ข้อเท็จจริงที่สำคัญสำหรับการวางแผนการตั้งครรภ์

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

โบรชัวร์นี้ช่วยให้ท่านและคู่รักเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนการตั้งครรภ์ ซึ่งช่วยท่านและคู่รักของท่านในการเตรียมความพร้อมตนเอง ปรับปรุงเรื่องสุขภาพและโภชนาการของท่าน ซึ่งหวังว่าทารกในครรภ์จะสามารถพัฒนาและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ต้องการ และเพื่อช่วยลดความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ขณะตั้งครรภ์ด้วย

  1. รักษาสมดุลอาหารอยู่เสมอเพื่อให้ได้สารอาหารที่เหมาะสม

    ประกอบด้วยอาหารทั้ง 5 หมู่ทุกวัน รวมถึงธัญพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ปลา ไข่และผลิตภัณฑ์ทางเลือก นมและผลิตภัณฑ์ทางเลือก การรับประทานอาหารอย่างหลากหลายช่วยให้เรารับสารอาหารต่าง ๆ ที่เราต้องการ

    • ไขมัน/น้ำมัน เกลือและน้ำตาล (ปริมาณบริโภคน้อยที่สุดของเพศชายและเพศหญิง)
    • นมและผลิตภัณฑ์ทางเลือก (ปริมาณบริโภค เพศชาย 2 แก้วต่อวัน เพศหญิง 1 ถึง 2 แก้วต่อวัน)
    • เนื้อสัตว์ ปลา ไข่และผลิตภัณฑ์ทางเลือก (ปริมาณบริโภค เพศชาย 5 ถึง 8 เทล (187.5 กรัม - 300 กรัม) ต่อวัน เพศหญิง 5 ถึง 7 เทล (187.5 กรัม - 262.5 กรัม) ต่อวัน)
    • ผัก (ปริมาณบริโภคอย่างน้อย 3 มื้อต่อวันทั้งชายและหญิง)
    • ผลไม้ (ปริมาณบริโภคอย่างน้อย 2 มื้อต่อวันทั้งชายและหญิง)
    • ธัญพืช (ปริมาณบริโภค เพศชาย 4 ถึง 8 ถ้วยต่อวัน เพศหญิง 3 ถึง 6 ถ้วยต่อวัน)
    • ดื่มน้ำ 6-8 แก้วทุกวัน ที่รวมถึงน้ำเปล่า ชา นม ซุปใส

    ธัญพืชหนึ่งถ้วย = ข้าว 1 ถ้วย หรือเส้นที่ทำจากข้าว 1 ถ้วย หรือมักกะโรนีหรือสปาเกตตีปรุงสุก 1½ ถ้วย หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว 1¼ ถ้วย หรือขนมปังแผ่น (แบบมีเปลือกขนมปัง หั่นจากขนาดหนึ่งปอนด์ได้แปดแผ่น) 2 แผ่น หรือข้าวโอ๊ต (แห้ง) 10 ช้อนโต๊ะ
    ผักหนึ่งมื้อ = ใบผักปรุงสุก ½ ถ้วย
    ผลไม้หนึ่งมื้อ = ส้มหรือแอปเปิล 1 ชิ้นขนาดกลาง
    เนื้อสัตว์หนึ่งเทล = ไข่ 1 ฟอง หรือเต้าหู้ก้อน ¼ ชิ้น

    บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลายเพื่อสารอาหารที่เหมาะสม อาหารที่สมดุลเป็นเครื่องรับประกันว่าเราจะได้รับสารอาหารตามต้องการ ซึ่งช่วยให้ตัวอ่อนได้รับโภชนาการที่ดีที่สุดจากแม่เมื่อท่านตั้งครรภ์

    จำกัดการบริโภคอาหารของท่านที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งแผ่นทอด มันฝรั่งชิ้นทอด เค้กครีม บิสกิต ลูกกวาด อาหารจานด่วน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำหวานและน้ำอัดลม อาหารเหล่านี้มีแคลอรี่สูงอีกทั้งโภชนาการต่ำ การรับประทานมากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

    ลดการรับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีแคลอรี่สูง:

    • รับประทานน้ำเปล่าหรือโซดาแทนน้ำอัดลมและน้ำหวานอื่น ๆ
    • รับประทานผลไม้สดเป็นของหวานหรือขนมซึ่งทำให้สดชื่นและหวาน
    • รับประทานบะหมี่ที่ไม่ได้ทอด เช่น บะหมี่ข้าวและบะหมี่จีนแทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
    • รับประทานถั่วขนมพอประมาณ แม้ว่าถั่วจะมีแคลอรี่สูง แต่ถั่วอุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารอาหาร

    การเลือกอาหารที่หลากหลาย:

    • รับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือขนมปังข้าวสาลีกล้องแทนขนมปังขาว อาหารธัญพืชมีสารอาหารมากกว่าและมีไฟเบอร์ซึ่งเพิ่มความอิ่ม
    • เลือกผักและผลไม้หลากหลายชนิดและหลากสี เช่น แครอท ฟักทอง พริกหวาน ผักขม ดอกกะหล่ำ มะเขือม่วง องุ่น แอปเปิล บลูเบอร์รีและเชอร์รี
    • เลือกอาหารหลากหลายที่อยู่ในกลุ่มเนื้อสัตว์ ปลา ไข่และอาหารทางเลือก ที่ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ และแผ่นเต้าหู้สด
    • นอกจากนม โยเกิร์ตและชีสแล้ว ท่านสามารถเลือกอาหารทางเลือกที่มีแคลเซียมสูงได้ เช่น นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม ผักใบเขียวเข้มและเต้าหู้

    ผู้ใหญ่ในท้องถิ่นมักจะไม่ได้รับธาตุเหล็ก แคลเซียม ไอโอดีนและวิตามิน D ที่เพียงพอ ดังนั้นจึงควรสนใจสารอาหารเหล่านี้เป็นพิเศษ

    • ธาตุเหล็ก
      • ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช ถั่วแห้ง
      • ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักขม ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกวางตุ้งจีน และผักคะน้าใบหยัก
      • ซีเรียลอาหารเช้าที่มีธาตุเหล็ก
    • วิตามิน D
      • การสัมผัสแสงแดดนั้นสำคัญมากในการช่วยให้ท่านได้สร้างและดูดซึมวิตามิน D
      • ไข่แดง แซลมอน นมเพิ่มวิตามิน D และซีเรียลอาหารเช้า
    • แคลเซียม
      • นม โยเกิร์ต ชีส นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม ผักสีเขียวเข้ม เต้าหู้
    • ไอโอดีน
      • สาหร่ายทะเล อาหารทะเล ปลาทะเล ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม
  2. กรดโฟลิกและอาหารเสริมอื่น ๆ

    กรดโฟลิก

    ท่านควรทานอาหารเสริมกรดโฟลิกอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน (ควรมากกว่า 1000 ไมโครกรัม) เมื่อท่านวางแผนการตั้งครรภ์และระหว่างสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของทารกต่อภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (การทำงานของสมองและไขสันหลังผิดปกติ)

    ยิ่งไปกว่านั้น ให้เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิก เช่น ผักใบเขียวเข้ม ถั่ว และถั่วแห้ง ผลไม้และซีเรียลอาหารเช้าที่มีกรดโฟลิก

    ไอโอดีน

    • โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ต้องการไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน ในแต่ละวันคนฮ่องกงไม่ได้รับไอโอดีนที่เพียงพอในโภชนาการของพวกเขา
    • การขาดไอโอดีนอาจทำให้พัฒนาการสมองของทารกช้าได้
    • การเลือกอาหารที่มีไอโอดีนสูงและใช้เกลือไอโอดีนแทนเกลือปกติจะช่วยให้ท่านได้รับไอโอดีนที่เพียงพอ ซึ่งเป็นการรับรองว่าทารกของท่านได้รับไอโอดีนที่เพียงพอเมื่อเขาอยู่ในครรภ์
    • ในอีกทางหนึ่ง ท่านสามารถปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการของท่านเพื่อเลือกอาหารเสริมไอโอดีนที่เหมาะสมเพื่อให้ตรงกับความต้องการ

    มังสวิรัติ

    หากท่านเป็นมังสวิรัติ ท่านอาจได้รับวิตามิน B12 ธาตุเหล็ก กรดไขมันโอเมก้า-3 (เช่น DHA) จากอาหารของท่านไม่เพียงพอ ท่านควรปปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการสำหรับการประเมินสารอาหาร และเลือกอาหารเสริมที่เหมาะสมในประมาณที่แนะนำ

    เพื่อวางแผนการรับประทานอาหารมังสวิรัติอย่างชาญฉลาดhttp://s.fhs.gov.hk/l1pzs

    เคล็ดลับอันชาญฉลาด

    ไม่รับประทานอาหารเสริมผิดวิธี การรับวิตามิน A เกินขนาดอาจทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติ

  3. เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ

    การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและมีวิถีชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงนั้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของท่าน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดโอกาสการมีน้ำหนักเกินระหว่างและหลังการตั้งครรภ์ได้ ออกกำลังกายเป็นเวลา 150 นาทีทุกสัปดาห์ ท่านสามารถสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นระหว่างการออกกำลังกายที่กำลังพอดี หากท่านเพิ่งเริ่มออกกำลังกาย ท่านอาจเลือกกิจกรรมที่ง่าย ๆ ก่อน เช่น การวิ่งเหยาะ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ การว่ายน้ำ ฯลฯ

    • หากท่านไม่สามารถหาเวลาออกกำลังกายได้ ท่านสามารถทำกิจกรรมขยับร่างกายอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน ซึ่งสามารถสะสมจากการแยกเซสชันได้ เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดรายวัน
    • ใช้ขนส่งสาธารณะเมื่อออกไปข้างนอก ออกจากสถานีที่ต้องการลงก่อนหนึ่งสถานีและเดินเร็วไปที่ปลายทาง และเดินขึ้นหรือลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์
    • ทำงานบ้านมากขึ้นเพื่อการเคลื่อนไหวร่างกายของท่าน
  4. รักษาน้ำหนักให้สุขภาพดี

    การมีน้ำหนักที่น้อยหรือมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ของท่าน ผู้หญิงที่มีน้ำหนักที่พอดีมีโอกาสในการคตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

    มาคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ของท่านกัน

    BMI = น้ำหนัก (กก.) ÷ (ส่วนสูง (ม.) × ส่วนสูง (ม.))

    • BMI < 18.5 น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

      แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เธออาจมีโอกาสการคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์สูงขึ้น

    • BMI > 23น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ / โรคอ้วน

      หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการมีภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือโรคเบาหวาน ฯลฯ มสูงขึ้น

      หากท่านน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ให้พยายามควบคุมน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ การลดน้ำหนักด้วยวิธีรักษาความสมดุลของการรับประทานอาหารและเพิ่มการออกกำลังกายของท่านจะเป็นวิธีที่ดีกว่า

      ควบคุมอาหารของท่าน ออกกำลังกายเป็นประจำ

      • ควบคุมอาหารของท่าน
        • การควบคุมอาหารที่เหมาะสมนั้นจำเป็นต่อการรักษาน้ำหนักในเกณฑ์ดี รักษาหนักที่ดีไว้หากท่านมีน้ำหนักปกติในตอนนี้ หากท่านน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ท่านควรตั้งเป้าหมายสำหรับการมีน้ำหนักปกติ ปรึกษานักโภชนาการหรือแพทย์เพื่อปรับโภชนาการและคุมน้ำหนักของท่านให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
      • หากผู้ที่กำลังจะเป็นพ่อมีน้ำหนักเกิน โอกาสในการตั้งครรภ์ของคู่ครองจะลดลง เขาควรควบคุมน้ำหนักของเขาเช่นกัน!
      • ท่านสามารถเข้าชมเว็บไซต์สมาคมนักโภชนาการฮ่องกงและติดต่อนักโภชนาการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุมน้ำหนักได้ที่https://www.hkda.com.hk/
  5. ให้ความสนใจกับความปลอดภัยของอาหาร

    เลือกปลาที่มีสารปรอทเมทิลต่ำ:

    • ปลาเป็นแหล่งของสารปรอทเมทิลโดยทั่วไปในอาหารของพวกเรา สารปรอทเมทิลในระดับสูงสามารถทำร้ายพัฒนาการด้านระบบประสาทของทารกในครรภ์และเด็กทารกได้
      • ให้เลือกปลาอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาที่มีสารปรอทเมทิลสูง เช่น ปลาฉลาม ปลาดาบ ปลากระโทงร่ม ปลาอินทรี ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ปลาทูน่าพันธุ์ตาโต ปลาทูน่าครีบยาว ปลาทูน่าครีบเหลือง ปลาคินเมะได ฯลฯ
      • บริโภคปลาในปริมาณที่พอเหมาะและรับประทานปลาให้หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยง

    หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียได้ง่ายหรืออาหารดิบหรือไม่ได้นำไปประกอบอาหารอย่างทั่วถึง

    • อาหารพร้อมรับประทานที่เย็นชืดหรืออาหารแช่แข็งสามารถปนเปื้อนเชื้อลิสทิเรียได้ง่ายซึ่งสามารถทำให้เกิดการแท้งได้

    กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ขององค์กรเหล่านี้:

    • ศูนย์คุ้มครองสุขภาพ
    • ศูนย์ความปลอดภัยอาหาร
  6. ห้ามสูบบุหรี่

    การสูบบุหรี่นั้นเป็นอันตรายต่อการเติบโตของทารกในครรภ์ การสูบบุหรี่ยังทำร้ายไข่ของเพศหญิงและอสุจิของเพศชายซึ่งเป็นการลดโอกาสในการตั้งครรภ์อีกด้วย

    ท่านและคู่ครองของท่านควรหยุดสูบบุหรี่ทันทีที่เป็นไปได้

    ปฏิบัติทันที

    สายด่วนเลิกบุหรี่แบบบูรณาการของกรมอนามัย: 1833 183

  7. ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    แอลกอฮอล์จะทำร้ายไข่และอสุจิ และลดอัตราการเกิดของทั้งชายและหญิง แอลกอฮอล์สามารถส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์จากมารดาได้และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของอวัยวะภายใน ส่งผลให้น้ำหนักทารกลดลงเมื่อคลอดหรือแม้แต่เกิดความบกพร่องทางจิต หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
    ท่านและคู่ครองของท่านควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

    เว็บไซต์สำนักงานควบคุมยาสูบและแอลกอฮอล์: http://www.taco.gov.hk/

  8. ปรึกษาแพทย์ครอบครัวของท่าน
    • โรคทางนรีเวช โรคเรื้อรัง หรือประวัติครอบครัวที่เกี่ยวกับโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม
      • หากท่านป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคซึมเศร้า กรุณาปรึกษาแพทย์ของท่านเพื่อการใช้ยาที่เหมาะสมระหว่างการตั้งครรภ์
      • หากท่านมีประวัติครอบครัวที่เกี่ยวกับโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมใด ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม ธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย ท่านควรได้รับการตรวจที่เหมาะสมเพื่อให้เข้าใจโอกาสของการส่งต่อโรค
      • หากท่านสงสัยเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรุณาปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งต่อไปยังทารกในครรภ์
    • ยาและการใช้ยา
      • ยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ หากท่านมีการใช้ยาเป็นเวลานาน กรุณาปรึกษาแพทย์ของท่าน
    • การให้วัคซีน
      • หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้ออีสุกอีใสหรือโรคหัดเยอรมัน อาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดมาผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ที่มีไวรัสตับอักเสบบีอาจส่งไวรัสต่อให้ทารกระหว่างการคลอดได้ หากท่านไม่เคยได้รับวัคซีนเหล่านี้ กรุณาปรึกษาแพทย์ของท่าน
    • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
      • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงระยะเริ่มต้นของมะเร็งในเซลล์ปากมดลูกได้ การรักษาการเปลี่ยนแปลงระยะเริ่มต้นของมะเร็งบางประเภทอาจไม่เหมาะในระหว่างการตั้งครรภ์ ท่านควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนการตั้งครรภ์และได้รับการรักษาที่เหมาะสมโดยด่วน
  9. ระมัดระวังสุขอนามัยส่วนบุคคล

    สัตว์หรือดินบางชนิดมีแบคทีเรียหรือปรสิตอยู่ ดังนั้นท่านควรระมัดระวังสุขอนามัยของท่านและล้างมือของท่านให้สะอาดอย่างทั่วถึงหลังจากสัมผัสกับสัตว์ เมื่อทำความสะอาดอุจจาระของสัตว์หรือปลูกพืช ควรสวมใส่ถุงมือและล้างมือให้สะอาดหลังเสร็จ ห้ามให้สัตว์เลี้ยงเข้าห้องครัว หากท่านวางแผนการท่องเที่ยว กรุณาปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อก่อนเดินทาง

  10. รักษาสุขภาพช่องปาก

    ไปตรวจสุขภาพช่องปากก่อนตั้งครรภ์ รักษาสุขภาพช่องปากในชีวิตประจำวันให้ดีเพื่อป้องกันปัญหาช่องปากหรือฟันระหว่างการตั้งครรภ์

  11. มีการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจที่ดี

    การตั้งครรภ์และพบทารกแรกเกิดของท่านจะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดและตราตรึงใจที่สุดในชีวิตของท่าน ท่านอาจรู้สึกตื่นเต้นแต่กังวลเมื่อต้องวางแผนการตั้งครรภ์ ตั้งแต่การตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด ท่านและคู่ครองของท่านอาจมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงซึ่งรวมถึงความเป็นห่วง ความวิตกกังวล ความรู้สึกหงุดหงิด ความอบอุ่น ความรักใคร่ ฯลฯ เนื่องจากความไม่สบายกาย การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงบทบาทและความท้าทายในการดูแลทารก ผู้หญิงอาจมีอารมณ์แปรปรวนระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด ในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีและการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ปกครอง ท่านและคู่ครองของท่านสามารถ:

    • เตรียมพร้อมทางด้านการเงินโดยการวางแผนทางการเงินสำหรับครอบครัวก่อนตั้งครรภ์
    • เตรียมความพร้อมสำหรับการนัดหมายการดูแลเด็ก เช่น พูดคุยกับสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ เกี่ยวกับความต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขาในการดูแลเด็กหากจำเป็น
    • สร้างความคาดหวังที่เป็นจริงสำหรับการตั้งครรภ์และการเป็นผู้ปกครองโดยการแบ่งปันประสบการณ์จากผู้ปกครองมือใหม่คนอื่น ๆ
    • แบ่งปันมุมมองและคุณค่าของปัญหาที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรซึ่งกันและกันและปรับเปลี่ยนหากจำเป็น
    • สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทารกของท่านโตมากับครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรัก

    หากท่านหรือคู่ครองของท่านประสบกับภาวะอารมณ์แปรปรวนอย่างต่อเนื่อง ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทันทีที่เป็นไปได้หากจำเป็น

การคาดหวังการตั้งครรภ์

  • จะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์อย่างไร

    มีเพศสัมพันธ์ทุกสองหรือสามวันเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

    หากท่านไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองของท่านบ่อยครั้งได้อันเนื่องมาจากเหตุผลบางประการ ท่านอาจจะต้องพยายามทำความคุ้นชินกับรอบเดือนและมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองของท่านระหว่างการตกไข่เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ เช่น ผู้หญิงมีรอบเดือน 28 วันมักตกไข่ 10 ถึง 16 วันก่อนมีรอบเดือนครั้งต่อไป ประมาณวันที่ 12 ถึง 18 ของแต่ละรอบเดือนนั้น ๆ (ตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน)

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของท่าน

  • อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง

    อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น 0.2 เซลเซียสก่อนตกไข่

  • เมือกเพิ่มขึ้น

    ในช่วงตกไข่ การตกขาวจะเพิ่มขึ้น การตกข่าวจะลื่นและใส และเหมือนไข่ขาว สามารถยืดได้ (มีความยืดหยุ่น)

  • การตรวจการตกไข่ยังสามารถช่วยให้ท่านคาดเดาการตกไข่ได้

หากท่านไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ...

คู่รักทั่วไปประมาณ 80% ถึง 90% สามารถตั้งครรภ์ได้โดยไม่ใช้การคุมกำเนิดภายในหนึ่งปี ควรปรึกษาแพทย์หากคู่รักไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โอกาสการตั้งครรภ์จะสูงขึ้นหากท่านแก้ปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ

กรุณาอ้างถึงเว็บไซต์บริการอนามัยครอบครัวสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับภาวะการมีบุตรยาก

ควรรักษาวิถีชีวิตที่สุขภาพดีไว้เสมอเพื่อที่ท่านจะได้สามารถมีการเตรียมพร้อมที่ดีสำหรับการตั้งครรภ์และการดูแลทารกของท่าน

คำแนะนำสำหรับการเตรียมพร้อมการตั้งครรภ์

  • เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลท ธาตุเหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน วิตามิน D
  • รับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมทุกวัน (ห้ามมากกว่า 1000 ไมโครกรัม) ท่านควรรับประทานอาหารเสริมที่มีไอโอดีนเพื่อป้องกันการขาดไอโอดีน กรุณาปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือนักโภชนาการของท่าน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาที่มีระดับของปรอทเมทิลสูง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่ปรุงสุก
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • คุมน้ำหนักให้พอดี ผู้หญิงที่มีน้ำหนักพอดีมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายกว่า
  • เลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์และบุหรี่ทำร้ายไข่และอสุจิ และลดโอกาสการตั้งครรภ์
  • ปรึกษาแพทย์ครอบครัวของท่านเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์และโรคในครอบครัวที่สืบทอดกันมาของท่านและคู่ครอง และการป้องกันโรคติดต่อ
  • รักษาสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอ วิธีนี้เป็นการช่วยป้องกันปัญหาช่องปากระหว่างการตั้งครรภ์
  • ระมัดระวังสุขอนามัยของตนเองและล้างมืออย่างสม่ำเสมอ
  • เตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์และให้ทารกของท่านเติบโตมาในครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรัก

บริการอนามัยครอบครัว
เว็บไซต์:www.fhs.gov.hk
สายด่วนข้อมูล 24 ชั่วโมง:2112 9900