เวลาหน้าจอของบุตรของท่าน: ระวังเรื่องประเภทและเวลา

(จัดพิมพ์เดือนก 05/2020)

สื่อบนหน้าจอทำให้เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยสื่อมีการนำเสนอผ่านภาพและเอฟเฟคเสียงที่น่าดึงดูดใจ สื่อบนหน้าจอได้กลายเป็นหนึ่งในสื่อการเรียนรู้สามัญสำของเด็ก อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยในเรื่องผลกระทบถาวรต่อการเรียนรู้ของทารกและเด็กก่อนวัยเรียนจากอุปกรณ์หน้าจอ การวิจัยระดับสากลได้ยืนยันว่ากิจกรรม "เวลาหน้าจอ" เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาส่วนมากจดจ่ออยู่กับที่ และการดูหน้าจอมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อเด็ก องค์การอนามัยทั่วโลกจึงแนะนำให้จำกัดเวลาการดูหน้าจอของเด็ก กรมอนามัยฮ่องกงได้ปฏิบัติตามแนวทางองค์การอนามัยโลกและได้แนะนำผู้ปกครองว่าควรจำกัดเวลาดูหน้าจอไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวันสำหรับเด็กอายุ 2 ถึง 5 ขวบ และควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กที่อายุ 2 ขวบหรือต่ำกว่าใช้อุปกรณ์หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ เว้นแต่ดูวิดีโอสนทนาโต้ตอบภายใต้การแนะนำของผู้ปกครอง อย่างไรก็ตามเวลาการดูหน้าจอของเด็กนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อพวกเขาต้องอยู่ในบ้านเพราะพวกเขาต้องใช้หน้าจอเพื่อการศึกษาโดยครอบครัว เพื่อติดต่อผู้คนในสังคมผ่านวิดีโอแชท หรือใช้เพื่อฆ่าเวลาช่วงโรคระบาด ในขณะที่ดำเนินการจำกัดเวลาการใช้อุปกรณ์นั้นผู้ปกครองมีการเลือกอุปกรณ์หน้าจอที่เหมาะสมอย่างไรและมีการเลือกกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร? ท่านอาจพิจารณา "3 Cs" ด้านล่างนี้:

เด็ก (Child):

  • เลือกตาม อายุ ความสามารถ และ ความชอบ ของเด็ก
  • ทบทวนประสิทธิภาพของเด็ก (เช่น พวกเขาสนใจกิจกรรมบนหน้าจอหรือเปล่า การเรียนรู้มีประสิทธิภาพแค่ไหน) เป็นประจำเพื่อตัดสินใจว่ากิจกรรมบนหน้าจอนั้นเหมาะสมหรือไม่

บริบท (ที่มีการใช้สื่อบนหน้าจอ) (Context):

  • ผู้ปกครองเป็นตัวบริบทที่สำคัญที่สุดสำหรับการใช้อุปกรณ์หน้าจอของเด็ก! งานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าหากไม่มีการชี้แนะอย่างต่อหน้าจากผู้ใหญ่ ทารกและเด็กวัยหัดเดินจะนำสิ่งที่เรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในชีวิตจริงได้น้อยกว่าและการเรียนรู้นั้นก็จะมีประสิทธิภาพน้อยลงอย่างมาก เด็กเล็กสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าหากมีผู้ใหญ่คอยให้คำอธิบายเพิ่มเติม คอยตอบคำถาม และคอยช่วยประยุกต์เนื้อหามาใช้ในชีวิตประจำวัน

เนื้อหา (Content):

การพิจารณาคุณภาพกิจกรรมบนหน้าจอ

เนื้อหาที่เหมาะสม เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
  • สิ่งดึงดูดความสนใจและการมีส่วนร่วมกับเด็ก
  • มีองค์ประกอบประเภทโต้ตอบที่คอยรักษาให้เด็กมีสมาธิตลอดเวลา เช่น ตัวละครบนหน้าจอที่มีการหยุดพักเล็กน้อยหลังจากถามคำถามเพื่อให้เด็กมีเวลาตอบ หรือ ให้เด็กเพ่งความสนใจไปที่วัตถุหรือกิจกรรมในชีวิตจริง
  • เป็นสิ่งที่มีความหมายกับเด็ก เช่น เกี่ยวข้องกับชีวิตของเด็ก เป็นประเด็นเนื้อหาที่สอดคล้องกัน หรือ มีการเล่าโดยตัวละคร (การ์ตูน) ที่เด็กรู้จัก
  • สนับสนุนให้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง เช่น การขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เขาได้เรียนรู้กับผู้ปกครอง
  • มีเนื้อหาที่เบี่ยงเบนความสนใจและไม่จำเป็นมากเกินไป (เช่น รูปภาพพอปอัปหรือภาพกราฟฟิกพอปอัปแบบทันที)
  • คอยให้เด็กอยู่ในโหมด "ออโตไพลอท" / พักสมอง ด้วยการกระทำอย่างง่าย ๆ เช่น การกดปุ่มบนหน้าจออย่างต่อเนื่อง
  • มีความเป็นนามธรรมมากเกินกว่าที่เด็กจะเข้าใจได้

นอกจากนี้ "3 Cs" แนะนำให้ผู้ปกครองพิจารณา "4 Ss" ด้านล่างนี้เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งานหน้าจอ

  1. ยึดกฏแต่ไม่ใช้มากจนเกินไป (Stay with rules without overuse)
    • ตั้งกฏแบบง่าย ๆ สำหรับการใช้อุปกรณ์หน้าจอให้เด็กล่วงหน้า ประกอบไปด้วยเวลาและสถานที่ในการใช้อุปกรณ์หน้าจอ การจำกัดเวลา และ กฏต่าง ๆ เช่น "ให้ขอพ่อ/แม่ก่อนใช้งาน" และกำหนดเวลาและสถานที่ที่ "ห้ามใช้อุปกรณ์หน้าจอ" เช่น ห้ามใช้ในห้องนอนหรือระหว่าง / หลังรับประทานอาหารเย็น ไม่ควรใช้หน้าจอนานเกินไปและสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้หากมีการตั้งข้อจำกัดล่วงหน้า
    • เนื่องจากเด็กก่อนวัยเรียนยังไม่เข้าใจแนวคิดเรื่องเวลา ผู้ปกครองจึงสามารถแจ้งเตือนหรือเตือนความจำล่วงหน้าก่อนที่กิจกรรมบนหน้าจอจะจบลง เช่น การใช้อุปกรณ์อย่าง ตัวจับเวลา นาฬิกาทราย หรือการบอกกับบุตรล่วงหน้าว่า "พ่อ/แม่จะปิดเครื่องเมื่อรายการจบ"
  2. อยู่อย่างสุขภาพดีในชีวิตประจำวัน (Stay healthy with routines)
  3. อยู่ให้ห่างจากการใช้ “จุกนมหลอกอิเล็กทรอนิกส์” (Stay away from “electronic pacifier”)
    • ผู้ปกครองรู้หรือไม่ว่าสามารถอนุญาตให้บุตรใช้อุปกรณ์หน้าจอในโอกาสใดได้บ้าง เมื่อท่านหรือบุตรของท่านอารมณ์เป็นกลาง ไม่ขึ้น ๆ ลง ๆ เมื่อท่านรู้สึกเหนื่อย เมื่อบุตรของท่านรู้สึกเบื่อ อุปกรณ์หน้าจอจะเป็นสิ่งที่คอยแก้ปัญหาและใช้เป็นรางวัลให้แก่บุตร
    • กิจกรรมบนหน้าจอมักมีเวทมนตร์ที่สามารถสงบใจของเด็กได้อย่างทันทีทันใดและทำให้ท่านผู้ปกครองได้มีเวลาพัก แต่หากเด็กต้องพึ่งอุปกรณ์ในการจัดการกับอารมณ์เชิงลบและใช้ฆ่าเวลาแบบไม่เกิดประโยชน์ เขาก็จะไม่สามารถเรียนรู้การควบคุมอารมณ์และควบคุมตนเองได้
    • หากท่านพบว่าตัวท่านพึ่งพาการใช้อุปกรณ์หน้าจอเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมและปัญหาทางอารมณ์ของบุตร ท่านต้องทบทวนการอบรมบุตรของท่าน และท่านต้องหากิจกรรมทางเลือกและรางวัลมาแทนที่การใช้อุปกรณ์หน้าจอนั้น ผู้ปกครองอาจปรึกษากับสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัวและมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
    • o หากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอบรมบุตร ท่านสามารถดูแผ่นพับเรื่อง การอบรมเด็กวัยหัดเดินของท่านในเชิงบวกการจัดการพฤติกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน I และ II
  4. เป็นบุคคลต้นแบบ (Set a role model)
    • การศึกษาแสดงให้เห็นว่าแบบอย่างการใช้อุปกรณ์ของผู้ปกครองไม่เพียงแต่ส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและบุตร แต่ยังกระตุ้นให้บุตรเลียนแบบตาม ท่านมักจะใช้อุปกรณ์หน้าจอโดยไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ใช่ไหม ท่านได้รับการเบี่ยงเบนความสนใจจากข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้ท่านออกห่างจากการมีส่วนร่วมกับบุตรของท่าน หรือทำให้ท่านไม่ได้ตอบสนองความต้องการบุตรของท่านอย่างทันท่วงทีใช่หรือไม่ ท่านควรออกห่างอุปกรณ์หน้าจอของท่านและไม่ดูมันระหว่างทำกิจกรรมผู้ปกครองและบุตรเพื่อให้ตนเองอยู่กับบุตรของท่านและแสดงวิธีการที่ดีต่อการใช้อิเล็กทรอนิกส์
    • ท่านมักเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ที่บ้านและปล่อยให้บุตรของท่านดูหน้าจอโทรทัศน์ หรือท่านดูรายการที่ไม่เหมาะสมร่วมกับบุตรของท่านใช่หรือไม่ การศึกษาพบว่าการกระทำนี้อาจส่งผลเชิงลบต่อพัฒนาการของเด็ก
    • เป็นเรื่องปกติที่สมาชิกในครอบครัวจะมีความคิดที่แตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ปกครองจำเป็นต้องระวังในเรื่องการเป็นแบบอย่างและทัศนคติในการใช้อุปกรณ์หน้าจอของตนเองและของสมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว ผู้ปกครองจำเป็นต้องคุยกับสมาชิกในครอบด้วยมุมมองหลายๆอย่างและคิดหาวิธีการปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์หน้าจอที่บุตรยอมรับได้