การดูแลอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณตะโพก

อาการปวดหลังและกล้ามเนื้อบริเวณตะโพกเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในการตั้งครรภ์ระยะท้าย ๆ

การเคลื่อนไหวที่ทำให้ปวดข้อต่อเชิงกรานและหัวเหน่ามากขึ้น

  • การลุกขึ้นจากที่นั่ง
  • การพลิกตัวบนเตียง
  • การเดิน
  • การเดินขึ้นหรือลงบันได
  • การยืนขาเดียว
  • การนั่งยอง ๆ

อาการปวดมักจะมีความรุนแรงขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ระยะท้าย ๆ และอาจยังคงอยู่หลังจากคลอดแล้ว

สาเหตุ

ความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้เส้นเอ็นยึดขยายตัวออก ซึ่งทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน (บริเวณที่กระดูกสันหลังช่วงล่างและกระดูกเชิงกรานเชื่อมต่อกัน) และข้อต่อหัวเหน่าหลวม

เพื่อลดอาการปวด ท่านควรทำให้ร่างกายอยู่ในท่าที่ดีอยู่เสมอและใส่ใจกับการเคลื่อนไหวร่างกายของท่าน

  1. หลีกเลี่ยงการอ้าขาที่กว้างเกินไป เช่น การนั่งยอง ๆ หรือ การนั่งบนม้านั่งต่ำ
  2. หลีกเลี่ยงการยืนขาเดียว และให้นั่งลงขณะแต่งตัว เช่น ขณะใส่รองเท้า ถุงเท้า หรือ กางเกง
  3. การถ่ายเทน้ำหนักไปที่ขาสองข้างไม่เท่ากัน เช่น การเดินขึ้นและลงบันได หรือ การเดินบนทางลาด สามารถทำให้อาการปวดที่กระดูกเชิงกรานแย่ลงได้
    • เพื่อลดอาการปวดในขณะเดินขึ้นหรือลงบันได ท่านควรเดินขึ้นหรือลงทีละก้าวและจับราวบันได้ขณะเดินขึ้นหรือลง
    • ในขณะที่ลงบันได ให้งอเข่าก่อน และก้าวขาข้างที่ปวดมากกว่านำ และตามด้วยอีกข้างตามลงบนขั้นบันไดเดียวกัน
    • ในการเดินขึ้นบันได ให้ก้าวขาข้างที่ปวดน้อยกว่านำ และตามด้วยอีกข้าง
  4. หลีกเลี่ยงการยกของหนักหากมีอาการปวดที่กระดูกเชิงกราน และให้ขอความช่วยเหลือแทน (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ้างถึง “การยกของหนัก”).
  5. เมื่อจะขึ้นเตียง
    1. ให้เก็บขาเข้าหากันและงอเข่า
    2. พลิกตัวไปที่ด้านข้าง
    3. ในการลุกออกจากเตียง ให้ใช้แขนของท่านผลักตัวขึ้นไปในท่านั่ง
    4. เมื่อจะลุกขึ้นยืน ให้กางขาออกโดยให้เท้าเสมอกับหัวไหล่ วางมือไว้ที่ต้นขาและเอนตัวไปข้างหน้า

ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหน้าท้องชนิดลึกเป็นประจำ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อต่อเชิงกราน และลดอาการปวดที่กระดูกเชิงกรานและหัวเหน่าได้

(ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นโดยกรมอนามัยและแผนกกายภาพบำบัดขององค์การโรงพยาบาล)