่อให้เด็กเลียนแบบ หากการทำซ้ำยังคงมีนัยสำคัญหรือยังมีอยู่หลังอายุสี่ปี ให้ปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัดการพูด

ฉันได้จ้างพี่เลี้ยงชาวฟิลิปปินส์มาดูแลลูกของฉัน สภาพแวดล้อมสองภาษาจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของบุตรของฉันหรือไม่

ไม่มีหลักฐานจากงานวิจัยว่าการพูดได้สองภาษาจะทำให้เกิดความผิดปกติทางภาษาในเด็ก ในสภาพแวดล้อมที่มีการป้อนเข้าทั้งสองภาษาที่มีคุณภาพและเพียงพอ เด็ก ๆ จะสามารถได้รับทั้งสองภาษาและได้รับพัฒนาการต่าง ๆ ท่ามกลางเด็กที่มีการพัฒนาภาษาล่าช้า นักวิจัยบางท่านเสนอว่าเด็กสองภาษาสามารถที่จะได้รับความสามารถทางภาษาที่เหมือนกับเพื่อน ๆ ที่ได้ภาษาเดียวโดยไม่มีข้อเสียเปรียบพิเศษใด ๆ อย่างไรก็ตาม อาจคาดหวังได้ว่าจะมีความล่าช้าของทั้งสองภาษา ดังนั้นหากการพูดได้สองภาษาเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่บ้าน ข้อจำกัดในการใช้ภาษาอาจไม่จำเป็น

การดูผลิตภัณฑ์หน้าจออิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยบุตรของฉันให้พูดได้หรือไม่

ผลิตภัณฑ์หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ให้ภาพที่ดึงดูดเพื่อสะกดความสนใจของเด็กและมีไอเดียมากมายสำหรับผู้ปกครองที่จะเอาไว้พูดคุยกับบุตรของเขา อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้การสื่อสารทางเดียวแทนที่จะเป็นการสื่อสารแบบโต้ตอบ คอมพิวเตอร์หรือแอปมือถือบางตัวอาจมีการโต้ตอบแต่พวกมันอาจสร้างเสียงหรือภาพที่ไม่จำเป็นซึ่งอาจเบี่ยงเบนความสนใจเด็ก ๆ ไม่ให้เข้าถึงเนื้อหาได้ คุณภาพของเนื้อหาอาจจำเป็นต้องมีการคัดกรองอย่างระมัดระวังอีกด้วย เลือกเนื้อหาที่คัดกรองบนอุปกรณ์เหล่านี้ให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของบุตรของท่าน จำกัดเวลาหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ ดูด้วยกันและพูดคุยกับเขา แนะนำเขาให้เข้าใจเนื้อหาและเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของเขาต่อการแสดงหรือกิจกรรม จำกัดเวลาหน้าจอกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ให้เกินหนึ่งชั่วโมงสำหรับเด็กอายุ 2 ปี ใช้เวลาคุณภาพกับบุตรของท่านคือวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการส่งเสริมด้านภาษา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ้างอิง “บุตรอายุ 0-5 ปีของท่านต้องการผลิตภัณฑ์หน้าจออิเล็กทรอนิกส์หรือไม่

เรามีชุดเวิร์กชอปและแผ่นพับสำหรับผู้ปกครองที่ตั้งครรภ์ ผู้ปกครองของทารกแรกเกิดและเด็กก่อนวัยเรียน โปรดติดต่อบุคลากรทางการบริการสุขภาพของเราสำหรับข้อมูล