การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน (1) เริ่มต้น

(เนื้อหาปรับปรุงใหม่ 12/2019)

ในช่วงไม่กี่เดือนแรกของชีวิต มีเพียงนมแม่เท่านั้นที่ทารกสามารถทานได้ สำหรับแม่ของทารกที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้หรือผู้ปกครองของทารกที่ตัดสินใจไม่ให้นมแม่ มีเพียงนมผงเด็กแรกเกิดเท่านั้นที่ทารกเหล่านั้นสามารถทานได้

ทารกส่วนใหญ่พร้อมที่จะลองอาหารแข็งเมื่ออายุเข้าถึงเดือนที่ 6 เนื่องจากระบบร่างกายและระบบการเจริญเติบโต

จุลสารนี้จะช่วยให้ท่านเตรียมพร้อมสำหรับการแนะนำอาหารแข็งให้กับทารกของท่าน

แนะนำอาหารแข็งที่อายุประมาณ 6 เดือน

เพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของทารก

  • หลังจากอายุ 6 เดือน ทารกมีความต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น ซึ่งนมแม่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางโภชนาการของพวกเขาได้
  • นอกจากนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิดแล้ว ทารกยังต้องการความหลากหลายของอาหารที่ให้ความหลากหลายด้านโภชนาการเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพวกเขา

เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก

  • การทานอาหารแข็งช่วยให้ทารกพัฒนาการเคี้ยว
  • การให้อาหารที่หลากหลายแก่ทารก เนื้อสัมผัสและรสชาติของอาหารจะช่วยให้พวกเขายอมรับอาหารของครอบครัวได้ง่ายขึ้น
  • ทารกนั้นมีโอกาสน้อยในการเป็นคนเลือกกินหากพวกเขามีประสบการณ์กับอาหารที่หลากหลายมาก่อน

เพื่อเป็นการปกป้องทารกจากอาการภูมิแพ้ ห้ามให้อาหารแข็งใด ๆ แก่พวกเขาก่อนอายุ 4 เดือน

อะไรจะเกิดขึ้นหากมีการแนะนำอาหารแข็งให้แก่ทารกล่าช้า

ความเสี่ยงต่อปัญหาด้านโภชนาการ
  • ทารกอาจไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ เช่น ธาตุเหล็กและสังกะสี ต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพ
ปัญหากับลักษณะนิสัยการทานอาหาร
  • ในอนาคตพวกเขาอาจไม่ยอมรับความหลากหลายของอาหารและอาจกลายเป็นคนเลือกกิน บางคนอาจปฏิเสธอาหารที่มีเนื้อหยาบ

ทารกพัฒนาทักษะการกิน

ทารกยังคงพึ่งนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิดอยู่ในขณะที่มีการแนะนำอาหารแข็งให้ พวกเขาจะค่อย ๆ ดื่มนมน้อยลงในขณะที่ปรับตัวในการทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย ในช่วงอายุประมาณ 2 ขวบ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะทานอาหารพร้อมกับครอบครัวและทานอาหารของครอบครัวด้วย

ทารกเปลี่ยนวิถีการทานอาหารของพวกเขาได้อย่างไร

  1. การดูดนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิด
  2. การทานจากช้อนหรือการใช้นิ้วป้อนตัวเอง
  3. การเรียนรู้ที่จะใช้ถ้วย
  4. การป้อนตัวเองด้วยช้อนและการทานอาหารกับครอบครัว

ทารกยอมรับเนื้อสัมผัสใหม่ของอาหารได้อย่างไร

  1. เนื้อเรียบและข้น
  2. อาหารที่หนาขึ้น แข็งขึ้น
  3. อาหารที่นุ่ม บดหรือสับ
  4. ตัดอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ

สร้างตัวอย่างที่ดีสำหรับทารก

ทารกมีแนวโน้มในการเลียนแบบพฤติกรรมการทานและตัวเลือกอาหารของผู้ปกครอง เพื่อช่วยให้ทารกของท่านสร้างลักษณะนิสัยการทานอาหารที่ดี ท่านควร:

  • บริโภคอาหารให้ถูกสัดส่วนและจำกัดของขบเคี้ยวที่มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน เกลือสูง ออกกำลังกายเป็นประจำและรักษาวิถีการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี
  • ให้ทารกได้ลองอาหารที่ท่านชอบรวมไปถึงอาหารที่ท่านไม่ชอบด้วย
  • หลีกเลี่ยงการให้ความคิดเห็นที่เป็นลบต่ออาหาร

พัฒนาทักษะใหม่

ทารกไม่เพียงแต่รับสารอาหารต่าง ๆ จากอาหาร แต่ทารกยังได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วย

  • เรียนรู้ที่จะเคี้ยว
    • พัฒนาความสามารถของทารกในการเคี้ยวและกลืน
  • เรียนรู้ที่จะยอมรับความแตกต่างของรสชาติอาหาร
    • การลองอาหารใหม่ ๆ จะทำให้ทารกได้เรียนรู้รสชาติของอาหารที่แตกต่างกัน
    • การดูแลความสนใจในอาหารของทารก
  • การพัฒนาทักษะการทานอาหารด้วยตัวเอง
    • ทารกเรียนรู้การทานอาหารด้วยช้อนและการดื่มจากถ้วย
    • ทารกเรียนรู้ที่จะป้อนอาหารตัวเอง
  • ทานอาหารแบบครอบครัว
    • ทารกเรียนรู้ที่จะทานอาหารอย่างเหมาะสมบนโต๊ะอาหาร
    • ทารกเรียนรู้ที่จะทานอาหารเพื่อเข้าสังคม
  • การพัฒนาความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว
    • การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในช่วงการป้อนอาหารช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็ก
    • การทานอาหารร่วมกันช่วยให้ท่านและทารกของท่านเพลิดเพลินไปกับเวลาครอบครัวที่มีความสุข

ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกของท่านพร้อมที่จะทานอาหารแข็งแล้ว

(ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้อง: http://s.fhs.gov.hk/d1m2u)

ทารกของท่านสามารถลองทานอาหารแข็งได้หากเขามีสัญญาณต่อไปนี้

การเคลื่อนไหวต่าง ๆ
  • การนั่งหลังชนกับพนักพิงของเก้าอี้
  • การตั้งศรีษะขึ้น
  • การใช้มือเอื้อมจับวัตถุ
พฤติกรรมการทานอาหาร
  • การแสดงความสนใจในอาหาร
  • การอ้าปากสำหรับช้อน
  • การปิดริมฝีปากบนช้อน
  • สามารถที่จะกลืนอาหารได้

ช่วงอายุที่ทารกจะแสดงสัญญาณเหล่านี้มีความแตกต่างกันออกไปในระดับสูง แต่ทารกส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมเหล่านี้ในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน

ปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลของท่านหากทารกของท่านไม่แสดงสัญญาณเหล่านี้เมื่อเขามีอายุได้ 7 เดือน

ประเด็นสำคัญต่าง ๆ เมื่อเริ่มต้นการป้อนอาหารแข็งให้กับทารก

  • ทารกยังคงพึ่งพาการป้อนนม อย่าหยุดการให้นมในช่วงนี้
  • ให้อาหารข้นแก่ทารก 30 นาทีก่อนเวลาให้นมปกติ
  • ในการเริ่มต้น ให้อาหารข้น 1-2 ช้อนชาแก่ทารกในเวลานั้นแล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นหากทารกทานได้ดี
  • ตัวเลือกอาหารที่เหมาะสมประกอบไปด้วย: อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น เนื้อบด ไข่ ซีเรียลข้าวเสริมธาตุเหล็ก ถั่วแห้งบด รวมถึงผักและผลไม้บดที่เหมาะสมด้วย
  • หลังจากได้ลองอาหารอ่อนและเหลวแล้ว ทารกสามารถลองอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหนาขึ้นได้
  • ให้ทารกดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหารได้หากจำเป็น

ตัวเลือกอาหารใดบ้างที่เหมาะสมกับทารกในการเริ่มต้นการกิน

(ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้อง: http://s.fhs.gov.hk/5zj3e)

อาหารประเภทแรกที่เริ่มต้นควรเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและเนื้อสัมผัสควรอ่อนนุ่มสำหรับทารกในการกลืน เลือกอาหารที่อ่อนและสามารถทำให้อยู่ในลักษณะข้นเหลวได้

ธัญพืช: ซีเรียลข้าว ซีเรียลข้าวสาลี โจ๊กบด

ผักที่สามารถบดได้ง่าย: ฟักทอง ผักขมจีน ผักขม มันเทศ

ผลไม้สุกและผลไม้อ่อน: กล้วย ลูกแพร์ ลูกพีช แอปเปิ้ล มะละกอ

เนื้อสัตว์ ปลา หรือไข่: เนื้อสัตว์ ไข่แดง ปลา เนื้อหมูหรือตับไก่

  • ตราบใดที่เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ก็ไม่มีอาหารเฉพาะใดที่ควรแนะนำ
  • ท่านอาจให้ซีเรียลข้าวเสริมธาตุเหล็กก่อนในช่วง 3 ถึง 4 วัน และหลังจากนั้นก็เพิ่มเนื้อสัตว์ ผักหรือผลไม้บด ท่านสามารถป้อนเขาได้เลยหรือจะผสมกับซีเรียลข้าวตอนเซิร์ฟก็ได้
  • ให้ทารกลองทานผักต่าง ๆ ในช่วงเริ่มต้นเพื่อที่พวกเขาจะได้ยอมรับผักและผลไม้อื่น ๆ ได้ง่ายมากขึ้น

อาหารแรกที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

  • ให้อาหารทารกที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ไข่ ผักใบเขียวเข้ม ตับ เต้าหู้ ถั่วเลนทิลและปลา อาหารเหล่านี้สามารถบดได้ง่าย ท่านสามารถให้เนื้อสัตว์หรือปลาได้หากมีการบดอย่างดีแล้ว
  • กินอาหารเหล่านี้หนึ่งช้อนโต๊ะ เช่น ไข่แดงหรือตับ โดยทำให้อยู่ในรูปการบดหรือการกวนกับนม
  • หรือผสมอาหารเหล่านี้กับโจ๊ก ซีเรียลสำหรับเด็กทารก เป็นต้น
  • กรุณาอ้างถึง "คู่มือการวางแผนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 7 วันสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน"

วิธีการเตรียมอาหารให้กับทารก

เครื่องมือ

ใช้ที่ขูด ที่กรองหรือตะแกรงหรือเครื่องปั่นที่ดีเพื่อเตรียมอาหารข้นสำหรับทารกของท่าน:

อาหารทารกแบบ DIY

อาหารที่เหมาะสม

วิธีประกอบอาหาร

โจ๊กข้าว ถั่ว
ตับหมู ใบผัก

ประกอบอาหารและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ อย่างดี บดชิ้นที่หั่นผ่านที่กรองด้วยช้อน/แท่งไม้

ผักต่าง ๆ เช่น ฟักเขียว แครอท

ประกอบอาหารจนอ่อน ให้บดจนข้นโดยการใช้ที่บดหรือการกดผ่านที่กรอง

ผลไม้

ขูดด้วยช้อนเพื่อให้มีลักษณะข้น เพื่อเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น ให้กดผ่านที่กรอง

ไข่แดง (ไข่ต้มแข็ง)

บดไข่แดงที่ต้มให้เละด้วยส้อม เติมน้ำอุ่นลงไปเพื่อสร้างเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม

วิธีทำซีเรียลข้าว:

(ชมวิดีโอที่เกี่ยวข้อง: http://s.fhs.gov.hk/z9yiz)

  1. ตักซีเรียลข้าวสำหรับทารกหนึ่งถึงสองช้อนชาลงไปในถ้วยที่สะอาด
  2. คลุกเคล้าให้ดีกับน้ำอุ่น น้ำนมแม่หรือน้ำนมผงเด็กแรกเกิด
  3. ปรับเปลี่ยนปริมาณของน้ำหรือน้ำนมเพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่เหมาะสม

เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์: เติมน้ำหรือน้ำนมเพื่อปรับความข้นของอาหาร

สำหรับรายละเอียด กรุณาอ้างถึง “คู่มือการวางแผนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 7 วันสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน”.

คำถามพบบ่อย เกี่ยวกับอาหารครั้งแรก

  1. ซีเรียลข้าวเป็นอย่างไรเมื่อมีการเปรียบเทียบกับโจ๊กข้าว
    • ซีเรียลข้าวหรือซีเรียลสำหรับทารกนั้นเสริมด้วยธาตุเหล็กซึ่งไม่มีในโจ๊ก
    • ซีเรียลข้าวนั้นเป็นทางเลือกที่สะดวกสำหรับผู้ปกครองบางท่านเมื่อถึงเวลาที่ทารกต้องได้ลองทานอาหารแข็งครั้งแรก;
    • เมื่อทารกเคยชินกับอาหารข้นและมีความต้องการอาหารข้นมากขึ้น ผู้ปกครองสามารถให้โจ๊กที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก อาหารที่มาจากตะกร้าอาหารของครอบครัวให้กับพวกเขาได้
    • ธาตุเหล็กที่ได้จากไข่แดง ตับ ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลาและเนื้อสัตว์สามารถถูกดูดซึมได้ง่าย การเปลี่ยนรสชาติและเนื้อสัมผัสของโจ๊กยังสามารถช่วยให้พวกเขาปรับการทานอาหารที่แตกต่างกันได้และช่วยพวกเขาในเรื่องการเคี้ยวด้วย
  2. ผักใบเขียวเหมาะสำหรับเด็กทารกหรือไม่
    • ผักใบเขียวอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน เหล็ก แคลเซียม และไฟเบอร์ซึ่งเป็นสารอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของทารก
    • ผักใบเขียวนั้นไม่ได้มีรสหวานเท่ากับฟักทองหรือแครอท แต่ทารกส่วนใหญ่ยอมรับมันได้อย่างดี
  3. แม่ควรให้น้ำนมแม่ต่อไปหรือไม่ในขณะที่มีการแนะนำอาหารแข็ง
    • แม่ควรให้นมแม่ต่อไป น้ำนมแม่จะให้สารอาหารแก่ทารกและปกป้องเขาจากการติดเชื้อได้อย่างต่อเนื่อง การให้นมแม่ไปพร้อมกับการแนะนำอาหารแข็งยังลดความเสี่ยงของทารกในการก่อภูมิแพ้และโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1
  4. ทารกต้องเปลี่ยนนมผงเด็กแรกเกิดเป็น "หมายเลข 2" หลังจาก 6 เดือนหรือไม่
    • ไม่จำเป็น ทารกสามารถได้รับนมผงเด็กแรกเกิด "หมายเลข 1" ที่พวกเขาคุ้นชินต่อไปได้ หรือจะเปลี่ยนเป็น "หมายเลข 2" ก็ได้ถ้าผู้ปกครองเลือกที่จะเปลี่ยน
    • ทารกสามารถได้รับสารอาหารที่เพียงพอจากนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิดเพิ่มจากอาหารที่ประกอบด้วยท่านค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย

การเตรียมความพร้อมสำหรับมื้ออาหาร

หากมีการเตรียมการ เวลามื้ออาหารของท่านและทารกสามารถเป็นช่วงเวลาที่สนุกมากขึ้นได้

สี่ขั้นตอนของการเตรียมการสำหรับเวลามื้ออาหาร

  1. "อุ่นเครื่อง" ทารกของท่าน

    • ก่อนการป้อนอาหาร ทำความสะอาดมือและใบหน้าของทารกของท่าน มีกิจกรรมแบบปกติ เช่น ใส่ผ้ากันเปื้อนเด็กให้เขา พูดคุยกับเขา

    วัตถุประสงค์: เพื่อให้ทารกได้รู้ว่า " ถึงเวลาสำหรับมื้ออาหารแล้ว" ซึ่งช่วยให้พวกทำมันเป็นกิจวัตรประจำวัน

  2. กำจัดสิ่งรบกวนต่าง ๆ

    • ปิดทีวีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเก็บของเล่น
    • รักษาความสนใจของทารกให้อยู่กับท่านและการรับประมาณอาหาร

    วัตถุประสงค์: เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการทานอาหารไปพร้อมกับการเล่นของเล่นหรือดูทีวี เช่น

    • การทานมากเกินไปเพราะมีสิ่งรบกวน
    • ทารกที่โตกว่าจะมุ่งความสนใจไปที่การดูทีวีและทานน้อยลง
    • ทารกน้อยจะมีความสนใจในการทานอาหารด้วยตัวเองน้อยลง
  3. เตรียมตัวท่านเองให้พร้อม

    • ทารกของท่านทานในสิ่งที่เขาต้องการ จึงไม่ต้องกังวลว่าเขาจะทานอาหารปริมาณเท่าไหร่
    • เตรียมการสำหรับความเลอะเมื่อทารกของท่านเรียนรู้ที่จะทานอาหารด้วยตัวเอง เช่น ปูพื้นด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
  4. ท่านั่ง

    • ให้ทารกของท่านนั่งบนเก้าอี้ปกติ
    • นั่งแบบหันหน้าเข้าหากันกับทารกของท่านในระดับที่เท่ากันเพื่อส่งเสริมการสื่อสาร

    วัตถุประสงค์: พ่อหรือแม่สามารถสังเกตุทารกได้ง่ายขึ้น

    • วิธีที่เขาทาน
    • ความตั้งใจในการทานอาหารด้วยตนเองของเขา
    • วิธีที่เขาตอบโต้กับอาหารใหม่
    • ไม่ว่าเขาจะอิ่มหรือหิว

lโดยการมีความคุ้นชินกับการนั่งในตำแหน่งและที่นั่งปกติสำหรับการป้อนอาหาร ทารกน้อยจะมีความสัมพันธ์กับการนั่งบนเก้าอี้ตัวนั้นและ "ถึงเวลาอาหารแล้ว" ซึ่งช่วยให้ทารกมีการเตรียมพร้อมและจัดการตนเองในช่วงเวลามื้ออาหารได้ ที่นั่งควรมีความปลอดภัยและสบายโดยเก้าอี้สูงหรือเก้าอี้เสริมนั้นเหมาะอย่างมาก

หลีกเลี่ยงการรั้งทารกไว้บนเก้าอี้สูงเป็นเวลามากกว่า 1 ชั่วโมง

ผู้ปกครองควรทราบในสิ่งต่อไปนี้หากทารกได้รับการป้อนอาหารในตำแหน่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

การนั่งบนตักของท่าน ➜ อาจจะเป็นการยากสำหรับท่านและทารกในการมองเห็นหน้ากันและกัน

บนเสื่อปูพื้น ➜ การป้อนอาหารอาจทำได้ยากเมื่อเขาคลานหรือเดิน ซึ่งเป็นการยากสำหรับพวกเขาในการสร้างนิสัย "การนั่งและทานอาหาร"

บนรถเข็นหรือรถหัดเดินของเด็ก➜ทารกสามารถปีนออกจากรถเข็น หรือเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ ด้วยรถหัดเดิน พวกเขาจะไม่ได้เรียนรู้การนั่งลงเพื่อทานอาหาร

ผู้ปกครองควรป้อนอาหารทารกด้วยช้อนอย่างไร

ช้อนเด็ก

  • ปลายนุ่ม
  • ขนาดเต็มช้อนที่ตักอาหารได้เต็มคำ
  • ด้ามจับของช้อนที่ยาวง่ายต่อการหยิบจับ
  • เป็นวัสดุไม่แตกหักและปลอดภัยสำหรับทารก

ท่านจะป้อนอาหารทารกของท่านด้วยอาหารแข็งได้เมื่อไหร่

  • ให้อาหารแข็งกับทารกเมื่อเขาผ่อนคลาย หากเขามีอาการหิวหรือง่วงมากจนเกินไป เขาจะไม่อดทนต่อการลองทานอาหารแข็ง
  • ให้อาหารข้นกับเขาด้วยปริมาณน้อย ๆ ก่อนเวลาป้อนปกติ 30 นาที เมื่อเขามีอาการหิวเล็กน้อย
  • ให้ทารกของท่านได้ลองอาหารใหม่ ๆ ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งมันจะง่ายกว่าในการสังเกตการตอบสนองใด ๆ

วิธีการป้อนอาหารข้นแก่ทารกของท่าน:

  1. เตรียมความพร้อมให้กับทารกของท่านและนำเขาไปยังที่นั่ง (กรุณาอ้างถึง“ การเตรียมความพร้อมสำหรับมื้ออาหาร”)
  2. ให้ทารกของท่านเห็นอาหารที่อยู่บนช้อน
  3. เมื่อเขาอ้าปาก ให้ป้อนเขาและค้างช้อนไว้ที่ระดับนั้น
  4. เมื่อเขาปิดปาก ให้เอาช้อนออกอย่างอ่อนโยน ไม่ควรเทอาหารลงไปในปากของเขา

คำแนะนำ:

  1. หากทารกของท่านไม่สามารถกลืนอาหารข้นได้หรือเขาผลักช้อนออกด้วยลิ้นของเขา แสดงว่าเขายังไม่พร้อมสำหรับอาหารแข็ง ให้ลองอีกครั้งในสัปดาห์ถัดไป
  2. ทารกน้อยอาจทำอาหารหล่นบ้างจากข้าง ๆ ปากของเขาในตอนแรก ซึ่งจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามการควบคุมกล้ามเนื้อในช่องปากที่เพิ่มขึ้นของเขา

ปริมาณที่ให้

  • เริ่มต้นด้วยอาหารข้น 1-2 ช้อนชาวันละครั้ง
  • ให้เพิ่มขึ้นได้หากทารกของท่านรู้สึกสนุก ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณและความบ่อย
  • ให้นมกับทารกหลังจากการป้อนอาหารแข็ง ห้ามเลิกป้อนนมในช่วงนี้

เมื่อทารกน้อยคุ้นชินกับการกินอาหารอ่อนข้น

  • ให้เพิ่มปริมาณและการป้อนอาหารแข็งเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน
  • ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเนื้ออาหาร เปลี่ยนเป็นให้อาหารข้นหนาและอาหารบดนุ่ม (กรุณาอ้างถึง “อายุย่างเข้า” จุลศาล)
  • แนะนำอาหารใหม่ทีละอย่างเพื่อที่จะได้สร้างประสบการณ์ให้กับทารกด้วยรสชาติของอาหาร ท่านสามารถเพิ่มอาหารใหม่ ๆ และเซิร์ฟกับอาหารที่ทารกได้เคยลองทานแล้วได้

"กฎ" สำหรับการแนะนำอาหารใหม่:

  • ต้องเป็นอาหารที่ผ่านการประกอบอาหารอย่างทั่วถึง
  • แนะนำอาหารใหม่ทีละอย่าง
  • เริ่มต้นด้วย 1-2 ช้อนชาและค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ ลองอาหารเป็นจำนวน 2-4 วันก่อนแนะนำอาหารใหม่อีกอย่าง
  • สังเกตการเกิดอาการแพ้ใด ๆ หากไม่มีอาการแพ้ก็สามารถลองอาหารใหม่อีกอย่างได้

เราจะสามารถทำให้มื้ออาหารเป็นเวลาที่สนุกได้อย่างไร

  1. ตามจังหวะทารกของท่าน
    • ป้อนเร็วหรือช้าตามการกินของทารกของท่าน
    • เมื่อเขาหมดความสนใจในอาหาร ให้เรียกเขาเบา ๆ เพื่อดึงความสนใจของเขา
    • หยุดป้อนเมื่อเขาแสดงสัญญาณว่าอิ่ม
  2. พูดคุยกับทารกของท่านในขณะป้อน
    • พูดคุยกับเขาอย่างอ่อนโยน ยิ้มให้เขา ซึ่งจะช่วยให้เขาผ่อนคลายและกินได้ดีขึ้น
    • เมื่อทารกพูดกับท่านให้โต้ตอบเขาทันทีเพราะจะทำให้เขามีความสุข
    • การขาดการสื่อสารทำให้เขารู้สึกเบื่อและวิตกกังวล
  3. ให้ทารกได้มีส่วนร่วม
    • เมื่อทารกของท่านแสดงความสนใจในช้อนหรืออาหาร ให้เขาสัมผัสหรือถือช้อนหรือป้อนตัวเขาเอง เสนอความช่วยเหลือได้หากจำเป็น
  4. ให้กำลังใจทารก
    • ชื่นชมทารกของท่านด้วยคำพูดหรือภาษากายเมื่อเขาได้ลองสิ่งใหม่ ๆ
    • แสดงให้เขาดูถึงวิธีการทำสิ่งต่าง ๆ และเขาจะมีความสุขมากขึ้นที่จะได้ลอง
    • เมื่อเขาทำได้ดีให้ชมเขาแล้วเขาจะได้รู้ว่าเขาได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง

การเข้าใจสัญญาณของทารกเมื่อเวลาหิวและอิ่ม

  • ทารกรู้ว่าพวกเขาต้องการอาหารเท่าไหร่
  • พวกเขาแสดงสัญญาณของ "ฉันหิว" หรือ " ฉันอิ่ม" ผ่านทางภาษากาย
  • ทารกส่วนใหญ่รู้สึกอิ่มภายในเวลา 15 ถึง 30 นาที
  • ให้เขานำจังหวะในระหว่างการป้อนอาหาร

สัญญาณของอาการหิว

  1. การจ้องมองที่อาหารด้วยความสนใจ
  2. การขยับศรีษะเข้าใกล้อาหารและช้อนมากขึ้น
  3. การเอนตัวไปหาอาหาร
  4. งอแงหรือร้องไห้เมื่อหิวเกินไป

สัญญาณของอาการอิ่ม

  1. มีความสนใจในการกินน้อยลง
  2. กินช้าลงและช้าลงมาก ๆ
  3. การหันศรีษะหนี
  4. การเม้มปาก
  5. การบ้วนอาหารออก
  6. การผลักหรือโยนช้อนและอาหารออก
  7. การโค้งไปข้างหลัง

คำแนะนำ:

ถ้าทารกของท่านอิ่มแต่ท่านยังคงป้อนอาหารต่อ ทารกของท่านอาจจะ

  • รู้สึกไม่สบายตัว
  • เชื่อมต่อการกินกับความไม่สบายตัวเข้าด้วยกัน
  • ต่อสู้กับท่านในช่วงเวลามื้ออาหารและอาจลงเอยด้วยการที่เขากินน้อยลง
  • กินมากเกินไปซึ่งนำไปสู่โรคอ้วนได้ง่าย

ความอยากอาหารของทารกน้อย

ทารกน้อยต้องการสารอาหารที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต แต่ทารกน้อยที่กินมากไม่ได้ทำให้การเจริญเติบโตสูงขึ้น การเจริญเติบโตยังได้รับการควบคุมโดยพันธุกรรมและได้รับผลกระทบจากพัฒนาการในระหว่างการตั้งครรภ์ การป้อนอาหารที่มากเกินไปอาจนำไปสู่โรคอ้วนและเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพได้

  • แท้จริงแล้ว ทารกน้อยรู้ว่าต้องได้รับปริมาณอาหารเท่าไหร่เพื่อให้ได้จำนวนของสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเจิรญเติบโตและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของพวกเขา
  • ในช่วงอายุสามเดือนแรกของชีวิต ทารกน้อยจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและนั่นจึงทำให้พวกเขากินมาก
  • เมื่อการเติบโตช้าลงทารกน้อยจึงต้องการสารอาหารน้อยลง เพราะเช่นนั้นพวกเขาจึงกินน้อยลง เป็นเรื่องปกติที่บางครั้งก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่กินอะไรเลยแต่ยังคงกระฉับกระเฉงและร่าเริง

สำหรับทารกน้อยที่เจริญเติบโตอย่างสุขภาพดี งานของผู้ปกครองก็คือ:

  • จัดหาอาหารที่เหมาะสมทางโภชนาการและปลอดภัย
  • ให้อาหารตามความอยากของเขา

ความอยากอาหารของทารกน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละมื้อ:

  • ทารกน้อยทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นห้ามเปรียบเทียบความอยากอาหารของทารกน้อยกับเด็กคนอื่น ๆ
  • ทารกน้อยกินมากขึ้นหลังจากทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่บางครั้งก็ปฏิเสธที่จะกินเมื่อพวกเขารู้สึกเหนื่อย
  • เมื่อพวกเขาเติบโตอย่างรวดเร็ว พวกเขาจะกินมากขึ้น

วิธีที่เหมาะในการป้อนอาหารให้กับทารกคือการป้อนตามความอยากอาหารของพวกเขา อย่ายืนกรานว่าทารกของท่านกินในปริมาณเท่ากันในแต่ละมื้อ

คำถามทั่วไปจากผู้ปกครอง

ข้อกังวลของพ่อ : "ทารกของผมอายุ 4 เดือน การกินของเขาไม่ปกติคือบางครั้งก็กินมากบางครั้งก็กินน้อย เขาเริ่มเสียสมาธิได้ง่ายขึ้นด้วย ถ้าผมป้อนเขาตามปฏิกิริยาของเขา เขาอาจจะไม่ได้รับอาหารเพียงพอและคงไม่สามารถจัดการกับตารางการกินได้"

เป็นเรื่องปกติมากที่ผู้ปกครองจะมีข้อกังวลเหล่านี้ ท่านจะกังวลน้อยลงเมื่อท่านเข้าใจว่าทำไมทารกของท่านถึงกินและปฏิบัติแบบนั้น:

  1. ผู้ปกครองกังวลว่าทารกอาจจะไม่ได้กินเพียงพอเพราะพวกเขาไม่ทราบถึงปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการกิน
    • ทารกน้อยนั้นเกิดมาด้วยระบบร่างกายที่ดีที่คอยบอกพวกเขาว่าเมื่อไหร่ควรกินและต้องกินเท่าไหร่ เมื่อพวกเขาหิว พวกเขาจะบอกผู้ปกครองของพวกเขาด้วยภาษากาย หากผู้ปกครองให้อาหารทารกเมื่อเขาแสดงอาการหิว พวกเขาได้รับอาหารเพียงพอแน่นอน
  2. พ่อมแม่กังวลว่าทารกอาจไม่ได้รับอาหารเพียงพอเนื่องจากเขาเสียสมาธิง่าย
    • ผู้ปกครองควรกำจัดวัตุใด ๆ ที่อาจรบกวนเด็ก ๆ ก่อนเวลามื้ออาหาร
    • เมื่อทารกรู้สึกหิว ปกติแล้วเขาจะกินเร็วขึ้นและมากขึ้นอย่างตั้งอกตั้งใจ
    • หากทารกหยุดทานและมองไปรอบ ๆ ให้เขาพักสักครู่ หลังจากนั้นจึงเรียกเขาเพื่อดึงความสนใจมาที่อาหาร
    • ถ้าหากเขายังคงไม่สนใจในอาหารนั่นแสดงว่าเขาอิ่มแล้ว
  3. ผู้ปกครองกังวลว่าปริมาณของอาหารที่ทานเข้าไปเปลี่ยนไปทุกมื้อ
    • ความอยากอาหารของทารกน้อยนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละมื้อ เมื่อพวกเขากินน้อยลงในมื้อล่าสุด พวกเขาอาจกินมากขึ้นในมื้อถัดไปหรือมื้อก่อนหน้า หากผู้ปกครองให้อาหารพวกเขาตามสัญญาณของความหิวและอิ่ม พวกเขาก็จะพอใจ
  4. ผู้ปกครองกังวลว่าทารกจะไม่ได้ทานอาหารในเวลาปกติ
    • โดยทั่วไป ทารกน้อยอายุ 3 ถึง 4 เดือนจะมีรูปแบบการนอนและการกินของพวกเขาเอง
    • ในช่วงเวลากลางวัน ทารกน้อยส่วนใหญ่จะไม่หิวจนกระทั่ง 3 ถึง 4 ชั่วโมงหลังการป้อน
    • การป้อนอาหารทารกตอนที่พวกเขาไม่หิวเป็นการรบกวนกิจวัตรประจำวันของพวกเขา
    • การบังคับทารกให้ปฏิบัติตามตารางเวลาของท่านอาจทำให้รูปแบบการกินปกติของพวกเขาแย่ลง

อาหารและเครื่องดื่มที่ทารกควรหลีกเลี่ยง

  1. เครื่องดืมที่มีน้ำตาลจะทำลายฟันของทารก
    • น้ำกลูโคส:
      • เครื่องดื่มกลูโคสไม่ได้ช่วยทารกในการสร้างนิสัยการดื่มน้ำเปล่า
    • น้ำผลไม้:
      • ทารกไม่ต้องการน้ำผลไม้ใด ๆ
      • พวกเขาได้รับสารอาหารและเส้นใยอาหารมากขึ้นจากผลไม้สดที่หั่นบาง ๆ หรือที่ทำเป็นเนื้อข้น
      • หากมีการดื่มน้ำผลไม้ เด็กวัยหัดเดินอายุ 1 ถึง 3 ปีไม่ควรได้รับน้ำผลไม้มากเกินกว่า 120 มล. ต่อวัน
    • น้ำผึ้ง:
      • น้ำผึ้งอาจมีแบคทีเรียคลอสทริเดียม
      • ไม่ควรให้ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ทานน้ำผึ้งเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังไม่เติบโตเต็มที่
  2. ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลังหรือน้ำอัดลม
  3. ปลาที่มีระดับของปรอทเมทิลสูง
    • ซึ่งประกอบไปด้วยฉลาม ปลากระโทงดาบ ปลามาร์ลิน ปลาทูน่า (ประกอบด้วย ปลาทูน่าตาโต ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ปลาทูน่าครีบยาว ปลาทูน่าครีบเหลือง) ปลาอินทรีย์ ปลาคินเมะได ปลาออเรนจ์รัฟฟี่ ปลาจานหลังเหลือง และปลาแพะแดงแถบหางจุด
  4. อาหารที่ไม่ผ่านการประกอบอาหารและผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์
  5. อาหารที่นำไปสู่การสำลักได้ง่าย
    • อาหารที่มีชิ้นเล็กและแข็ง เช่น ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ
    • อาหารที่กรอบหรือแข็ง เช่น ลูกอม ผักต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านการประกอบอาหาร
    • ปลาหรือเนื้อสัตว์ที่มีกระดูกและผลไม้ที่มีเมล็ด
  6. เกลือ ซอสถั่วเหลือง ผงปรุงรสไก่
    • ทารกอาจไม่ยอมรับอาหารรสจืดได้ง่าย ๆ หากได้เคยชินกับอาหารรสเค็มแล้ว
    • การทานเกลือมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงในอนาคตของพวกเขาต่อการมีภาวะความดันโลหิตสูง

ทารกและการแพ้อาหาร

การแพ้อาหารคือการที่ภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาตอบโต้กับอาหารบางอย่าง

สัญญาณและอาการแพ้อาหาร:

อาการต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันหลังจากการทานอาหาร

  • อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง:
    • อาการทั่วไป:
      • ลมพิษ อาการแพ้ผื่นคันผิวหนังอักเสบที่แย่ลง
      • ตา ลิ้น ใบหน้า ปาก และริมฝีปากบวม
      • อุจจาระเป็นน้ำ อาเจียน
    • อาการที่ค่อนข้างเกิดขึ้นยากแต่ร้ายแรง ประกอบด้วย
      • หายใจลำบาก หน้ามืด
  • ทารกบางคนอาจมีปฏิกิริยาการแพ้ 1 หรือ 2 วันหลังจากนั้น เช่น อาการแพ้ผื่นคันผิวหนังอักเสบ อาการอาเจียนแบบต่อเนื่อง อาการหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ท้องผูก ปวดท้อง

อาหารที่มักก่อให้เกิดการแพ้

ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ถั่วลิสง ปลา หอย ถั่ว ข้าวสาลี (เช่น ขนมปัง บิสกิต) ถั่วพัลส์ รังนก

ทารกจะสามารถลองทานอาหารเหล่านี้ได้เมื่อไหร่

  • ทารกไม่ควรได้ทานอาหารแข็งใด ๆ ก็ตามก่อนอายุ 4 เดือน
  • ผู้ปกครองควรแนะนำอาหารเหล่านี้เมื่อพวกเขาเริ่มที่จะทานอาหารแข็งที่อายุประมาณ 6 เดือน
  • การชะลอหรือหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ไม่สามารถปกป้องทารกจากการมีโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (eczema) หรือโรคภูมิแพ้อื่น ๆ ได้
  • สำหรับทารกที่มีโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังหรือการแพ้อาหารที่รู้จัก ผู้ปกครองของพวกเขาควรพูดคุยกับกุมารแพทย์หรือแพทย์ประจำครอบครัวก่อนที่จะแนะนำอาหารเหล่านี้

หากท่านคิดว่าทารกของคุณมีการแพ้อาหาร

  • ให้ปรึกษากับแพทย์ประจำครอบครัวทันทีที่เป็นไปได้ หยุดป้อนอาหารที่ท่านสงสัยว่าเป็นปัญหากระทั่งท่านได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • หากมีปฏิกิริยาร้ายแรง ให้นำทารกส่งโรงพยาบาลทันที
  • ทารกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้อาหารต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการเลือกอาหาร

แจ้งเตือนสำหรับผู้ปกครอง

  • ในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน ให้แนะนำอาหารแข็งให้กับทารกของท่านเพื่อที่จะให้เขาได้รับสารอาหารที่จำเป็น ให้นมแม่ต่อเนื่องไปอีกเพื่อให้เขาได้รับแอนติบอดีจากแม่ซึ่งเป็นผลดีในระยะยาวของทารกและเป็นผลดีต่อแม่เช่นกัน
  • ห้ามให้อาหารอื่นใดนอกเหนือจากน้ำนมแม่หรือนมผงเด็กแรกเกิดแก่ทารกของท่านก่อนอายุ 4 เดือน การทานอาหารแข็งเร็วเกินไป ทารกของท่านจะได้รับนมแม่น้อยลงและเกิดความเสี่ยงสูงในการสร้างอาการภูมิแพ้
  • เมื่อตระเตรียมอาหารแรกให้กับเขา ให้เลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและมาจากตระกร้าอาหารของครอบครัวเพื่อมอบความหลากหลายให้กับเขา (ธัญพืชและซีเรียล ผัก ผลไม้ ไข่ เนื้อสัตว์ หรือปลา)
  • ค่อย ๆ แนะนำอาหารใหม่ ๆ ไปทีละอย่างและเริ่มที่ปริมาณน้อย ๆ
  • ทารกของท่านต้องการเวลาในการยอมรับอาหารใหม่ ๆ หากเขาคายอาหารทิ้งหรือปฏิเสธที่จะทานก็ไม่ควรบังคับเขา ให้พยายามใหม่ในสองสามวันหลังจากนั้น

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้อนอาหารให้บุตรของท่าน กรุณาติดต่อแพทย์และพยาบาลของท่าน

ในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กอายุ 6 ถึง 24 เดือน กรุณาอ้างถึงจุลสารนี้ " อายุย่างเข้า"," พร้อมลุย" และ " คู่มือการวางแผนมื้ออาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 7 วัน"

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง